Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59891
Title: การแสดงนาฏยศิลป์ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: THE PERFORMANCES IN PIPHAT DUEK DAM BAN CONCERT AT CHULALONGKORN UNIVERSITY
Authors: วุฒิชัย เรืองศักดิ์
Advisors: อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Anukoon.R@Chula.ac.th,anukulcu@hotmail.com
Subjects: นาฏศิลป์ไทย
การรำ -- ไทย
Dramatic arts, Thai
Dance -- Thailand
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติ และรูปแบบการแสดงในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาฯ มีขอบเขตการศึกษา คือ การแสดงนาฏยศิลป์ในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาฯ ปี พ.ศ.2530-พ.ศ.2559 โดยใช้การรวบรวมเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้แสดง การสังเกตการณ์และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย จากนั้นนำองค์ความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ถึงประวัติและรูปแบบการแสดง จัดเรียงองค์ความรู้ สรุปผล และนำเสนอเป็นผลงานวิจัยตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า งานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาฯ เป็นงานที่อยู่ภายใต้โครงการดนตรีไทย-ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จัดตั้งโครงการฯ ครั้งแรกในปี พ.ศ.2528 จากการอนุมัติโดยที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ด้านประวัติศาสตร์ หลักการบรรเลง โน้ตเพลง อีกทั้งการจัดสร้างเครื่องดนตรีปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระมหากรุณาธิคุณรับเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์ตั้งแต่แรกเริ่มจัดตั้งโครงการฯ โดยพระราชทานข้อวินิจฉัย ติดตามผลการดำเนินงาน ตลอดจนทรงร่วมฝึกซ้อมและทรงร่วมบรรเลงดนตรีไทยปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบสถาปนาจุฬาฯ รูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ที่พบในงานปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จุฬาฯ เป็นรูปแบบของนาฏยศิลป์แบบราชสำนัก ได้แก่ 1.การแสดงนาฏศิลป์จากบทพระนิพนธ์ของของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ละครภาพนิ่ง, ระบำในละครดึกดำบรรพ์, ละครดึกดำบรรพ์) 2.การแสดงนาฏศิลป์จากบทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์ (ละครภาพนิ่ง, ระบำในละครดึกดำบรรพ์) 3.การแสดงระบำทั่วไป (ระบำมาตรฐาน, ระบำสัตว์, ระบำในละครพันทาง) และรูปแบบของนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ ได้แก่ 1.การแสดงพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2.การแสดงระบำในโอกาสสำคัญ และเทิดพระเกียรติ ซึ่งรายการแสดงในแต่ละปีจะจัดรายการแสดงโดยเป็นไปตามพระราชวินิจฉัยในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และมติที่ประชุมของคณะกรรมการจัดงาน
Other Abstract: The objective of this study was to investigate the history and the formats of Piphat Duek Dam Ban concert organized by Chulalongkorn University from 1987 to 2016. In addition to literature review, the data included interviews of experts in this field, dancers, musical players, observations and the researcher’s personal experience. The data were analyzed and summarized. The findings revealed that this concert authorized by the Chulalongkorn University Council was part of the project, ‘Thai classical music – Piphat Duek Dam Ban concert, and was first launched in 1985, aiming to conserve its history, performance and musical notes, and procurement of musical instruments. HRH Princess Maha Chakri Siridhorn, the honorary chairperson of the project, has provided comments and been informed of the project. She has also been performing in this event held every 26th of March to commemorate the establishment of the university. The dances include both the royal and creative dances. The former are divided into three formats: 1. dances based on the drama scripts written by Prince Narisaranuwattivongse (still dances, dances for Duek Dam Ban drama and Duek Dam Ban drama), 2. dances based on the drama scripts written by Prince Chuthathattaradilok (still dances, dances for Duek Dam Ban drama), 3. common dances (standard dances, dances imitating animal gestures, dances for mixed dance drama (Western and Thai dances). The latter are divided into 2 formats: 1. dances created by the princess and 2. dances choreographed for a special occasion or for honoring the princess. The dances are performed annually according to the princess’s acknowledgement and the organizers’ approval.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59891
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.890
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.890
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986610235.pdf32.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.