Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรชัย ชัยทัศนีย์-
dc.contributor.authorอมร ฉมังหัตถพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:06:00Z-
dc.date.available2018-09-14T06:06:00Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60063-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้บริการด้านไฟฟ้าของผู้จำหน่ายไฟฟ้า เนื่องจากระบบไฟฟ้าที่มีความเชื่อถือได้ที่ดีจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความเชื่อถือได้ที่ดี จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้จำหน่ายไฟฟ้าที่ควรกระทำ ซึ่งการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าจะต้องมีการประเมินค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เพื่อให้ทราบถึงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ และมีการกำหนดค่าเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า เพื่อให้ทราบถึงระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่ต้องการ โดยค่าเป้าหมายที่กำหนดนั้นควรมีการพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีความท้าทายที่เหมาะสมกับศักยภาพและทรัพยากรที่มีอยู่ อีกทั้งยังต้องมีวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งค่าเป้าหมายอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถนำไปกำหนดกิจกรรมบำรุงรักษา และวางแผนปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะนำเสนอแนวทางเลือกหนึ่ง ในการตั้งค่าเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่มีความรวดเร็ว รวมทั้งพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ความยาวสายระบบไฟฟ้า โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงแบบพหุ (Multiple Linear Regression Analysis) และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงอย่างง่าย (Simple Linear Regression Analysis) ในการคาดการณ์ค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้สอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ เพื่อให้ได้รับค่าเป้าหมายค่าดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม-
dc.description.abstractalternativeThe power system reliability is very important to electrical service providers because the power system which has good reliability can be very satisfying to consumers. Therefore, power system reliability improvement is necessary. To improve the power system reliability, reliability indices must be evaluated in order to know the reliability level of the existing power system. Also, target setting of power system reliability indices is required to know the expected power system reliability level. The target values should be determined by relevant factors and appropriate challenge to existing potential and resources. In addition, there must be a quick target setting method that can be used to set up maintenance activities and to plan improvements to meet the goals in a timely manner. Therefore, this thesis proposes an alternative approach for quick setting of the power system reliability index target, with consideration of related factors such as power system maintenance costs and line lengths. Multiple Linear Regression Analysis and Simple Linear Regression Analysis are used to predict the power system reliability index in accordance with the related factors.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1366-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการตั้งค่าเป้าหมายดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้ากำลังโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง-
dc.title.alternativeTARGET SETTING OF POWER SYSTEM RELIABILITY INDICES WITH CONSIDERATION OF MAINTENANCE COST AND RELEVANT FACTORS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้า-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSurachai.C@Chula.ac.th,surachai.c@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1366-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870430821.pdf15.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.