Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60090
Title: ผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
Other Titles: THE EFFECTS OF YOGA TRAINING ON RHINITIS SYMPTOMS AND CYTOKINES IN ALLERGIC RHINITIS PATIENTS
Authors: อนันต์ จันทา
Advisors: วรรณพร ทองตะโก
เจตทะนง แกล้วสงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Wannaporn.To@chula.ac.th,Wannaporn.T@chula.ac.th
Jettanong.K@Chula.ac.th,jettanong@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกโยคะที่มีต่ออาการและไซโตไคน์ในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อายุระหว่าง18-45 ปี จำนวน 27 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มประกอบด้วยกลุ่มควบคุม จำนวน 14 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 13 คน ให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มควบคุมใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และไม่ได้รับการออกกำลังกายใดๆ สำหรับกลุ่มทดลอง ให้กลุ่มตัวอย่างทำการฝึกโยคะครั้งละ 60 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการวัดตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ตัวแปรด้านสรีรวิทยา ตัวแปรด้านสมรรถภาพปอด ตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และตัวแปรด้านสารชีวเคมีในสารคัดหลั่งในจมูก นำผลที่ได้ไปวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองในแต่ละกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มการทดลองโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 นอกจากนั้น วิเคราะห์ความแตกต่างของตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มชนิดความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One way repeated measures ANOVA) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5 ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ค่าเฉลี่ยตัวแปรทางสรีรวิทยา ได้แก่ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยอัตราส่วนปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ต่อปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1/FVC) อัตราการไหลของอากาศที่คำนวณในช่วงปริมาตร 25-75% ของปริมาตรอากาศสูงสุด (FEF25-75%) และปริมาตรของอากาศจากการหายใจเข้า-ออกเต็มที่ในเวลา 1 นาที (MVV) แตกต่างกับก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และมีค่าเฉลี่ยค่าปริมาตรของอากาศที่ถูกขับออกในวินาทีแรกของการหายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FEV1) เพิ่มขึ้นแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ส่วนค่าปริมาตรสูงสุดของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่ (FVC) ไม่แตกต่างกับก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม 3. หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยตัวแปรด้านอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ได้แก่ ปริมาตรการไหลผ่านของอากาศสูงสุดในโพรงจมูกเพิ่มขึ้น และมีค่าเฉลี่ยการไหลของเลือดในโพรงจมูก อาการคัดจมูก อาการคันจมูก อาการจาม อาการน้ำมูกไหล และอาการโดยรวมลดลง แตกต่างกับก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ยระดับไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคินทู (IL-2) แตกต่างกับก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยระดับไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคินซิกส์ (IL-6) ไม่แตกต่างกันทั้งสองกลุ่ม จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าการฝึกโยคะ 8 สัปดาห์ช่วยให้ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้มีอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ลดลง อีกทั้งมีการเพิ่มขึ้นของระดับไซโตไคน์อินเตอร์ลิวคินทู ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการฝึกโยคะส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate effects of yoga training on rhinitis symptoms and cytokines in allergic rhinitis patients. Twenty-seven allergic rhinitis patients, aged 18-45 year old, were randomized into 2 groups: control group (CON; n=14) and yoga group (YOG; n=13). The control group had normal life and the yoga group was required to complete protocol with yoga training for a period of 8 weeks, 60 minutes, 3 times a week. Physiological variables, lung function variables, allergic rhinitis symptoms variables, and cytokines level in nasal secretion variables were analyzed during pre-test and post-test. The dependent variables between pre-test and post-test were analyzed by a paired t-test. The dependent variables between group were analyzed by independent t-test. One way repeated measures ANOVA was used to compare the variables among pre-test, after 4 weeks, and after 8 weeks. Differences were considered to be significant at p < .05. The results were as follow: 1. After 8 weeks, there were no significant differences in body weight, body mass index, resting heart rate, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure between pre and post-test and between CON and YOG groups. 2. After 8 weeks, FEV1/ FVC, FEF 25-75% and MVV variables in YOG group were increased significantly when compared with pre-test and CON group (p<0.05). Moreover, FEV1 was significantly higher than CON group (p<0.05). 3. After 4 weeks and 8 weeks, the means of nasal blood flow and rhinitis symptoms including nasal congestion, itching, sneezing, rhinorrhea and total symptoms were significantly lower than pre-test and CON group (p<0.05). Inaddition, peak nasal inspiatory flow was significantly higher than pre-test and CON group. 4. After 8 weeks, there were significant difference in interleukin-2 level between CON and YOG group and between pre and post-test (p<0.05). However, There were no significant difference in interleukin-6 between CON and YOG group and between pre and post-test (p<0.05). In conlusion, the present findings demonstrated that eight weeks of yoga training can reduce symptoms and also increase interleukin-2 level. Yoga trainingin is beneficial effects for patients with allergic rhinitis.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60090
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1248
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1248
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878334739.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.