Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60113
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาริณี ตรีวรัญญู-
dc.contributor.authorณัฏฐ์ชฎิล มาอิ่นแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T06:07:26Z-
dc.date.available2018-09-14T06:07:26Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60113-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ2) ศึกษาผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 โรง ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 70 คน และดำเนินการสุ่มนักเรียน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ ส่วนกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์และแบบวัดเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏดังนี้ 1.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ปรากฏดังนี้ 2.1 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to (1) study the effect of using historical method with place-based education approach on historical issues analysis ability of upper secondary school students and (2) study the effect of using historical method with place-based education approach on attitude towards historical study of upper secondary school students. The samples were 70 of grade 11 students in a secondary school under the secondary school educational service area 1, Bangkok, semester 2 in academic year 2017. The samples were selected by using purposive sampling. They were divided into two groups. The first experimental group was taught by using historical method with place-based education approach, while the second experimental group was taught by using only historical method. Both groups were taught for 12 weeks long by the researcher. Two research instruments– the Historical Issues Analysis Ability Test and the Attitude towards Historical Study test were used. Means, Standard Deviation, T-test were used for data analysis. The research results were as follows: 1. The effects of using historical method with place-based education approach on historical issues analysis ability of upper secondary school students were as follows: 1.1 The mean post-test score on the historical issues analysis ability of students taught using historical method with place-based education approach was higher than the mean pre-test score at a .05 of significant. 1.2 The mean post-test score on the historical issues analysis ability of students taught using historical method with place-based education approach was higher than the mean post-test score of students taught using only historical method at a .05 of significant. 2. The effects of using historical method with place-based education approach on attitude towards historical study of upper secondary school students were as follows: 2.1 The mean post-test score on the attitude towards historical study of students taught using historical method with place-based education approach was higher than the mean pre-test score at a .05 of significant 2.2 The mean post-test score on the attitude towards historical study of students taught using historical method with place-based education approach was higher than the mean post-test score of students taught using only historical method at a .05 of significant.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1591-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleผลการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการศึกษาอิงสถานที่ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ประเด็นทางประวัติศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย-
dc.title.alternativeEFFECTS OF USING HISTORICAL METHOD WITH PLACE–BASED EDUCATION APPROACH ON HISTORICAL ISSUES ANALYSIS ABILITY AND ATTITUDE TOWARDS HISTORICAL STUDY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorCharinee.T@Chula.ac.th,charinee.t@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1591-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883869927.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.