Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60118
Title: | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์สะท้อนความกดดันที่นำไปสู่การเป็นฆาตกรหญิง |
Other Titles: | THE CREATION OF DANCE REFLECTING FEMALE'S PRESSURE LEADING TO MURDER |
Authors: | ขวัญชนก โชติมุกตะ |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์สะท้อนความกดดันที่นำไปสู่การเป็นฆาตกรหญิง” เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบและแนวความคิดหลังจากการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวชีวิตของผู้ต้องขังหญิง 3 คนผู้ได้รับความกดดันจากครอบครัวที่นำไปสู่การเป็นฆาตกร โดยผู้วิจัยนำแนวความคิดเกี่ยวกับนาฏยศิลป์และการละครมาใช้เป็นหลักในการทำผลงานสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ชิ้นนี้ มีการรวบรวมข้อมูลโดย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทดลองสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ เพื่อนำเสนอผลงานนี้สู่สาธารณชน จากนั้นจึงสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของการแสดงที่สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง เป็นบทที่ได้มาจากชีวิตจริงของผู้หญิง 3 คนนำมาเรียบเรียงใหม่โดยเรียงลำดับจากเรื่องราวที่ได้รับความกดดันน้อยที่สุดไปถึงมากที่สุด 2) นักแสดง มีคุณสมบัติทางด้านการแสดงออกทางอารมณ์ และด้านการเคลื่อนไหวเพื่อการแสดง 3) ลีลา ใช้ลีลาท่าทางที่เป็นการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ และมีลีลาการเคลื่อนไหวที่สื่อถึงการเล่าเรื่อง 4) เครื่องแต่งกาย ใช้การแต่งกายที่มาจากบุคลิกของตัวละครในเรื่องนั้น ๆ 5) ดนตรีและเสียงประกอบการแสดง มาจากร่างกายนักแสดงประกอบกับเสียงของเครื่องดนตรีคลาริเน็ต และใช้ดนตรีเสียงสังเคราะห์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงเป็นสิ่งของที่ใช้เป็นกิจวัตรประจำวันในครัวเรือน 7) การออกแบบพื้นที่ ใช้พื้นที่ที่มีขอบเขตจำกัดให้มีความรู้สึกไม่เป็นอิสระเหมือนโดนกักขังไว้ 8) การออกแบบแสง ให้ความรู้สึกที่แสดงถึงความรุนแรง นอกจากนั้นแล้วยังได้แนวความคิดหลังจากการสร้างสรรค์ผลงานแล้วทั้งสิ้น 8 ประเด็น ดังนี้ 1) แนวคิดเกี่ยวกับนาฏยศิลป์และการละคร 2) แนวคิดทฤษฎีละครไมม์ 3) แนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) แนวคิดองค์ประกอบทางด้านทัศนศิลป์ 5) แนวคิดเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิง 6) แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร 7) แนวคิดเกี่ยวกับการให้เกียรติคู่ครอง 8) แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอกใจ ผลการวิจัยเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ได้ทั้งหมดนี้มีคุณค่าทางการวิจัยที่คนรุ่นหลังสามารถนำไปศึกษาต่อยอดได้อีกมากมาย และผลการวิจัยนี้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัยทุกประการ |
Other Abstract: | “The Creation of Dance Reflecting Female’s Pressure Leading to Murder” is a creative research thesis, with the objective to explore forms of a dance piece and the creative concepts after the creation of dance inspired by stories from 3 female convicts, whose family’s pressure has led them to commit murder. The dance and theatre principles have also been applied to the creative processes, as well as data collection through document surveys, interviews with experts in order to apply to the creation of the performance in a public presentation then summarized the thesis. The thesis demonstrates the creative process of the dance piece, devised from analyzing various aspects of the psyche of the pressure on the women, which consists of the following of 8 elements in the performing arts: 1) The script is based on revealed real lives of the female convicts in ascending order (in terms of the amount of pressure). 2) The actresses possess similar acting abilities, which are the capacity to express emotions and physical movement for acting. 3) Dance movements are based on real-life movements and post-modern dance. 4) Costumes are devised from the characters’ personalities and traits in the story. 5) Music and sound are from the actress’ body, a solo clarinet and synthesized music. 6) Stage props are from household appliances. 7) Stage design evokes a feeling of being trapped. 8) Lighting design evokes the feeling of violence. There are 8 concepts being applied in the performance: 1) Theories on dance and theatre 2) Theories on mime 3) Post-Modern theories 4) Visual arts elements 5) Violence against women concepts 6) Communication theories 7) Showing respect to partner concepts 8) Cheating behavior concepts. This dance piece is an integration of various disciplines, thus providing great research value to be studied further. The results of this study also satisfy all proposed objectives of the research. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60118 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1460 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1460 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5886802335.pdf | 24.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.