Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60201
Title: ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาภายหลังการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
Other Titles: MENTAL HEALTH OF STUDENTS IN EARLY CHILDHOOD AND PRIMARY SCHOOL MAJOR AFTER THE TRAINING AT SUAN DUSIT UNIVERSITY
Authors: กาญจนา ผิวงาม
Advisors: เดชา ลลิตอนันต์พงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Decha.L@Chula.ac.th,drdecha@hotmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) โดยศึกษา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง (Cross Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิต ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพจิต และ ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ประชากรตัวอย่าง (Sample Population) คือ นักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.สวนดุสิต ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวนทั้งสิ้น 200 คน โดยใช้เครื่องมือได้แก่ 1) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) แบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Descriptive Statistics, Chi-square test, T-Test และ Multiple Linear Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า1) ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตปกติในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลจากภาวะทางจิตใจ ร้อยละ 56 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 85.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านความวิตกกังวล ร้อยละ 86.5 มีสุขภาพจิตปกติในด้านภาวะทางจิต ร้อยละ 95.5 และมีสุขภาพจิตปกติในด้านการทำหน้าที่ทางสังคม ร้อยละ 84 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตในด้านความเจ็บป่วยทางกายที่เป็นผลมาจากภาวะทางจิตใจ มี 6 ปัจจัย ด้านภาวะซึมเศร้า มี 7 ปัจจัย ด้านความวิตกกังวล มี 3 ปัจจัย ด้านภาวะทางจิต มี 4 ปัจจัย และด้านการทำหน้าที่ทางสังคม มี 1 ปัจจัย 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรปฐมวัย หลังออกฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู ภายหลังการฝึกประสบการณ์ทางวิชาชีพครู พบว่านักศึกษาหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรประถมศึกษา มีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.99, S.D. = .46 )
Other Abstract: The aims of this cross-sectional descriptive study were to study mental health student in early childhood and primary school major after the training at Suan Dusit University, to study associated factor and to study the satisfaction after the training. Samples were 200 students in early childhood and primary school major on the training in 1st semester at Faculty of Education, Suan Dusit University in academic year 2017. The instrument was 1) Mental health questionnaire of students in early childhood and primary school major on the training 2) Questionnaire of the satisfaction on the training and analyzed by Descriptive Statistics, Chi-square Test, T-Test and Multiple Linear Regression Analysis. The results show that 1) The most of students were normal mental health in somatization (56 percent), in depression (85.5 percent), in anxiety (86.5 percent), in psychotic (95.5 percent), and in social function (84 percent). 2) The associated factor of mental health had 3 factors of somatization, 7 factors of depression, 4 factors of anxiety, 2 factors of psychotic, and 1 factor of social function. 3) The satisfaction of the students in early childhood and primary school major after the training was high level (X= 3.99, S.D. = .46 )
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60201
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1543
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1543
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974252230.pdf4.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.