Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60235
Title: การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: A STUDY OF THAI INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OF NON-ELEMENTARY AND THAI MAJOR TEACHERS IN PATHUM THANI PROVINCE
Authors: สุพัตรา คำโพธิ์
Advisors: ภาวิณี โสธายะเพ็ชร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: PAVINEE.S@CHULA.AC.TH,pavineenui@gmail.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก 2) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี พบว่าครูมีการปฏิบัติอยู่ในระดับบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย = 2.97) โดยพบปัญหาคือ ครูขาดความชำนาญในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และต้องการสื่อที่ใช้ในการสอนภาษาไทย 2. แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก คือ 1)การเริ่มต้นพัฒนาตนเองโดยครูผู้สอนต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบและหน้าที่ของตนเอง และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 2) การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษาทั้งด้านสื่อการสอน การนิเทศติดตาม การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย
Other Abstract: The purpose of this research were to 1) study the states and problems of Thai instructional management of non-elementary and Thai major teachers; 2) to propose guidelines for the development of Thai language teaching and learning of non-Thai major teachers. The researcher collected data from the Thai primary school teachers in total 298, who did not graduate from Thai major in Pathum Thani Primary Educational Area Office, District 1. The data were collected from questionnaires, interviews, and observation forms of Thai instructional management. The quantitative data were analyzed by Frequency, Percentage, Mean and Standard deviation. The data from interviews and observation forms were described by content analysis. The research results found that; 1. The states and problem of Thai instructional management of non-elementary and Thai major teachers was at a sometimes level of teacher performance (Mean = 2.97). The problems were as follows: Teachers were inexperienced of Thai instructional management. Teachers needed to have Thai instructional media. 2. The guidelines for non-Thai major teachers were as follows: 1) Teachers start to developing themselves and recognizing own responsibilities and duties. 2) The school administrators should support instructional media, supervision process, and support of learning exchange. Institutions and organizations relating to Thai instructional management should support the teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60235
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1026
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1026
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983898127.pdf9.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.