Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60268
Title: | การรำหน้าพาทย์เพลงตระโขนพระ |
Other Titles: | TRAA DANCE PATTERNS OF MALE CHARACTERS IN KHON |
Authors: | จักราวุธ คงฟู |
Advisors: | อนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Anukoon.R@Chula.ac.th,anukulcu@hotmail.com |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง การรำหน้าพาทย์เพลงตระโขนพระ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ประวัติความเป็นมากระบวนท่ารำตามหลักสูตรและการนำความรู้ไปใช้ ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การฝึกปฏิบัติจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า หน้าพาทย์เพลงตระ หมายถึง เพลงที่ใช้ประกอบกิริยาของตัวละครที่แสดงถึงการตระเตรียม การใช้อิทธิฤทธิ์ การบริกรรมพิธี มีหลักฐานปรากฏเพลงหน้าพาทย์นี้ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พบว่ามี 8 เพลง ได้แก่ ตระนิมิต ตระนอน ตระบรรทมไพร ตระนารายณ์ ตระเชิญ ตระสันนิบาต ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระบองกัน ผู้ที่รำเพลงหน้าพาทย์ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะในการรำเป็นอย่างดี เพราะต้องเข้าใจความหมายของเพลงและฟังจังหวะ ทำนองเพลงได้ ตลอดจนมีความจำกระบวนท่ารำได้อย่างดี การรำหน้าพาทย์ประกอบด้วยการใช้อุปกรณ์และไม่ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง มีเพลงตระนารายณ์ เพลงเดียวที่ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง ได้แก่ คทา จักร ส่วนเพลงหน้าพาทย์อีก 7 เพลงไม่ได้ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง การรำหน้าพาทย์เพลงตระมีทั้งนั่งรำและยืนรำ นั่งรำได้แก่ ตระนอน ตระบรรทมไพร ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ตระเชิญ ตระสันนิบาต ยืนรำได้แก่ ตระนิมิต ตระบองกัน ตระนารายณ์ เพลงหน้าพาทย์เพลงตระทั้ง 8 เพลง ผู้วิจัยพบว่า มีจังหวะในการรำทั้งหมด 32 จังหวะ ที่เท่ากัน กลวิธีในการรำมีเยื้องตัว และย้อนตัว การรำหน้าพาทย์เพลงตระมีทั้งรำประกอบบทร้อง และรำประกอบทำนองเพลง กระบวนท่ารำพบว่ามี 14 ท่ารำได้แก่ ท่าเทพประนม ท่าปฐม ท่าสอดสร้อยมาลา ท่าผาลาเพียงไหล่ ท่าบัวชูฝัก ท่านารายณ์ขว้างจักร ท่ากินนรรำ ท่าเครือวัลย์พันไม้ ท่ากินนรฟ้อนโอ่ ท่าบัวชูฝักส่งจีบหลัง ท่าวงบน วงกลาง ท่ากรบน ท่ากรล่าง ท่านอน ซึ่งเป็นกระบวนท่ารำที่ได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามแบบแผน สืบทอดกันต่อมาที่เรียกว่า รำเพลงครู การนำหน้าพาทย์เพลงตระไปใช้สำหรับการแสดง ต้องนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของการแสดง และสอดคล้องตามความหมายของเพลงหน้าพาทย์ ในปัจจุบันการรำหน้าพาทย์เพลงตระ ได้สืบทอดในหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นวิชาบังคับของผู้เรียนนาฏยศิลป์ โดยเฉพาะโขนพระ ต้องรำหมวดหน้าพาทย์เพลงตระทั้ง 8 เพลงนี้ได้ จึงจะสามารถเป็นผู้แสดงในบทบาทตัวละครที่สำคัญได้ดี และมีแนวโน้มว่ากระบวนท่ารำนี้ยังคงสืบทอดต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | The objective of this study was to investigate the history of Traa dance patterns of the male characters in Khon so that they could be preserved and applied. The research tools were literature review, observations, interviews and rehearsals supervised by authorities on Thai classical music and dances. Since the Ayutthaya period, their patterns have been observed. The patterns representing preparation for a show, magical power use and ceremonial performances included 8 rhythmic patterns: Traa Nimit, Traa Non Traa Buntomprai, Traa Naraiplang , Traa Chuen, Traa Sannibat,Traa Naraibuntomsin and Traa Bongkan. The dancers have to be skillful in memorizing their lyrics, rhythms and melodies. Only Traa Naraiplang requires accessories like mace and discus. Traa Non, Traa Buntomprai, Traa Naraibuntomsin, Traa Chuen and Traa Sannibat require sitting dancing poses; Traa Nimit, Traa Bongkan and Traa Naraiplang standing poses. Each dance pattern comprises 32 poses including those leaning the body to the side and those turning the body along either with lyrics or with melody. Their age-old 14 poses called Plang Kru including Theppranom, Patom, Sodsoimala, Palapianglai, Buachufak, Maraikhwangchak, Kinnonrum, Kruewanpannmai, Kinnonfon-o, Buachufakcheeplang, Wongbon, Wongklang, Konbon, Konlang and Non, which are strictly followed and performed. Each pattern is chosen according to the purpose of the show. Presently, these patterns are requirements for those studying performing arts especially the male characters in Khon. If they want a leading role, they have to perform all 8 pieces very well and the pieces will be here to stay. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60268 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.885 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.885 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5986601635.pdf | 14.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.