Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60269
Title: ดนตรีกันตรึมในพิธีบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง
Other Titles: KANTREUM MUSIC IN WORSHIPPING RITUAL AT PHNOM RUNG HISTORICAL PARK
Authors: วีรวรรณ คชรัตน์
Advisors: บุษกร บิณฑสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussakorn.S@Chula.ac.th,bsumrongthong@yahoo.com
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่องดนตรีกันตรึมในพิธีบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพิธีกรรมการบวงสรวงแบบเขมรและดนตรีกันตรึมที่ใช้ในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมของการบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งแบบเขมร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และส่วนที่ 2 พิธีเชิญชวนให้ร่วมทำบุญบวงสรวง ในส่วนของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยขั้นตอนการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย การอัญเชิญเทพเทวดาตามบทสวด และการรำถวายมือ ในส่วนที่สอง ประกอบด้วยการร้องทักทายผู้ฟัง การเชิญชวนให้มาร่วมทำบุญ การเล่นกลอนสดอุปมาอุปไมย ร้องโต้ตอบกัน และการกล่าวอวยพรผู้มาร่วมพิธี โดยมีอาจารย์เกรียงศักดิ์ ปะรุนรัมย์ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ในส่วนของดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมของการบวงสรวงแบบเขมรใช้วงกันตรึมมคณะสุริยชัย ส.สไบทอง (เกรียงศักดิ์ ส.สไบทอง) เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอกันตรึม 1 คัน กลองกันตรึม 2 ตัว กรับ 1 คู่ ฉาบเล็ก 1 คู่ และฉิ่ง 1 คู่ บรรเลงด้วยเพลง 9 เพลง ได้แก่ เพลงเปิดวงเพลงที่ 1 เพลงเปิดวงเพลงที่ 2 เพลงแสร็ย สะตือ เพลงรำปี (รำเปย) เพลงปทุมทอง เพลงทานอ เนียงนอ เพลงชะโอละหน่าย เพลงสาวกันตรึม เพลงอายัยเวง เพลงที่ 3-9 เป็นเพลงที่มีการร้องประกอบ นอกนั้นเป็นเพลงบรรเลงแบบไม่มีร้อง
Other Abstract: This research aimed to investigate the sacred ritual ceremony, and Kantreum Music in the ceremony at Phanom Rung Historical Park, Chalerm Pra Kiat District, Buriram Province. The result of the research found that there were two main parts of the ceremony. The first part was sacred ceremony and the second part was held to invite spectators to make merit and to sacrifice. The sacred ceremony started from the step of lighting candles to worship Buddha, inviting deity and gods, and the step of hand dance. The second part of the ceremony comprised the steps of greeting audience, inviting the audience to make merit, improvisation, and blessing the participants. Mr. Kriangsak Paroonram was the master who performed both parts of the ceremony. The musical instruments employed in this ceremony were: one Kantreum fiddle, two Kantreum drums, a pair of Kantreum sticks, a pair of big cymbals, and a pair of small cymbals. The Kantreum music was played by Suriyachai Sor Sabaithong Kantreum Band (Kriangsak Sor Sabaithong). Kantreum music used in the ceremony comprised of 9 songs: The opening 1 and The opening 2, Saraey Satue Song, Rampi, Patumthong, Tananiangnor, Cha-O-la-naay, Kantreum Girls, and Ayai weng. There were vocal parts in the song from 3rd to 9th, the rest are instrumental music.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60269
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.850
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.850
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986608035.pdf12.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.