Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60381
Title: ผลของแรงเชิงกลต่อการเกิดการละลายภายในคลองรากฟันและการพัฒนาแนวทางในการรักษา : รายงานฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Effect of mechanical stimulation on internal root resorption and the development of its therapeutic treatment
Authors: พัชรี ฤทธิ์ประจักษ์
ประสิทธิ์ ภวสันต์
Email: Patcharee.R@Chula.ac.th
Prasit.Pav@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: คลองรากฟัน
คลองรากฟัน -- โรค
คลองรากฟัน -- โรค -- การรักษา
การสลายตัวของกระดูก
การสลายตัวของกระดูก -- การรักษา
Dental pulp cavity
Dental pulp cavity -- Diseases
Dental pulp cavity -- Diseases -- Treatment
Bone resorption
Bone resorption -- Treatment
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบาดเจ็บจากแรงเชิงกลส่งผลให้เกิดการละลายภายในคลองรากฟัน ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของการสูญเสียฟัน ดังนั้นการศึกษากลไกการเกิดการละลายภายในคลองรากฟันจึงมีผลต่อการพัฒนาแนวทางในการรักษาผู้ป่วยทางคลินิก ในงานวิจัยนี้คณะผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษากลไกการเกิดการละลายภายในคลองรากฟัน โดยคณะผู้วิจัยมีสมมุติฐานเบื้องต้นว่าความเครียดจากแรงเชิงกล ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเซลล์โพรงฟัน ทำให้เซลล์โพรงฟันหลั่งสารที่มีผลต่อการแปรสภาพและการทำงานของเซลล์สลายกระดูก/สลายฟัน ซึ่งเซลล์ดังกล่าวนี้จะไปทำลายเนื้อฟันและทำให้เกิดลักษณะทางคลินิกของการละลายภายในคลองรากฟัน จากผลการทดลองของคณะผู้วิจัยพบว่าเมื่อเซลล์โพรงฟันได้รับความเครียดจากแรงกด เซลล์โพรงฟันจะมีการหลั่งไซโตไคน์ IL-1 และ IL-6 ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ และมีการหลั่งสาร S100A7 ซึ่งทำหน้าที่เป็น Danger Associated Molecular Pattern (DAMPs) นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังพบว่าสาร S100A7 มีผลต่อการเพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์สลายกระดูกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งองค์ความรู้ทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ต่อการรักษาการละลายภายในคลองรากฟันของผู้ป่วยทางคลินิกในอนาคต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60381
Type: Technical Report
Appears in Collections:Dent - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee R_Res_2558.pdf948.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.