Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60411
Title: การวิเคราะห์เปรียบเทียบระบาดวิทยาของเชื้อสตาฟฟิโลคอคคัสก่อโรคบนผิวหนังสุนัข ผู้เลี้ยงสุนัข และสัตวแพทย์และมาตรการป้องกันการติดต่อจากสุนัขสู่คน : รายงานการวิจัย
Other Titles: Comparative analysis for epidemiology of pathogenic staphylococci in dogs, owners and veterinarians and preventive strategies from dog to human transmission
Authors: ณุวีร์ ประภัสระกูล
ชาญวิทย์ ตรีพุทธรัตน์
สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์
ภัทรรัฐ จันทร์ฉายทอง
วารี นิยมธรรม
Email: nuvee.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: การดื้อยาในจุลินทรีย์
สตาฟีย์โลค็อกคัส
โรคติดเชื้อจากสัตว์
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยในปีที่ 1 ได้รายงานความชุกและการกระจายเชิงระบาดวิทยาโมเลกุลของเชื้อ methicillin-resistant coagulase-positive staphylococci (CoPS) ในสุนัข เจ้าของสุนัข และสัตวแพทย์ ประกอบด้วยเชื้อ Staphylococcus pseudintermedius, S. schleiferi subsp. coagulans and S. aureus พบการระบาดของเชื้อดื้อยานี้อย่างกว้างขวางในโรงพยาบาลสัตว์ในประเทศไทย หลักฐานด้านสายพันธุ์ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างสุนัขและผู้ที่เกี่ยวข้องกับสุนัข นอกจากนี้ยังพบสายพันธุ์ใหญ่ในการศึกษาที่ผ่านมาด้วย ดังนั้นการตรวจติดตามเชื้อแบคทีเรียดื้อยานี้เป็นความจำเป็นเพื่อศึกษาแหล่งที่มาของปัญหา และนำไปปรับใช้ในการกำหนดมาตรการลดการระบาดระหว่างคนและสัตว์ และใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการจัดการด้านสุขศาสตร์ งานวิจัยในปีที่ 2 นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา หาลักษณะทางพันธุกรรมของการดื้อยาจากเชื้อที่พบในปีที่ 1 ปัจจัยของคงอยู่ของเชื้อดื้อยาชนิด methicillin-resistant coagulase positive staphylococci (MRCoPS) บนผิวหนังสุนัข และประเมินประสิทธิภาพของสารฆ่าเชื้อได้แก่ chlorhexidine gluconate in isopropanol, potassoum peroxymonosulfate oxidizing agent, silver nano products และ providone iodine จากการทดสอบความไวรับต่อยาต้านจุลชีพแสดงให้เห็นว่าเชื้อมากกว่า 80% ที่แยกได้จากกลุ่มประชากรที่ศึกษาแสดงการดื้อยาต้านจุลชีพหลายชนิด ได้แก่ tetracycline, aminoglycoside, erythromycin, clindamycin, chloramphenicol, trimethoprim, ciprofloxacin และ sulfamethoxazole ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่ใช้ในทางการแพทย์และสัตวแพทย์ จากการติดตามสุนัขที่ได้รับยาปฏิชีวนะชนิด cephalexin monohydrate ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบการคงอยู่ของเชื้อดื้อยา MRCoPS พบว่าเพิ่มขึ้นจาก 6.12% เป็น 100% หลังการให้ยาปฏิชีวนะเพียง 1 สัปดาห์ และยังคงอยู่ภายในหกเดือนถึงหนึ่งปี เชื้อที่พบมากที่สุดคือ methicillin-resistant S. pseudintermedius (MRSP) และสามารถพบได้ตลอดทั้งการศึกษา แต่เชื้อ methicillin-resistant S. schleiferi subsp. coagulans (MRSSc) พบเฉพาะในระหว่างให้ยาเท่านั้น ในการทดสอบกับสารฆ่าเชื้อที่ใช้เป็นประจำในโรงพยาบาลและสารทางเลือกพบว่า 0.5 - 2% chlorhexidine gluconate ใน isopropanol และ 0.005-0.02% potassoum peroxymonosulfate oxidizing agent ให้ผลฆ่าเชื้อในกลุ่ม CoPS ภายในระยะเวลา 15 วินาที ในขณะที่การเจือจาง 10% povidone iodine ให้อยู่ในระดับ 0.1-1% จะเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้หมดในระยะเวลา 45 วินาที ในขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์อนุภาคเงินระดับนาโน (silver nano) ที่นำมาทดสอบกำจัดเชื้อได้ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าการใช้ยาปฏิชีวนะมีผลกระทบกับการเพิ่มจำนวนประชากรของเชื้อดื้อยา และคงอยู่ในระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน การปรับใช้ 0.5% chlorhexidine gluconate ใน isopropanol และ 0.1% povidone iodine บนตัวสุนัข และ การใช้ 0.005% potassoum peroxymonosulfate oxidizing agent ในโรงพยาบาลสัตว์ เป็นทางเลือกเพื่อการลดการปนเปื้อนของเชื้อในสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระยะเวลาการออกฤทธิ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อนุภาคเงินระดับนาโน (silver nano) ที่ทดสอบไม่เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อทันทีหลังการใช้ ผลงานวิจัยนี้สามารถนำมาปรับใช้เพื่อวางมาตรการการแพร่กระจายของเชื้อบนตัวสุนัขและการลดการปนเปื้อนของเชื้อ MRCoPS ในโรงพยาบาลได้
Other Abstract: Our first year study reported the prevalence and molecular epidemiology of methicillin-resistant coagulase-positive staphylococci (CoPS) in dogs, dog owners and veterinarains including Staphylococcus pseudintermedius, S. schleiferi subsp. coagulans and S. aureus. There was the high prevalence of methicillin resistant CoPS distributing in the veterinary hospitals in Thailand. The evidence of strain typing including novel sequence type sharing between dogs and dog-associated human was discovered. Therefore, monitorings of antimicrobial resistance bacteria; phenotype and genotype were needed to cope with this problem origin in order to reduce the zoonotic transmission and to set up an initial guideline for hygenic managment. In second year, the purposes were to investigate the factors associated methicillin-resistant coagulase positive staphylococci (MRCoPS) persistence on dog skin, and to evaluate the bacteriocidal efficacies of disinfectant products; chlorhexidine gluconate in isopropanol, potassoum peroxymonosulfate oxidizing agent, silver nano products and providone iodine. Over 80% of MRCoPS expressed resistance to tetracycline, aminoglycoside, erythromycin, clindamycin, chloramphenicol, trimethoprim, ciprofloxacin and sulfamethoxazole, which are available for human and veterinary medicine. Regarding the mornitoring of MRCoPS emerging after 4-week oral cephalexin monohydatre administration, emerging of MRCoPS were found after a week of treatment and maintained up to 12 month after treatment. The antimicrobial susceptibilities and DNA-finger printings were comfirmed the occurance of MRCoPS. The population of MRCoPS–positive dogs MRCoPS were raised from 6.12% (non-treatment) to 100% (at the 1st week after treatment). However, the number of methicillin-susceptible coagulase-positive Staphylococci (MSCoPS) and MRCoPS were not significant different (P = 0.257) after 6 months post-treatment. On these, methicillin-resistant S. pseudintermedius (MRSP) were the most common frequent. Methicillin-resistant S. schleiferi subsp. coagulans (MRSSc) were found on dog skin at the treatment period only. For disinfectant efficacy, we found that 0.5 - 2% chlorhexidine gluconate in isopropanol and 0.005 – 0.02% potassoum peroxymonosulfate oxidizing agent could eliminate all CoPS within 15s. Whilst, 0.1-1% providone iodine could kill them within 45 second. Among silver nano products had the bacteriocidal effect at 24 hour exposure. The results revealed the occurance of persistant MRCoPS for 6 month at least after their emerging at the first week of treatment. Practically, we implied that use of 0.5% chlorhexidine gluconate in isopropanol and 0.1% povidone iodine for animal skin, 0.005% potassoum peroxymonosulfate oxidizing for environment, could the effective controller the distribution of MRCoPS in veterinary hospitals. In contrast, silver nano products did not proper in term of bacteriocidal effect at sudden used. This finding could be applied for hygienic strategy reducing number and distribution of MRCoPS in veterinary hospitals.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60411
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuvee Pr_Res_2015.2.pdfFulltext1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.