Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60439
Title: | การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสังคมที่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพ กาย จิตและสังคมระยะที่ 1: รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Development of Community Involvement in Prevention and Control of Social Behaviour Problems Affecting on Health and Psychosocial Well-Being among Children and Youth. |
Authors: | วิภา ด่านธำรงกูล สโรชินี แจ้งมงคล เพ็ญพักตร์ อุทิศ ธัญญาภรณ์ คุณสมบัติ ดูบูโลซ์ |
Email: | Vipa.D@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล Penpaktr.U@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข |
Subjects: | เยาวชนที่เป็นปัญหา ปัญหาสังคม |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษานี้เพื่อประเมินสภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนในชุมชน รวมทั้งการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาพฤติกรรมทาง สังคมในกลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ในประชากร 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กและเยาวชน ผู้ปฏิบัติงาน และประชาชนในพื้นที่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตอบเองหรือสัมภาษณ์ รวบรวม ข้อมูลโดยคณะผู้วิจัยและผู้ช่วยที่มีทักษะและประสบการณ์การทำงานภาคสนาม ได้จำนวนตัวอย่างในแต่ละกลุ่มเป้าหมายคือ 248 ราย 598 ราย และ 84 ราย ตามลำดับ สาระเนื้อหาในกลุ่มเด็กฯ ประกอบด้วย ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอันอาจก่อให้เกิดปัญหากับตนเอง สังคมและชุมชน ประสบการณ์ด้านยาเสพติดและเพศสัมพันธ์ รวมทั้งมุมมองเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การประเมินสุขภาพ กาย-จิต สังคม และในอีก 2 กลุ่ม เป็นประเด็นเกี่ยวกับการรับรู้สถานการณ์ ขนาดและความรุนแรงที่ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน รวมทั้งการรับรู้และการมีส่วนร่วมการดำเนินงาน ป้องกันแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่าเด็กและเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของพฤติกรรมที่ส่งผล ต่อสุขภาพอนามัย ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งทัศนคติ ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดที่ไม่ถูกต้องซึ่งอาจส่งผลให้เด็ก และเยาวชนมีโอกาสเข้าถึงสารเสพติดได้ง่าย โดยพบว่านักเรียนกลุ่มนี้มีประสบการณ์เคยใช้สารเสพติด ร้อยละ 17 สารเสพติดที่เคยใช้มากที่สุด ได้แก่ กัญชา รองลงมาเป็น ยาบ้า สำหรับทัศนคติ หรือการ ยอมรับพฤติกรรมในเชิงบริบทแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเพศสัมพันธ์ มีสัดส่วนสูงมากที่สุด ได้แก่ การเป็นแฟนกันร้อยละ 80 รองลงมาเป็นการเที่ยวในยามวิกาล 2 ต่อ 2 และยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ใน วันวาเลนไทน์ประมาณ 1 ใน 3 แต่อย่างไรก็ตาม มีนักเรียนเพียงร้อยละ 11 ที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และมีการ ใช้ถุงยางอนามัยค่อนข้างต่ำ ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์ค่อนข้างสูง และพบว่านักเรียน รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์บริการสุขภาพด้านเอชไอวี/เอดส์ทั้งบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี และ การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสฟรี ค่อนข้างต่ำมาก มีไม่เกินร้อยละ 15 สำหรับ พฤติกรรมอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อตัวนักเรียนและชุมชน ซึ่งมีอัตราค่อนข้างสูงตามลำดับได้แก่ การเล่น เกมส์ ร้อยละ 62 การขับรถ/แข่งรถ ทะเลาะวิวาท/ทำร้ายร่างกาย/ยกพวกตีกัน และ เที่ยวกลางคืน/เที่ยว สถานบันเทิงยามค่ำคืน ร้อยละ 37.0 35.2 และ 31.2 ตามลำดับ สำหรับการประเมินสภาวะสุขภาพกาย จิต สังคม พบว่า การประเมินความสามารถทางสังคม นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78) มีจุดแข็ง และ นักเรียนประมาณครึ่งหนึ่ง มีโรคซึมเศร้าระดับน้อยถึงระดับรุนแรง โดยพบในกลุ่มนักเรียนหญิงมากกว่า นักเรียนชายและพบในพื้นที่ ตำบลทะเลชุบศรมากกว่าตำบลดีลัง สำหรับการประเมินปัญหารวมด้านต่างๆ พบนักเรียนประมาณ 1 ใน 3 ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา เมื่อจำแนกตามเพศของนักเรียนและพื้นที่ ตำบลที่นักเรียนอาศัยอยู่พบว่า ร้อยละของนักเรียนที่อยู่ในระดับกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหาไม่มีความแตกต่าง กัน ขณะที่ผลการประเมินปัญหาทางอารมณ์ พบว่าร้อยละของนักเรียนชายและหญิง และ ร้อยละนักเรียน ในแต่ละตำบล ที่อยู่ในระดับกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วน การประเมินปัญหาพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น พบกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหาในกลุ่มนักเรียนชายมากกว่า นักเรียนหญิงคือร้อยละ 29 และ 21 ตามลำดับ ผลการศึกษากลุ่มประชาชนในพื้นที่ และกลุ่มเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับการรับรู้สภาพปัญหาด้านต่างๆ ของเด็กและเยาวชน พบว่า ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่มองหรือรับรู้พฤติกรรมของเด็กและเยาวชน เป็นต้นว่า การเล่นเกมส์ การทะเลาะวิวาท การเที่ยวกลางคืน การขโมยเงินสิ่งของ การจับกลุ่มมั่วสุม การมี พฤติกรรมทางเพศก่อนวัยอันควร ว่าเป็นปัญหาในระดับค่อนข้างมากถึงมาก ด้วยสัดส่วนร้อยละที่แตกต่าง กัน ซึ่งเจ้าหน้าที่มองว่ามีปัญหาในสัดส่วนที่สูงกว่ามุมมองของชาวบ้าน ยกเว้นพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สารเสพติด ทั้งกลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่ เห็นว่าพฤติการณ์นี้เป็นปัญหาในระดับค่อนข้างมากถึงมาก ไม่แตกต่างกัน ประมาณมากกว่าครึ่ง สำหรับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานั้นพบว่า ประชาชนส่วน ใหญ่ไม่ได้รับรู้ว่ามีการดำเนินงาน และน้อยมากที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาซึ่งต่างกับเจ้าหน้าที่ ส่วน ใหญ่รับรู้หรือสนับสนุนการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในกลุ่มเด็กและ เยาวชน การป้องกันมิให้เกิดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้ลดลง ควรต้องสร้าง ความเข้มแข็งด้านจิตใจ รู้จักผิดชอบชั่วดี สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ หรือทำแล้วมีผลกระทบอย่างไรบ้าง ทั้งระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีทักษะใน การวิเคราะห์ สภาพบริบทต่างๆที่อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งแนวทาง มาตรการ ต่างๆใน การดำเนินงานจำเป็นต้องให้ชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินงานในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและ แก้ไขปัญหา และยังสะท้อนว่ามุมมองของชุมชนและเจ้าหน้าที่ต่อขนาดหรือความรุนแรงของปัญหามีทั้ง ความเหมือนและความต่าง ซึ่งจำเป็นต้องใช้กระบวนการปรับและระดมความคิดเห็นเพื่อพัฒนารูปแบบ กระบวนการมีส่วนร่วมบนพื้นฐานเป้าหมายร่วมกัน เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนในพื้นที่ให้มีพฤติกรรมที่ เหมาะสมตามวัย ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพกาย จิตสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60439 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pub Health - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vipa D_Res_2558.pdf | Fulltext | 947.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.