Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60482
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรณพ วิยกาญจน์-
dc.contributor.authorสุชนา ชวนิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-10-30T08:23:39Z-
dc.date.available2018-10-30T08:23:39Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60482-
dc.description.abstractทำการเก็บเซลล์สืบพันธุ์หรือตัวอ่อนปะการังที่มีการปล่อยตามธรรมชาติในทะเลที่เกาะทะลุ เพื่อศึกษาการเพาะปะการังในระบบเพาะฟักบนบกด้วยเทคนิคการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ พร้อมทั้งตรวจวัดอัตรารอดและอัตราการลงเกาะของตัวอ่อนปะการังในช่วงเวลา 12 เดือน จากการตรวจติดตามการพัฒนาของเซลล์สืบพันธุ์ปะการัง Acropora spp. เพื่อประเมินช่วงเวลาปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ โดยใช้วิธีหักบริเวณปลายกิ่งปะการัง ปรากฏเซลล์สืบพันธุ์ที่สมบูรณ์ในช่วงเดือน ตุลาคม – ธันวาคม และทำการผสมพันธุ์ พบว่าอัตราการผสมอยู่ที่ 92% และอัตราการลงเกาะหลังจากการผสมคือ 74% หลังจากนั้น จึงเอาปะการังที่เพาะได้นำกลับมาเลี้ยงที่โรงเพาะฟักบนเกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี และทำการตรวจติดตามอัตราการรอดของตัวอ่อนปะการังในแต่ละเดือน ซึ่งพบว่าอัตราการรอดของตัวอ่อนปะการังค่อยๆ ลดลงในแต่ละเดือนจนถึง 14% ซึ่งสาเหตุของการลดลงอาจเนื่องมากจากการขนส่งที่ระยะทางไกล เพราะฉะนั้น วิธีการนี้สามารถนำไปใช้ในบริเวณเกาะทะลุเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เสื่อมโทรมต่อไปได้ โดยในขั้นต้น ควรที่จะเตรียมพร้อมในเรื่องของโรงเพาะ หรือสถานที่ที่จะอนุบาลตัวอ่อนปะการังที่เหมาะสม เพื่อที่จะลดระยะทางในการขนส่งตัวอ่อนไปเลี้ยงที่โรงอนุบาลen_US
dc.description.abstractalternativeGametes of corals were collected at Ko Talu for sexual propagation technique. After the gametes were fertilized, survival and settlement rates were measured for 12 month period. The results showed that the spawning of corals, Acropora spp. was between October and December. The fertilization rate was 92% while the settlement rate was 74%. After settling, the juvenile corals were suddenly moved to Sameasan Island, Chonburi Province for further husbandry. The survival rates were declined each month until it reached at 14% at the end of the experimental trial. The decline of the survival rates of juvenile corals maybe due to a long distance transportation. Thus, this sexual propagation technique can be one of the techniques used to restore corals at Ko Talu. However, a proper coral hatchery should be established to reduce the transportation of juvenile corals at a long distance.en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินปี 2558en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปะการัง -- ไทย -- ประจวบคีรีขันธ์en_US
dc.subjectความหลากหลายทางชีวภาพen_US
dc.titleความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของทรัพยากรปะการังบริเวณเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - 4: การเพาะขยายพันธุ์ปะการังในระบบเพาะฟักบนบกด้วยเทคนิคการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศระยะที่2 : รายงานผลการดำเนินงานen_US
dc.title.alternativeBiodiversity and sustainable use of coral resources at Ko Talu, Prachuap Khiri khan – 4: Land based breeding coral using sexual reproduction technique – Phase 2en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.email.authorVoranop.V@Chula.ac.th-
dc.email.authorSuchana.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voranop V_Res_2558_.pdf375.43 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.