Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60484
Title: ศักยภาพการสะสมธาตุคาร์บอนของไม้ยืนต้นในพื้นที่ อพ.สธ. จังหวัดสระบุรี : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Carbon sequestration potential of trees in RSPG area, Saraburi Province
Authors: พงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา
Email: Pongchai.D@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ป่าผลัดใบ -- สระบุรี
การกักเก็บคาร์บอน
ชีวมวลพืช -- ปริมาณคาร์บอน
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพการสะสมธาตุคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นที่ป่าผลัดใบในพื้นที่ อพ. สธ. จังหวัดสระบุรี การศึกษาทำโดยวางแปลงสำรวจทั้งสิ้น 5 แปลง แบ่งเป็นแปลงในสังคมป่าเบญจพรรณ ขนาด 30 x 50 ตร.ม. จำนวน 2 แปลง และขนาด 40 x 40 ตร.ม. จำนวน 1 แปลง รวม 3 แปลง และเป็นแปลงในสังคมป่าเต็งรัง ขนาด 40 x 40 ตร.ม. รวม 2 แปลง ทำการจำแนกชนิดต้นไม้ และวัดขนาดเส้นรอบวงของไม้ยืนต้นซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 14.1 ซม. ที่ระดับ 1.30 ม. จากพื้นดิน จากนั้นคำนวณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินโดยใช้สมการอัลโลเมทริก (allometric equation) ของป่าผลัดใบและคำนวณปริมาณคาร์บอนสะสม ซึ่งมีค่าประมาณร้อยละ 50 ของมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นป่าทุติยภูมิ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ซม. มีปริมาณคาร์บอนสะสมในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินอยู่ในช่วง 4.62 - 34.21 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 22.17±13.05 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ โดยจำแนกเป็นป่าเบญจพรรณ 32.71±2.08 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ และป่าเต็งรัง 6.36+1.74 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ป่าแห่งนี้ยังมีศักยภาพในการสะสมธาตุคาร์บอนได้อีกในปริมาณมาก จึงควรมีมาตรการในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่า ประดู่ป่า ปอฝ้าย และเสี้ยวป่า เป็นพันธุ์ไม้ที่มีความหนาแน่นมากและสามารถสะสมธาตุคาร์บอนได้ดี ดังนั้น หากต้องการฟื้นฟูป่าเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการสะสมธาตุคาร์บอน ควรเลือกพันธุ์ไม้ดังกล่าวมาปลูกเสริม เนื่องจากเติบโตได้ดีในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาการเพิ่มพูนมวลชีวภาพรายปีเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบถึงชนิดพันธุ์ไม้ที่สามารถสะสมคาร์บอนได้ดีและนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการฟื้นฟูป่าต่อไป
Other Abstract: This study aims to estimate carbon sequestration potential in the deciduous forest under RSPG area, Saraburi Province. Five sampling plots were established, 3 plots in the mixed deciduous forest type (2 plots of 30x50 sq m and 1 plot of 40x40 sq m) and 2 plots (40x40 sq m) in the dry-dipterocarp forest type. Height and circumference at breast height (1.30 m above ground) of trees were measured and species were identified. Above ground biomass in each plot was then calculated using allometric equation of deciduous forest. Above ground carbon was estimated by 50% of the above ground biomass. The results showed that the deciduous forest in the study site contains the character of secondary forest. Most of the trees had the diameter at breast height smaller than 10 cm. The above ground carbon ranged from 4.62 - 34.21 tonCarbon/ha, with the average of 22.17±13.05 tonCarbon/ha. In details, above ground carbon of the mixed deciduous forest type was 32.71±2.08 tonCarbon/ha and the dry-dipterocarp forest type was 6.36+1.74 tonCarbon/ha. This showed high carbon storage potential of this deciduous forest in the future. Moreover, the results showed that Pterocarpus macrocarpus, Bauhinia saccocalyx, and Firmiana colorata had high density and high above ground carbon. Therefore, these species could be used to reforest for carbondioxide absorbsion purpose because they can grow well during past succession period. However, the annual above ground biomass increment of each species is important to investigate in order to identify the species having high carbon accumulation rate, which shall be useful for forest restoration in the future.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60484
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongchai D_Res_2558.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.