Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60500
Title: | ผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | A study of the effects of using SQ4R Teaching Method with Analogy technique for Reading Comprehension Skills of students in the sixth grade |
Authors: | พิรุนเทพ เพชรบุรี |
Email: | pirunthep.p@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ภาษาไทย -- การอ่าน ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ภาษาไทย -- กิจกรรมการเรียนการสอน |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ และเพื่อศึกษาผลของการใช้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิค อุปมา /เปรียบเทียบที่มีต่อทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้ระเบียบการออกแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัย กึ่งทดลอง แบบแผนการวิจัยชนิด Randomized Pretest - Posttest Control group design (แผนแบบการวิจัยแบบมีกลุ่มควบคุมวัดก่อน วัดหลัง ชนิดสุ่ม) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยทาการสุ่มห้องเรียน และแยกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ห้องละ 36 คน ใช้สถิติบรรยายและสถิติอนุมานวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการอ่านจับใจความ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการอ่านจับใจความหลังการทดลองของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้ค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยสรุปว่า (1) รูปแบบกระบวนการสอนอ่านแบบแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบประกอบด้วย ส่วนที่เป็นเนื้อหาที่ใช้สอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ ส่วนแรก คือ เนื้อหา ที่ใช้สอน เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 1.1 สาระ การอ่าน ส่วนที่สอง คือ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบไปด้วยกิจกรรม 6 ขั้นตอน ดังนี้ (1) Survey (S) อ่านอย่างคร่าว ๆ เพื่อหาจุดสาคัญของเรื่อง เป็นการมองภาพรวมของเรื่องทั้งหมด (2) Question (Q) การตั้งคาถามเพื่อจับใจความสาคัญ ขั้นที่ (1) และ (2) จะใช้เทคนิคการสอนแบบอุปมาเปรียบเทียบ โดยนาเสนอสิ่งที่จะใช้อุปมา/เปรียบเทียบกับมโนทัศน์หรือแนวคิดของเรื่องที่อ่านชี้ใหเห็นลักษณะที่มีความสัมพันธกันของอุปมา/เปรียบเทียบ (3) Read (R) การอ่านข้อความในบทหรือตอนนั้น ๆ ซ้าอย่างละเอียด เพื่อทาความเข้าใจในเนื้อหาและตอบคาถามจากเรื่องที่อ่าน (4) Record (R) ให้ผู้เรียนจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้อ่านจากขั้นตอนที่ 3 ตามความเข้าใจของผู้เรียน ขั้นที่ (3) และ (4) จะใช้เทคนิคการสอนแบบอุปมาเปรียบเทียบ เชื่อมโยงสิ่งที่นามาใช้ อุปมา/เปรียบเทียบกับมโนทัศน์หรือแนวคิดของเรื่องที่อ่าน ระบุถึงลักษณะที่มีความเหมือนและแตกต่างกันและเขียนเป็นแผนผังมโนทัศน์ (5) Recite (R) ผู้เรียนเขียนสรุปใจความสาคัญ โดยใช้สานวนภาษาของตนเอง (6) Reflect (R) ให้ผู้เรียนวิเคราะห์ วิจารณ์บทอ่านและแสดงความคิดเห็นพร้อมทั้งเชื่อมโยงความคิดจากบทอ่านกับความรู้เดิมโดยใช้ภาษาอย่างถูกต้องให้เพื่อนและครูได้รับทราบ ขั้นที่ (5) และ (6) จะใช้เทคนิคการสอนแบบอุปมาเปรียบเทียบ โดยนักเรียนและครูร่วมกันคิดวิเคราะห์ สรุปใจความ จากสิ่งที่นามาอุปมา/เปรียบเทียบเพื่อสร้างเป็นข้อสรุป พร้อมทั้งวิจารณ์ความชัดเจนของสิ่งที่นามาอุปมา/เปรียบเทียบกับสาระสาคัญของเรื่องของบทอ่านและส่วนที่สามแผนการจัดการเรียนรู้กระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบจานวน 8 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.60 ซึ่งอยู่ในระดับดีมากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้ (2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการอ่านจับใจความของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการอ่านจับใจความของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการสอนอ่านแบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิคอุปมา/เปรียบเทียบสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were: (1) to develop SQ4R Teaching Method with Analogy technique. (2) to study the effects of using the SQ4R Teaching Method with Analogy technique with reading comprehension. Experimental research method was employed in this study. The research of Randomized Pretest - Posttest Control group design. The sample used in this study is that sixth -grade students were randomly selected classrooms. Experimental groups and a control group of 36 students. Descriptive statistics and statistical inference analysis comparing average scores in reading comprehension. Before and after the trial of the experimental group. And compare the average score in reading comprehension posttest of students between the treatment and control groups. Using the statistical t-test The results of this research shown that, the effects of using SQ4R Teaching Method with Analogy technique for Reading Comprehension Skills include (1) classroom activity and teaching plan. For the content of instruction is based on the basic education curriculum BE 2551. Thai subject content standard 1.1 reading material, Second, Part is classroom activity which consist of six steps: (1) Survey (S) to read the story beefy to see the overview (2) Question (Q), set the question for main idea. For the first and second steps adopted analogy technique to look at the relationship 3) Read (R) to read text thoroughly in order to understand the content and answer questions from the story (4) Record (R) the students record the information from step 3 based on their understanding. For stage there and four adopted analogy techniques to connect with concepts or ideas to Identify the characteristics that are similar and different, and write a concept map. (5) Recite (R), make conclusion using their own words (6) Reflect (R) learners criticize and comment the reading, linking the text with their thoughts using the language correctly. Overall average of 3.60, which is very satisfactory according to predetermined criteria. The average of the reading comprehension skills of the experimental group received instruction. The process of teaching reading SQ4R with Analogy technique higher than before the experiment at a statistically significant level. 05 The average score in reading comprehension of experimental group students whom have been taught by the instructor using SQ4R with Analogy technique was higher than post test score with significant level .05 The average of the reading comprehension of a control group whom have been taught by the instructor using SQ4R with Analogy technique was higher than the students whom received traditional teaching method with significant level. 05 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60500 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pirunthep P_Res_2559.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.