Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60541
Title: การประเมินสุขภาวะและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของสัตว์เลื้อยคลานในระบบนิเวศเกาะทะลุ : รายงานผลการดำเนินงาน
Other Titles: Evaluation of health status and repductive biology of reptiles in Talu Island ecosystem
Authors: นพดล กิตนะ
ผุสตี ปริยานนท์
ภาณุพงศ์ ธรรมโชติ
รชตะ มณีอินทร์
จิรารัช กิตนะ
วิเชฎฐ์ คนซื่อ
ธงชัย ฐิติภูรี
ศราวุธ โกมุทธพงษ์
Email: Noppadon.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Jirarach.S@Chula.ac.th
Wichase.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: สัตว์เลื้อยคลาน
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างสูงและมีสัตว์เลื้อยคลานชนิดสำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเต่ากระ Eretmochelys imbricate และยังมีสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิดที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ จากการสำรวจเบื้องต้นด้านความหลากหลายของสัตว์เลื้อยคลานบนพื้นที่เกาะทะลุ พบสัตว์เลื้อยคลาน 8 ชนิด โดยส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata อันดับย่อย Lacertilia ซึ่งมีชนิดเด่นที่พบมาก คือ กิ้งก่าคอแดง Calotes versicolor จึงเลือกใช้เป็นตัวอย่างสัตว์เลื้อยคลานในการศึกษาครั้งนี้ เมื่อนำมาศึกษาด้านสัณฐานวิทยาและประชากร พบว่ากิ้งก่าคอแดงที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีความยาวลำตัว (ปลายจมูกถึงรูก้น-SVL) อยู่ในช่วงเดียวกับกิ้งก่าตัวเต็มวัยที่พบได้ในพื้นที่อื่นของประเทศไทย โดยข้อมูลภาวะขนาดรูปร่างสองแบบตามเพศแสดงให้เห็นว่าประชากรที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีกิ้งก่าเพศผู้เป็นส่วนใหญ่ และช่วงเวลาที่สำรวจน่าจะเป็นช่วงฤดูการสืบพันธุ์ของกิ้งก่า เมื่อนำข้อมูลด้านสัณฐานวิทยามาประเมินสุขภาวะโดยรวมจากค่า Condition factor พบว่าประชากรกิ้งก่าคอแดงที่เกาะทะลุมีค่าอ้างอิงปกติเท่ากับ 88.58-112.04 ซึ่งเมื่อใช้ประเมินสุขภาวะของกิ้งก่า พบว่ามีกิ้งก่าร้อยละ 8 ที่มีค่าสูงเกินค่าอ้างอิงปกติ และร้อยละ 8 มีค่าต่ำกว่าอ้างอิงปกติ ซึ่งค่าที่ได้นี้อาจนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประเมินสุขภาวะของกิ้งก่าชนิดนี้ในฤดูกาลอื่น หรือ ในสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันได้
Other Abstract: Talu Island in Prachuab Khiri Khan province is one of the protected area of the Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn. The island ecosystem is rich in biodiversity with a presence of important reptile species, especially the hawksbill sea turtle, Eretmochelys imbricoto. The island is also inhabited by many reptile species that play important roles in the ecosystem. A preliminary field survey in March (dry season) revealed that eight species of reptile were found on the island with the highest species richness of reptile in Order Squamata, Suborder Lacertilia. Within this group, the garden fence lizard, Colotes versicolor, was the most commonly found species, and thus used as an animal model in this study. A morphometry-based population study showed that the snout-vent length of the lizard found on this island was within the common range of the adult lizard found in other areas of Thailand. The sexual size dimorphic data suggested that majority of lizards found in this study was male, and the study period seemed to be within a reproductive season of this species. A morphometrybased health evaluation was conducted based on condition factor analysis of body weight and body length relation. It was found that C. versicolor population found in this study has the normal reference value of condition factor at 88.58 -112.04. Using this normal reference value to assess overall health of this population revealed that 8% of the population has the condition factor above the normal range and 8% has the condition factor below the range. This normal reference value could be further used as baseline data for health status evaluation of C. versicolor in other seasons or in other environmental state differed from the current situation.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60541
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppadon K_Res_2556.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.