Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60634
Title: Effectiveness of agrochemical safety program to prevent health effects among chili farmers in Ubon Ratchathani province, Thailand
Other Titles: ประสิทธิผลของโปรแกรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตรเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกพริกในจังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย
Authors: Thitirat Nganchamung
Advisors: Wattasit Siriwong
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: Wattasit.S@Chula.ac.th
Subjects: Spraying and dusting residues in agriculture
Agricultural chemicals
สารพิษตกค้างทางเกษตรกรรม
สารเคมีทางการเกษตร
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Agrochemicals e.g. pesticides and chemical fertilizers are broadly used in agriculture throughout Thailand. Improper uses of agrochemicals lead to health and environmental problems. This study aims to evaluate effectiveness of an agrochemical safety program to prevent health effects related to agrochemical exposure among chili farmers. A quasi-experimental study was conducted in Huaruea subdistrict, Mueang district, Ubon Ratchathani province. Agrochemical safety program consisted of 4 components: 1) Agrochemical safety training with practical demonstrations using Tapioca Starch Tracer technique; 2) Educational media for promoting agrochemical safety behaviors i.e. VCDs and booklets; 3) Providing personal protective equipment i.e. chemical safety goggles, respirators, and gloves; and 4) Peer facilitators. A total of 73 chili farmers completely participated in this study (experimental group = 32, control group = 41). Face-to-face interviews were performed to gather information about agrochemical safety knowledge, self-efficacy, and behaviors as well as health effects related to agrochemical exposure. Both enzymes: erythrocyte acetylcholinesterase (AChE) and plasma cholinesterase (PChE) were tested with the EQM Test-mate Cholinesterase Test System (Model 400). Hand wipe samples were used for collecting residues on both hands and OP residues for chlorpyrifos and profenofos were measured using gas chromatography equipped with flame photometric detector (GC-FPD). Findings revealed that agrochemical safety program had significant effects on improving agrochemical safety knowledge score, self-efficacy score, behavior score, and AChE activity as well as reducing the number and severity scores of symptoms related to agrochemical exposure (Repeated measure ANOVA, p <0.001). However, the program showed no significant effects on improving PChE activity and reducing OP residues on hands. This study suggested that the program is effective to prevent health effects related to agrochemical exposure among chili farmers. Therefore, it should be introduced to other areas where have similar crops and agricultural activities. Moreover, it could be delivered to local partners e.g. public health officers, village health volunteers, and farmer representatives by training the agrochemical safety trainers to extend the study findings.
Other Abstract: สารเคมีทางการเกษตร เช่น สารกำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทางด้านเกษตรกรรมทั่วประเทศไทย  การใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างไม่เหมาะสมก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตรเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรในเกษตรกรผู้ปลูกพริก การศึกษาแบบกึ่งทดลองได้จัดทำขึ้นในพื้นที่ ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  โปรแกรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตร มีองค์ประกอบ 4 อย่าง ดังนี้ 1. การอบรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตรและการสาธิตเชิงปฏิบัติด้วยเทคนิคผู้วาดรอยแป้งมัน (Tapioca Starch Tracer Technique) 2. สื่อเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตรได้แก่ วีซีดี และคู่มือ 3. การแจกอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้แก่ แว่นครอบตา หน้ากาก และถุงมือป้องกันสารเคมี 4. เพื่อนผู้อำนวยความสะดวก  โดยมีเกษตรกรผู้ปลูกพริกจำนวนทั้งสิ้น 73 คนเข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ (กลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 41 คน)  ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวเพื่อเก็บรวบรวบข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตร และผลกระทบด้านสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร รวมทั้งการทดสอบเอนไซม์ 2 ชนิด ได้แก่ อะซิติลโคลีนเอสเตอเรส และพลาสมาโคลีนเอสเตอเรส ด้วยเครื่องทดสอบ  EQM Test-mate Cholinesterase Test System (Model 400)  และเก็บตัวอย่างจากการเช็ดมือทั้งสองข้างของเกษตรกรเพื่อรวบรวมสารตกค้างบนมือไปวิเคราะห์หาปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ได้แก่ คลอไพริฟอส และโฟรฟีโนฟอส ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีและอุปกรณ์ตรวจวัดสารแบบเฟลมโฟโตเมตริก  ผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตรมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของคะแนนความรู้ คะแนนสมรรถนะแห่งตน คะแนนพฤติกรรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตร และปริมาณอะซิติลโคลีนเอสเตอเรส  รวมทั้งการลดลงของจำนวนปัญหาสุขภาพและคะแนนความรุนแรงของอาการจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Repeated measure ANOVA, p <0.001)  แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรมนี้ไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณพลาสมาโคลีนเอสเตอเรส  และการลดลงของปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตตกค้างบนมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตรมีประสิทธิภาพในการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรผู้ปลูกพริก  ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปเผยแพร่ในพื้นที่อื่นๆ ที่มีผลิตผลและกิจกรรมทางการเกษตรที่คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ควรนำโปรแกรมนี้ไปถ่ายทอดให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในท้องถิ่น เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนเกษตรกร โดยจัดอบรมเพื่อเป็นวิทยากรเรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมีทางการเกษตร เพื่อขยายผลการศึกษาต่อไป
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60634
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1831
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1831
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5579171653.pdf6.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.