Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60782
Title: Municipal solid waste metabolism in Bangkok
Other Titles: การศึกษากระบวนการเมตาบอลิซึมขยะชุมชนในกรุงเทพมหานคร
Authors: Saravanee Singtong
Advisors: Chanathip Pharino
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Chanathip.P@Chula.ac.th
Subjects: Refuse and refuse disposal
Refuse collection -- Thailand -- Bangkok
การกำจัดขยะ
การเก็บขยะ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The main objective of this research is to identify low carbon municipal solid waste management (MSWM) schemes and policy recommendations for Bangkok. The study analyzed Bangkok’s municipal solid waste metabolism using Material Flow Analysis (MFA) and Geographic Information System (GIS). MFA of Bangkok’s MSWM indicated that landfill is the GHG hot spot. Landfills are the largest GHG emission source (88%) in Bangkok’s waste metabolism. Waste collection system is the energy consumption hot spot (82%). In addition, GIS displayed based on MSWM parameters (MSWc volume, net and intensity of GHG emission and energy consumption) revealed hot spot areas of each parameter. Among 50 districts, Pathumwan and Wattana districts are the highest hot spot areas in term of MSWc volume, net, and intensity of GHG emission. Analyses of Bangkok’s MSW metabolism provides insights for key factors and potential improvement to help developing a low carbon MSWM system. The study examined eleven scenarios to improve the performance of current Bangkok’s MSW metabolism. An approach on reducing 25% waste generation at sources has the highest potential to reduce GHG emission by approximately 24.5% and energy consumption by 24.21%. Multiple actions, comprising of (1) decentralized composting facility, (2) changing fuel type in the vehicles for waste collection, and (3) campaign for reducing 25% waste generation, showed the highest potential in GHG reduction (30.01%). The scheme that can yield the highest reduction of energy consumption approximates 36.58% is multiple actions comprising of (1) changing fuel type in the vehicles for waste collection, and (2) campaign for reducing 25% waste generation. Changing fuel types in waste collection truck and waste reduction campaign are practical options to promote a low carbon scheme in Bangkok which can help reducing GHG emission (0.29 MtCO2e) by 2020. The research developed a program that can help estimate emission of MSWM in local districts. Recommended options/policies of  MSWM present with potential GHG reduction as the output of the developed program. The program can help provide informaiton for decision making at a district or provincial level toward low carbon waste management.  
Other Abstract: ในการศึกษานี้เพื่อสำรวจกระบวนการเมตาบอลิซึมของขยะชุมชนกรุงเทพมหานครโดยวิเคราะห์การไหลของวัตถุ (Material Flow Analysis, MFA) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System, GIS) เพื่อพัฒนาแผนผังการจัดการขยะชุมชนกรุงเทพมหานครในรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำและนโยบายการจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการวิเคราะห์การไหลของวัตถุสามารถระบุถึงจุดปัญหาของกระบวนการจัดการขยะชุมชน และพบว่าขยะชุมชนส่วนมากถูกสะสม/เก็บโดยการฝังกลบ กระบวนการจัดการขยะชุมชนของกรุงเทพมหานครที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือฝังกลบ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 88 เปอร์เซ็นต์ของการปลดปล่อยทั้งหมด และกระบวนการที่ใช้พลังงานสูงที่สุดคือกระบวนการเก็บขนขยะชุมชน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 82 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั้งหมด ในขณะเดียวกันผลการวิเคราะห์โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยพารามิเตอร์การจัดการขยะ (ปริมาณขยะชุมชนที่ถูกเก็บขน ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อขยะเก็บขน ปริมาณการใช้พลังงานรวม และปริมาณการใช้พลังงานต่อขยะเก็บขน) แสดงถึงพื้นที่เขตที่เป็นปัญหาหรือควรได้รับการแก้ไขในลำดับต้น พบว่าเขตปทุมวันและวัฒนาเป็นเขตที่เป็นปัญหาในหลายพารามิเตอร์มากที่สุด ยกเว้นพารามิเตอร์ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อขยะเก็บขนและปริมาณการใช้พลังงานต่อขยะเก็บขน จากผลการวิเคราะห์กระบวนการเมตาบอลิซึมของขยะชุมชนกรุงเทพมหานครดังกล่าวแสดงถึงโอกาสการปรับปรุงและปัจจัยที่มีนัยยะสำคัญในการพัฒนาแผนผังการจัดการขยะชุมชนกรุงเทพมหานครในรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ ในงานวิจัยได้เสนอ 4 ทางเลือกการปฏิบัติเดี่ยวและอีก 7 ทางเลือกสำหรับการปฏิบัติทางเลือกเดี่ยวหลายๆอันพร้อมกัน พบว่านโยบายการลดการเกิดขยะชุมชนที่ต้นกำเนิดร้อยละ 25 ของการเกิดขยะชุมชนในปัจจุบัน ส่งผลให้ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 24.5 และพบว่าทางเลือกสำหรับการปฏิบัติทางเลือกเดี่ยวหลายๆอันพร้อมกันอันได้แก่ การหมักปุ๋ยในพื้นที่เขต การเปลี่ยนประเภทพลังงานเชื้อเพลิงในรถขนขยะ และนโยบายการลดการเกิดขยะชุมชน มีศักยภาพลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด อย่างไรก็ตามทางเลือกที่เหมาะสมต่อการเป็นแผนผังการจัดการขยะชุมชนกรุงเทพมหานครในรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำมากที่สุดคือการดำเนินการการเปลี่ยนประเภทพลังงานเชื้อเพลิงในรถขนขยะ และนโยบายการลดการเกิดขยะชุมชน ซึ่งสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 0.29 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในช่วงพ.ศ.2563 ในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาโปรแกรเพื่อสนับสนุนเขตในการตัดสินใจต่อการจัดการขยะชุมชนในรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ โดยโปรแกรมช่วยบุคคลากรในระดับพื้นที่เขต/ท้องถิ่นสามารถประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการจัดการขยะชุมชนและเปรียบเทียบการปลดปล่อยนี้กับค่าเฉลี่ยทั้งกรุงเทพมหานคร เพื่อประเมินการดำเนินการจัดการขยะชุมชนของพื้นที่ตนเอง และโปรแกรมสามารถให้ทางเลือกการจัดการขยะชุมที่พัฒนาจากผลการวิเคราะห์แผนผังการจัดการขยะชุมชนกรุงเทพมหานครในรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำพร้อมปริมาณการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การศึกษานี้ได้เสนอนโยบายแนะนำและเครื่องมือสำหรับกรุงเทพมหานครและบุคคลากรระดับท้องถิ่นในการดำเนินงานการจัดการขยะชุมชนกรุงเทพมหานครในรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ ซึ่งพัฒนาจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของขยะชุมชนกรุงเทพมหานคร อีกทั้งแสดงถึงศักยภาพของการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการจัดการของเสีย
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environmental Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60782
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1094
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1094
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387874220.pdf6.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.