Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60806
Title: การปนเปื้อนโลหะหนักในแหล่งน้ำและสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ
Other Titles: Heavy metals contamination in water reservoirs and aquatic animals in the area of gold mine
Authors: อัชญา วงษ์ทองดี
Advisors: ธงชัย งามประเสริฐวงศ์
ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์
อภิชาติ อิ่มยิ้ม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thongchai.N@Chula.ac.th
Tassanee.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: แหล่งน้ำ -- ปริมาณโลหะหนัก
สัตว์น้ำ -- ปริมาณโลหะหนัก
Water-supply -- Heavy metals
Aquatic animals -- Heavy metals
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณ As Hg Pb Mn Ni Cu Zn และ Cd ในน้ำ ตะกอนดิน และสัตว์น้ำ บริเวณพื้นที่เหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการรับสัมผัสโลหะหนักผ่านทางการบริโภคสัตว์น้ำ โดยเก็บตัวอย่างภายในพื้นที่เหมือง 3 ครั้ง ในเดือนสิงหาคม 2558 พฤศจิกายน 2558 และกุมภาพันธ์ 2559 และเก็บตัวอย่างภายนอกพื้นที่ในเหมืองเดือนพฤศจิกายน 2559 โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณ Pb Mn Ni Cu Zn และ Cd ในตัวอย่างด้วยเทคนิค Inductively coupled plasma optical emission spectroscopy และวิเคราะห์ปริมาณ As และ Hg ด้วยเทคนิค Atomic absorption spectrophotometry ผลการศึกษาพบว่าตัวอย่างน้ำผิวดินในพื้นที่เหมืองมีปริมาณ As Hg Pb Ni Cu Zn และ Cd ต่ำกว่ามาตรฐานน้ำแหล่งน้ำผิวดินกำหนด และมีปริมาณ Mn อยู่ในช่วง 0.0055-2.079 มก./ล. ซึ่งบางตัวอย่างมีค่าสูงกว่ามาตรฐานน้ำแหล่งน้ำผิวดินกำหนด และตัวอย่างตะกอนดินในพื้นที่เหมืองมีปริมาณ As Pb Zn และ Cd ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพของตะกอนดินในแหล่งน้ำกำหนด และมีปริมาณ Ni Cu Mn และ Hg ในตะกอนดินมีค่าอยู่ในช่วง 0.3719-18.89 0.9499-45.35 0.4233-874.1 และ 0.0571-0.8387 มก./กก. น้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ซึ่งบางตัวอย่างมีค่าสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพของตะกอนดินในแหล่งน้ำกำหนด และพบว่าปริมาณของโลหะหนักทุกชนิดจากตัวอย่างน้ำผิวดินและตะกอนดินภายในพื้นที่เหมืองสูงกว่าภายนอกพื้นที่เหมือง ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างสัตว์น้ำในพื้นที่เหมืองจำนวน 15 ชนิด (ปลา 13 ชนิด กุ้ง 1 ชนิด และหอย 1 ชนิด) พบปริมาณ As Mn Ni Cu และ Zn ต่ำกว่ามาตรฐานการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารกำหนด และพบปริมาณ Cd Hg และ Pb ในตัวอย่างสัตว์น้ำอยู่ในช่วง <0.00009-0.6024 <0.0002-16.78 และ <0.0006-1.358 มก./กก. น้ำหนักเปียก ตามลำดับ ซึ่งบางตัวอย่างมีค่าสูงกว่ามาตรฐานการปนเปื้อนโลหะหนักในอาหารกำหนด จากการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพบว่าการบริโภคสัตว์น้ำบางชนิดในพื้นที่เหมืองมีความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว โดย Hazard Quotient (HQ) ของการได้รับ As Cu Mn และ Hg จากหอยเชอรี่มีค่ามากกว่า 1 และค่า HQ ของการได้รับ Hg จากกุ้งฝอย ปลาแขยงข้างลาย ปลาซิว และปลาหมอมีค่ามากกว่า 1 และมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจาก As หากบริโภคหอยเชอรี่เป็นระยะเวลานาน สำหรับการประเมินค่าความเสี่ยงของสารไม่ก่อมะเร็งโดยรวม (Hazard Index; HI) พบว่าหอยเชอรี่ ปลาหมอ ปลาแขยงข้างลาย ปลาซิว และกุ้งฝอย มีค่า HI เท่ากับ 13 7.6 4.8 3.4 และ 2.2 ตามลำดับ ดังนั้นหากบริโภคในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อบริโภคสัตว์น้ำเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน
Other Abstract: The concentrations of As Hg, Pb, Mn, Ni, Cu, Zn and Cd in surface water, sediments and aquatic animals from the area of gold mine at Phichit province were investigated in order to evaluate health risk of local people from fish ingestion exposure. The samples were collected 3 times from ponds inside the area of gold mine during August 2015, November 2015 and February 2016, and outside area on November 2016. All samples of water, sediments and aquatic animals were digested, and then amounts of heavy metals in samples were determinated by Inductively Coupled Plasma Optical Emission Spectrometry for Pb, Mn, Ni, Cu Zn and Cd and Atomic Absorption Spectrophotometry for As and Hg. Concentrations of As, Hg, Pb, Ni, Cu, Zn and Cd in surface water were below the maximum allowable levels of Thai standards. Concentrations of Mn in surface water ranged from 0.0055-2.079 mg/l which some samples exceeded Thai standards. Concentrations of As, Pb, Zn and Cd in sediments were below the maximum allowable levels of Canadian Sediment Quality Guidelines, whereas the concentrations of Ni, Cu, Mn and Hg exceeded the standard and ranged from 0.3719-18.89, 0.9499-45.35, 0.4233-874.1 and 0.0571-0.8387 mg/kg dry weight, respectively. The amounts of all heavy metals in surface water and sediment samples inside the area of gold mine were higher than those outside the area of gold mine. The As, Mn, Ni, Cu and Zn concentrations in 15 freshwater species (13 fishes, 1 shrimp and 1 snail) were below the maximum allowable heavy metal levels in food, whereas the concentrations of Cd, Hg and Pb exceeded the standard and ranged from <0.00009-0.6024, <0.0002-16.78 and <0.0006-1.358 mg/kg wet weight, respectively.  Based on long-term health risk assessment, the consumption of aquatic species in the area of gold mine can induce the non-carcinogenic risk from exposure. The hazard quotient (HQ) levels of As, Cu, Mn and Hg in Pomacea canaliculata were more than 1 corresponding with HQ levels of Hg in Macrobrachium lanchesteri, Mystus multiradiatus and Anabas testudineus. The long-term ingestion exposure of As in Pomacea canaliculata can induce the cancer risk. Long-term hazard indices (HI) of Pomacea canaliculata, Anabas testudineus, Mystus multiradiatus, Esomus metallicus amd Macrobrachium lanchesteri were 13, 7.6, 4.8, 3.4 and 2.2, respectively indicating the high risk from long-time ingestion exposure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60806
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.844
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.844
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787271120.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.