Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60821
Title: ระบบการจัดการของเสียสำหรับอุตสาหกรรมประเภทยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ภายในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
Other Titles: Waste management system for automobile industry in Amata Nakorn Industrial Estate
Authors: ศศิธร นิทัศน์
Advisors: มนัสกร ราชากรกิจ
ธารทิพย์ พันธ์เมธาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Manaskorn.R@Chula.ac.th
pthantip@gmail.com
Subjects: อุตสาหกรรมยานยนต์ -- การกำจัดของเสีย
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การกำจัดของเสีย
Motor vechicle industry -- Waste disposal
Automobile supplies industry -- Waste disposal
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลด้านประเภท ปริมาณ และ วิธีการจัดการของเสียที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เพื่อหาแนวทางอื่นสำหรับของเสียที่จัดการด้วยวิธีการฝังกลบ  จากข้อมูลเกี่ยวกับของเสีย 84 โรงงาน จาก 120 โรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครในปีพ.ศ. 2555 โดยข้อมูลของเสียได้จากการสำรวจพื้นที่โรงงานตัวอย่าง 5 แห่ง ร่วมกับการใช้แบบสอบถาม ร่วมกับข้อมูลจากบริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด และข้มูลจากฐานข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรม ระหว่างปีพ.ศ. 2551-2555 ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่ามีของเสียปริมาณ 270,305.34 ตัน โดยแบ่งเป็นของเสียที่จัดการด้วยวิธี 3Rs ร้อยละ 93.62 จัดการด้วยวิธีการฝังกลบ ร้อยละ 5.58 และจัดการด้วยวิธีบำบัดและการเผาทำลาย ร้อยละ 0.80 โดยงานวิจัยนี้วิเคราะห์หาแนวทางการจัดการด้วยวิธีอื่นที่สามารถลดปริมาณของเสียแต่ละประเภทที่กำจัดด้วยวิธีการฝังกลบ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่จากฐานข้อมูลปริมาณกากอุตสาหกรรมและใช้การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการลงทุนร่วมกับการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายหลักเกณฑ์เข้ามาช่วยในการตัดสินใจในการเลือกวิธีการจัดการที่มีศักยภาพและความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในการจัดการแทนวิธีการฝังกลบ ผลจากการวิเคราะห์พบว่า ของเสียประเภทแม่พิมพ์ชนิดแบบหล่อทราย มีปริมาณ 7,500 ตัน สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทดแทนทรายธรรมชาติในการทำคอนกรีต ซึ่งจะสามารถลดปริมาณการนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบได้ถึงร้อยละ 50 ของปริมาณของเสียที่จัดการด้วยวิธีฝังกลบ
Other Abstract: The researcher’s objectives are to study types and quantities of automobile industrial waste, to understand the present of automobile industrial waste management in Amata Nakorn Industrial Estate and finding proper ways to reduce waste to landfill. The waste data from 84 companies out of 120 companies in the automobile industry in the Amata Nakorn Industrial Estate were collected by interviewing the related persons with the questionnaire from 5 companies and used an internal waste database from Amata Facility Service Co.,Ltd. and waste volume database from Department of industrial work (DIW) in year 2012. The results indicated that the waste volume of automobile industries in this estate was 270,305.34 tons. 93.62% of automobile industrial wastes were recyclable waste, but the other management processes were 5.58% of disposal to landfill, 0.80% of burn for destruction and treatment. The alternative management for waste from automobile industry was analyzed by using Cost-Benefit ratio (B/C ratio) and Multi criteria Analysis (MCA) to help making decisions to choose the alternative way to be used more than disposing in landfill. B/C ratio was 1.89, Internal Rate of Return (IRR) was 2.36% and scored of multi-criteria analysis was 2.33. The analysis results showed that Sand molds with volume of 7,500 tons and can be used as a renewable natural sand to make concrete. This management will reduce the amount of waste going into landfills by up to 50%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60821
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1488
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1488
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5470387121.pdf11.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.