Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60826
Title: | การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปริมาณคาร์บอนสะสมของระบบพลังงานชีวภาพกรณีศึกษาหญ้าเนเปียร์ |
Other Titles: | Assessment of greenhouse gas emissions and carbon sequestration of bioenergy systems : case study Napier grass |
Authors: | ปภาพินท์ บางประสิทธิ์ |
Advisors: | อรทัย ชวาลภาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Orathai.C@Chula.ac.th |
Subjects: | ก๊าซเรือนกระจก พลังงานชีวมวล Greenhouse gases Biomass energy |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของระบบผลิตพลังงานชีวภาพที่ใช้หญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 เป็นวัตถุดิบ ด้วยเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิต โดยเปรียบเทียบทั้งหมด 6 กรณีศึกษา ด้วยโปรแกรม SimaPro 7.3 วิธี CML 2001 ซึ่งขอบเขตการประเมินผลครอบคลุม Cradle to Gate และทำการศึกษาปริมาณคาร์บอนที่ถูกสะสมอยู่ในพืชและในดินที่ระดับความลึก 0-30 ซม. ในแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์ ซึ่งมีแบ่งรูปแบบการใส่ปุ๋ยออกเป็น 3 รูปแบบ จากการศึกษาปริมาณคาร์บอนสะสมในดินพบว่า ปริมาณคาร์บอนสะสมในดินทั้งหมดมีแนวโน้มลดลงตามระยะเวลาที่ปลูก โดยมีอัตราการสูญเสียคาร์บอนในดินระหว่าง 3,507.4 - 5,623.1 กิโลกรัม/ไร่/ปี และผลจากการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมพบว่า กลุ่มผลกระทบที่มีความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากที่สุด คือ ศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน สาเหตุหลักเกิดการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีในกระบวนการปลูก โดยกรณีศึกษาที่ 2 ที่ใช้หญ้าเนเปียร์จากแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยส่งผลกระทบด้านศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนต่ำที่สุดคือ 0.03313 kg CO2 eq/MJ แต่ในแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์มีการลดลงของคาร์บอนในดินสูงที่สุด ในขณะที่กรณีศึกษาที่ 5 การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ที่ได้จากแปลงที่ใส่ทั้งปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ส่งผลกระทบด้านศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูงที่สุดคือ 0.15882 kg CO2 eq/MJ แต่ในแปลงปลูกหญ้ากลับมีผลกระทบต่อการลดคาร์บอนในดินต่ำที่สุด โดยเมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติพบว่าการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ในกรณีที่ 2 สามารถลดศักยภาพในการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึงร้อยละ 78 นอกจากนี้ยังมีแนวทางในการลดผลกระทบด้านการก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกหญ้าเนเปียร์ การปรับปรุงระบบการขนส่ง และการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาประยุกต์ใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและออกแบบระบบการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงสรุปได้ว่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ สามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการพัฒนาด้านพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนของประเทศไทยได้ |
Other Abstract: | This research aims to investigate the environmental impacts of the electricity production from Napier Pakchong 1 grass in Thailand different types of crops field management using Life Cycle Assessment methodology. The second part of this study aims to investigate the potential of Napier Pakchong 1 grass for soil carbon sequestration in 3 different agricultural managements. The result showed that carbon sequestration in soils tended to decrease all the time. Furthermore, the soil planting with Napier grass had a decreased soil carbon stock approximately 3,507.4 - 5,623.1 kg C/rai/yr. The LCA result was found that the global warming potential (GWP) is the most critical points in this bioenergy systems. The case study of no fertilizer application has shown the lowest environmental impact, GWP 0.03313 kg CO2 eq/MJ. Nevertheless, this plantation leads to the highest of soil organic carbon loss. And the case study of using both organic and chemical fertilizer has shown the highest environmental impact, GWP 0.15882 kg CO2 eq/MJ. But, this plantation leads to the lowest of soil organic carbon loss. When this bioenergy system and Thai natural gas power plant were compared, electricity production from Napier grass (no fertilizer application) was shown 78% of GWP reduction. Recommendations for environmental mitigation consist of choosing best practice for farm management, improving transportation and using Geographic Information System (GIS) for operational planning. Therefore, the bioenergy system from Napier grass could be one of sustainable ways to produce energy in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60826 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.12 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.12 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5570274021.pdf | 8.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.