Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60885
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
Other Titles: Factors associated with metabolic syndrome in HIV-infected persons
Authors: พนิต ทองพูล
Advisors: ชาญกิจ พุฒิเลอพงศ์
อลิศรา แสงวิรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: โรคเอดส์ -- ผู้ป่วย -- ภาวะแทรกซ้อน
AIDS (Disease) -- Patients -- Complications
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ณ โรงพยาบาลตำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมการวิจัย 292 ราย โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 64 อายุเฉลี่ย 45.6 ± 8.5 ปี พบความชุกในการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกร้อยละ 24.8 โดยมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก ได้แก่ เพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง 7.1 เท่า (p<0.001) อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก 2.2 เท่า (p=0.016) ระยะเวลาในการใช้ยาต้านไวรัสมากกว่า 84 เดือน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก 2.4 เท่า (p=0.006) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยควบคุมระยะเวลาในการได้รับยาต้านไวรัสนาน 5 ปี พบปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก ได้แก่ เพศชายมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง 5.3 เท่า (p=0.009) อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก 2.4 เท่า (p=0.035) ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก 2.8 เท่า (p=0.012) โดยกลุ่มตัวอย่างที่เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกมีความเสี่ยงต่อความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงมากกว่าผู้ที่มีไม่เกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิก 9.6 เท่า (p=0.031) ผลการศึกษานี้แสดงในเห็นว่า นอกจากปัจจัยที่ใช้ในการวินิจฉัยการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกตามเกณฑ์ของ NCEP ATP III 5 ปัจจัย ยังพบว่า เพศชาย อายุที่มากขึ้น ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงขึ้น และระยะเวลาในการใช้ยาต้านไวรัสที่นานขึ้น ทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรมีการวางแผนเฝ้าระวังการเกิดกลุ่มอาการเมตาบอลิกในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีปัจจัยข้างต้นนี้ เพื่อเป็นวางแผนป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อไป
Other Abstract: The purpose of this retrospective analytical study was to determine the factors associated with metabolic syndrome in HIV-infected patients at Police General Hospital. Two hundred and ninety-two subjects were included. Sixty-four percent were male gender, average age was 45.6 ± 8.5 years. All of subjects were antiretroviral therapy-experienced. Overall prevalence of metabolic syndrome was 24.8 percent. Significant risk factors for metabolic syndrome from multivariate analyses included male (odds ratio; OR 7.1, p<0.001), age ≥ 45 years (OR 2.2, p=0.016) and duration of antiretroviral therapy over 84 months (OR 2.4, p=0.016). When duration of antiretroviral therapy was controlled at 5 years after started antiretroviral therapy, significant risk factors for metabolic syndrome included male gender (OR 5.3, p=0.009), age ≥ 45 years (OR 2.4, p=0.035) and cholesterol level over 200 mg/dL (OR 2.8, p=0.012). Subjects with metabolic syndrome had more risk of cardiovascular disease (OR 9.6, p=0.031). From this study, can be concluded that metabolic syndrome was common in HIV-infected patients received antiretroviral drug. As HIV-infected patients are male, become older, high cholesterol and longer duration of antiretroviral therapy, early screening and intervention should be done to reduce metabolic syndrome and cardiovascular-related morbidities and mortalities in long-term care.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60885
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.93
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.93
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5776118033.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.