Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60953
Title: การวิเคราะห์ผลึกของสารประกอบเคมีที่ใช้เป็นวัตถุระเบิดด้วยภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์แบบแสงโพลาไรซ์
Other Titles: Analysis of explosive chemical compound crystal using image from polarized light microscope
Authors: สุพัตรา สัชนา
Advisors: นฤมล สุวรรณจันทร์ดี
สมฤทธิ์ วงศ์มณีโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: วัตถุระเบิด -- การตรวจหา
กล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์
Polarizing microscopes
Explosives -- Detection
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กล้องจุลทรรศน์แบบแสงโพลาไรซ์ (polarized light microscope) ในการศึกษาสมบัติเชิงแสงของสารแอมโมเนียมไนเตรทและโพแทสเซียมไนเตรทมาตรฐาน โดยการถ่ายภาพโพลาไรซ์ของแต่ละสารตัวอย่างที่เตรียมด้วยวิธีการหลอมสารเคมีแล้วปล่อยให้เย็นตัว ภาพโพลาไรซ์ที่ได้จากเงื่อนไขการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจะมีคุณภาพ และไม่มีฟองอากาศ เหมาะสำหรับนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงโพลาไรซ์ ภาพโพลาไรซ์มีสีของการแทรกสอดที่หลากหลายเกิดจากความหนาที่แตกต่างกัน สามารถหาความหนาของผลึกสารในแต่ละบริเวณที่มีสีแตกต่างกันได้จากการใช้ตัวหน่วง (retarder) และแผนภาพของมิเชล-เลวี่ (Michel-Lévy Chart) รูปแบบภาพโพลาไรซ์ของสารแอมโมเนียมไนเตรทและโพแทสเซียมไนเตรทมาตรฐานมีความแตกต่างกันโดยแอมโมเนียมไนเตรทมีลักษณะเกรนที่ซับซ้อนกว่าโพแทสเซียมไนเตรท การใช้เครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ (X-Ray Diffraction) ศึกษาระบบผลึกของสารเคมีพบว่าระบบผลึกของสารเคมีที่อุณหภูมิห้องก่อนและหลังหลอมไม่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ได้นำสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิดที่เก็บได้จากสถานที่เกิดเหตุมาวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงโพลาไรซ์ พบว่าสามารถใช้ภาพโพลาไรซ์ของสารเคมีมาตรฐานเป็นมาตรฐานเพื่อเปรียบเทียบกับภาพโพลาไรซ์ของสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิดจากสถานที่เกิดเหตุในการระบุชนิดสารเคมีสองชนิด คือ แอมโมเนียมไนเตรท และโพแทสเซียมไนเตรท ที่ใช้เป็นส่วนผสมของวัตถุระเบิดได้ แม้ว่าสารเคมีจากสถานที่เกิดเหตุจะมีการปนเปื้อนแต่ไม่ส่งผลต่อภาพโพลาไรซ์
Other Abstract: The objectives of this research is to study the optical properties of standard ammonium nitrate and potassium nitrate by using the polarized light microscope (PLM). The polarized images of the surface of each sample prepared by fusion method have been taken using PLM. The polarized images of the sample with rapid cooling down have good quality and no bubbles, and are suitable to analyze by the polarized light microscope. The various interference colors of polarized images are caused by a variety of different thickness. The thickness of each area that has different color can be estimated by using retarder and the Michel-Lévy chart. The polarized images of both chemical compounds show different grain patterns, the grain patterns of ammonium nitrate are more complicated than potassium nitrate. X-Ray Diffraction (XRD) is used to study the crystal system of chemical compounds. The crystal system of chemical compounds does not change at room temperature before and after fusion process. In addition, explosive compounds collected from the crime scene are analyzed by polarized light microscope. The polarized images of chemical standards are set as standard to compare with the polarized images of explosive compounds from crime scene which are identified two explosive compounds; ammonium nitrate and potassium nitrate. Although the explosive compounds are contaminated, but they do not affect the polarized images.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60953
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.852
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.852
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5572151823.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.