Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61027
Title: ผลของกากไคทินจากฤดูปลูกแรกต่อผลผลิตของผักกาดหอม Lactuca sativa L. ในฤดูปลูกที่สอง
Other Titles: Effects of chitin-rich residue from the first crop season on growth and productivity of lettuce Lactuca sativa L. during the second crop season
Authors: ภัทรพล พลูพัฒน์ธนกิจ
Advisors: กนกวรรณ เสรีภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: Chitin
Plant growth promoting substances
ไคติน
สารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กากไคทินเป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรตธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการดีอะซิทิเลชัน (deacetylation) ของไคทินในการผลิตไคโทซาน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของกากไคทินจากเปลือกกุ้งต่อผลผลิตและการเติบโตของผักกาดหอม (Lactuca sativa L.) 2 ฤดูปลูก โดยวัดผลผลิตของผักกาดหอม ได้แก่ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง จำนวนใบต่อต้น และเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น รวมทั้งวัดความเขียว (SPAD) ปริมาณคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ สารประกอบฟีนอลรวม กรดแอสคอร์บิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผักที่ให้กากไคทินเปรียบเทียบกับชุดการทดลองควบคุมที่ให้ปุ๋ยคอกอย่างเดียว และศึกษาผลของกากไคทินในฤดูปลูกที่สองที่คงเหลือในดินจากฤดูปลูกแรก จากการทดลอง พบว่า ผักกาดหอมที่ได้รับกากไคทินมีผลผลิต ได้แก่ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง จำนวนใบต่อต้น และเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทั้ง 2 ฤดูปลูก อีกทั้งมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณคลอโรฟิลล์ แคโรทีนอยด์ สารประกอบฟีนอลรวม กรดแอสคอร์บิก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในฤดูปลูกที่สองเมื่อเทียบกับชุดการทดลองควบคุม ดังนั้น กากไคทินที่ให้กับพืชสามารถกระตุ้นการเติบโตของผักกาดหอมได้อย่างน้อย 2 ฤดูปลูก
Other Abstract: Chitin–rich residue (CRR), a natural polysaccharide derived from deacetylation process of chitosan production from chitin. Effects of CRR on growth and productivity of lettuce (Lactuca sativa L.) were investigated during two crop seasons. Growth, yield and some physiological characteristics including chlorophyll content, carotenoid content, SPAD, total phenolic compounds, ascorbic acid and antioxidant activity of CRR treated lettuce were determined in comparison with control plant with only cow manure addition. During the second crop, a remained CRR from the first crop was determined. Plant supplemented with CRR resulted in significant increases of chlorophyll content, carotenoid content, SPAD, phenolic compounds, ascorbic acid and antioxidant activity during the second crop and yield productivity in term of fresh weight, dry weight, leaf number and stem diameter during both crop seasons. Therefore, CRR treatment can stimulate lettuce growth for at least 2 crop seasons.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61027
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.59
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.59
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5872112623.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.