Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61046
Title: ผลกระทบของความขุ่นต่อการกำจัดเชื้ออีโคไลจากน้ำโดยกระบวนการฆ่าเชื้อโรคด้วยไฟฟ้าเคมี
Other Titles: Effect of turbidity on escherichia coli removal from water by electrochemical disinfection
Authors: ศรัญญู เอี่ยมระหงษ์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Subjects: เอสเคอริเคียโคไล
น้ำ -- การแยกสลายด้วยไฟฟ้า
Escherichia coli
Water -- Electrolysis
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดเชื้ออีโคไลจากน้ำโดยกระบวนการฆ่าเชื้อโรคด้วยไฟฟ้าเคมี โดยเปรียบเทียบขั้วอิเล็กโทรด 2 ชนิด คือ ขั้วแกรไฟต์ – แกรไฟต์ และขั้วแกรไฟต์ – ไทเทเนียม โดยใช้ถังปฏิกิริยาปริมาตร 2 ลิตร ทำการทดลองแบบทีละเทและแบบไหลต่อเนื่อง เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดเชื้ออีโคไลจากน้ำ ในการทดลองได้ทำการปรับเปลี่ยนค่าความเข้มข้นของเชื้ออีโคไล 4 ค่า ได้แก่ 2,000 4,000 6,000 และ 14,000 cfu/ml ปรับเปลี่ยนค่าความขุ่น 5 ค่า ได้แก่ 5 50 75 100 และ 150 NTU ปรับเปลี่ยนค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 3 ค่า คือ 15 20 และ 25 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร และปรับเปลี่ยนค่าความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ 3 ค่า คือ 15 25 และ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร จากผลการศึกษาพบว่าขั้วอิเล็กโทรดชนิด แกรไฟต์ - แกรไฟต์สามารถกำจัดเชื้ออีโคไลจากน้ำได้ประสิทธิภาพสูงกว่าขั้วอิเล็กโทรดชนิดแกรไฟต์ – ไทเทเนียม โดยประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้ออีโคไลจากน้ำจะเพิ่มขึ้นเมื่อค่าความเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์และค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น โดยสภาวะเหมาะสมในการกำจัดเชื้ออีโคไลทั้งหมดออกจากน้ำ คือน้ำที่มีโซเดียมคลอไรด์ 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้ค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 20 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร ใช้ระยะเวลาในการเดินระบบเท่ากับ 7 นาทีจะสามารถกำจัดเชื้อ อีโคไลที่มีความเข้มข้นต่ำกว่า 6,000 cfu/ml และค่าความขุ่นไม่เกิน 75 NTU สำหรับการทดลองแบบทีละเท หลังจากนั้นจึงนำสภาวะดังกล่าวไปทำการทดลองแบบไหลต่อเนื่องโดยใช้ค่าความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 20 มิลลิแอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตรและระยะเวลาเก็บกัก 14 นาที จะสามารถกำจัดเชื้ออีโคไลทั้งหมดออกจากน้ำได้
Other Abstract: This research was aimed to study the E.coli removal from water by electrochemical disinfection. The experiment were conducted in 2-L batch and continuous reactor. Two pairs of electrodes namely: graphite - graphite and graphite- titanium were used to compare the E.coli removal efficiency. The E.Coli to a density was tested at 2,000 4,000 6,000 and 14,000 cfu/ml. The turbidity was varied from 5 to 150 NTU. The current density was varied from 15 to 25 mAmp/cm2 while NaCl was varied from 15 to 50 mg/l. The result showed that electrochemical system using graphite-graphite electrodes can achieved highest removal efficiency. At complete E.coli removal efficiency, such condition was using NaCl 50 mg/l, current density of 20 mAmp/cm2 and reaction time of 7 minutes, such condition can completely remove E.Coli density of 6,000 cfu/ml at turbidity of 75 NTU. For the electrochemical system that feed continuously with synthesis water contained E.Coli density of 6,000 cfu/ml was also tested at current density of 20 mAmp/cm2, detention time at 14 minutes. The result showed that at detention time of 14 minutes, E.Coli could be removed completely.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61046
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1619
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1619
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranyu Aiemrahong .pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.