Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61052
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวีณา เชาวลิตวงศ์-
dc.contributor.authorมนสุภี เวทีกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-07T08:04:34Z-
dc.date.available2018-12-07T08:04:34Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61052-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงการวางผังโรงงานสำหรับการเพิ่มสายการผลิตชุดบังคับเลี้ยวล้อหน้า เพื่อรองรับการสั่งผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า การดำเนินงานวิจัยได้ใช้วิธีการวางผังโรงงานอย่างเป็นระบบ (The Systematic Layout Planning, SLP) ในการวางผังโรงงานทางเลือก และได้นำเสนอขั้นตอนวิธีการในการเลือกผังโรงงานด้วยวิธีการวิเคราะห์ปริมาณงานระหว่างกระบวนการผลิตตามทฤษฎีของ Little’s Law ร่วมกับวิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analysis Hierarchy Process, AHP) ซึ่ง Little’s Law ให้ผลการวิเคราะห์เลือกกระบวนการที่มีปริมาณงานระหว่างกระบวนการผลิตน้อย นับเป็นความสำเร็จของอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ด้วยการขจัดความสูญเปล่าตามหลักการผลิตแบบทันเวลาพอดี สำหรับการนำ AHP มาประกอบการพิจารณาเนื่องจากต้องการให้ผู้บริหารและผู้มีส่วนรับผิดชอบในพื้นที่ของโรงงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยการสำรวจความคิดเห็นและได้กำหนดปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผังโรงงานจากคะแนนที่มีค่ามากกว่า 80% ซึ่งมีทั้งหมด 4 ปัจจัย คือ การไหลของวัสดุที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนของผังโรงงาน ระยะทางในการขนย้ายวัสดุและการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ตามลำดับความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่าผังโรงงานที่ได้ทำการคัดเลือกให้ปริมาณงานระหว่างกระบวนการผลิตต่ำสุด และค่าน้ำหนักคะแนนจากวิธีกระบวนการ ลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์สูงสุด แต่ต้องมีการพิจารณาและประยุกต์ใช้ร่วมกับข้อจำกัดของผังโรงงานปัจจุบัน ทำให้ผังโรงงานใหม่ที่ได้ทำการปรับปรุงเมื่อเทียบกับผังโรงงานปัจจุบันมีปริมาณงานระหว่างกระบวนการผลิตเพิ่มขึ้น 41.6% แต่ระยะทางและเวลาการไหลของวัสดุโดยรวมลดลง 63.1% และ 55.6% จากผังโรงงานปัจจุบันตามลำดับ และสามารถรองรับกับยอดการสั่งผลิตภายในอีก 3 ปีข้างหน้าได้en_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to analyze and improve plant layout for installing of new front-axle production line in order to support the expansion of production volume in the next three years. The system layout planning (SLP) has been applied to develop alternatives of plant layout design. Considering and analyzing criteria by applies Little’s Law theory approach with analysis hierarchy process (AHP). Little’s Law theory is applied to analyze minimum work in process, which is the key to succeed in automotive industries. It also helps to eliminate waste. Which lead to constant production follow just-in-time concept. Then analysis hierarchy process (AHP) is considered to include management and responsible person idea in decision-making process. Research can define related decision criteria to evaluate the best alternative which is scored greater than 80%. There are 4 criterias, the material flow performance is determined as the most relative importance, the second is cost of plant layout. The third is distance of material logistic, and utilizing plant area in respectively. In this research, the best alternative is showed as the minimum work in process and the highest score of analysis hierarchy process. According to current plant layout limitation, work in process increases 41.6%, distance of material logistic and material flow performance decrease 63.1% and 55.6% respectively. So be able to match required capacity in the next three years.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.2192-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์en_US
dc.subjectการวางผังโรงงานen_US
dc.subjectการวางแผนการผลิตen_US
dc.subjectAutomobile supplies industryen_US
dc.subjectPlant layouten_US
dc.subjectProduction planningen_US
dc.titleการปรับปรุงผังโรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์en_US
dc.title.alternativePlant layout improvement of an automotive parts factoryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPaveena.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.2192-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monsupee Wateekul.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.