Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61061
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญชลี เฉียบฉลาด-
dc.contributor.authorณัฐกานต์ หนูรุ่น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-12T03:48:26Z-
dc.date.available2018-12-12T03:48:26Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61061-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีความสำคัญในเมืองไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเกิดโรคแทรกซ้อนตามมามากมายจนอาจเสียชีวิตได้ จากการศึกษาฤทธิ์ของใบเตยหอม (Pandanus amaryllifolius Roxb.) ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยวิธี Standard Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีและระดับน้ำตาลในเลือดปกติจำนวน 30 ราย เปรียบเทียบระดับน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มที่ไม่ดื่ม (control) และดื่มชาเตยหอม (test) ปริมาณ 30 มิลลิกรัม ในน้ำ 300 มิลลิลิตร พบว่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสูงสุดในกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง คือ 125 ±17.66 และ 111 ± 14.16 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ตามลำดับ ซึ่งมีระดับลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เพื่อศึกษากลไกในการลดน้ำตาลในเลือด ได้นำใบเตยหอมมาสกัดสาร 4 รูปแบบด้วยกันคือ ใบเตยหอมสดที่สกัดด้วยน้ำกลั่นที่ 90 องศาเซลเซียส (method 1) ใบเตยหอมสดที่สกัดด้วยน้ำกลั่นที่ 25 องศาเซลเซียส (method 2) ใบเตยหอมแห้งที่สกัดด้วยน้ำกลั่นที่ 90 องศาเซลเซียส (method 3) ใบเตยหอมแห้งที่สกัดด้วยเอทานอล (method 4) ได้พบว่า สารสกัดใบเตยหอมทั้ง 4 รูปแบบมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase โดยพบว่าสารสกัดใบเตยหอม method 3 และ 4 มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการทำงานของตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินเพิ่มขึ้นในรูปแบบ dose dependent โดยมีค่าแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) และสารสกัด method 2 มีแนวโน้มในการกระตุ้นการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของสารฟินอลิกและฟลาโวนอยด์โดยสารที่สกัดด้วยวิธีแตกต่างกันจะให้สารทั้งสองที่แตกต่างกันโดยตัวทำละลายเอทานอลให้สารฟินอลิกและฟลาโวนอยด์สูงสุด และเมื่อศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของตัวทำละลายต่างๆกันพบว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระแปรผันตามสารฟินอลิกที่เพิ่มขึ้น จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการนำเตยหอมไปใช้เป็นยารักษาโรคต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeDiabetes Mellitus is one of the leading chronic diseases in Thailand and all over the world. In the patients who have poor glycemic control, high blood glucose level may lead to other life threatening complications. This study tried to examine the effect of crude extract from Pandanus amaryllifolius Roxb. (PA) leaf, which is found locally in Thailand, on blood glucose level and the hypoglycemic mechanism. Thirty healthy volunteer were asked to drink (test - group) or not drink (control group) PA tea 15 minutes after glucose load (75 g) in standard OGTT. We found that the average of blood glucose level in control group is 125 ± 17.66 mg/dl, while in test – group is 111 ± 14.16 mg/dl. The level of blood glucose in both groups are statistically different (P<0.001). To study hypoglycemic mechanism four methods of PA extracts were prepared; method 1 is fresh PA extracted with distilled water at 90 ºC, method 2 is fresh PA extract with distilled water at 25 ºC, method 3 is dry PA extract with distilled water at 90 ºC and method 4 is dry PA extract with ethanol. We found that PA extract, all methods, can inhibit α-glucosidase enzyme. Methods 2 and 3 can induce rat pancreatic cell (RINm5F) to produce insulin with dose - dependent manner (P < 0.05). Method 2 can stimulate glucose uptake of muscle cell (L6). Moreover, study of the amount of phenolic and flavonoid compounds found that the extraction with ethanol give the highest amount of those two compounds, and the capacity of antioxidant scavenging depends on the amount of phenolic and flavonoid compounds. The knowledge of this research can be used as a guideline to discover a new drug to treat the diabetes patient.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1623-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเบาหวานen_US
dc.subjectน้ำตาลในเลือดen_US
dc.subjectสารสกัดจากพืชen_US
dc.subjectDiabetesen_US
dc.subjectBlood sugaren_US
dc.subjectPlant extractsen_US
dc.titleผลของสารสกัดใบเตยหอมต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดen_US
dc.title.alternativeHypoglycemic effect of pandanus amaryllifolius roxb.leaf extracten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAnchalee.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1623-
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattakarn Nooron.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.