Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศุภลักษณ์ พินิจภูวดล-
dc.contributor.authorวิทวัส โรจน์รังสีธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-12-24T04:24:23Z-
dc.date.available2018-12-24T04:24:23Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61086-
dc.descriptionเอกัตศึกษา(ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560en_US
dc.description.abstractประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้น นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยราคาขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์นั้นต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิทางบัญชี (Net Asset Value หรือ NAV) หารด้วยจำนวนหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้ไม่ว่าบริษัทนั้นจะมีอสังหาริมทรัพย์หรือไม่มีอสังหาริมทรัพย์ในการครอบครอง อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นยังมีความไม่เหมาะสมในหลายประการ เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขาย หุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนศึกษากฎหมายของประเทศฟิลิปปินส์และ ประเทศอินเดียที่มีการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำ แนวทางของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินเดียมาปรับใช้ โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นอาศัย การวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขาดความเหมาะสมในด้านความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์การจัดเก็บ ภาษีเงินได้จากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งขาดการปรับปรุงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ก่อน การคำนวณภาษีจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ อีกทั้งมีการถ่ายโอนกำไรจากการขายหุ้น ระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีอากรในประเทศไทย ซึ่งปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อนักลงทุนหรือผู้ใช้กฎหมายที่อาจขาดความมั่นใจในการเข้ามาลงทุนใน ประเทศไทยอย่างไรก็ตาม จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น หลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรกำหนดข้อกฎหมายให้มีความชัดเจน แน่นอนและกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ให้มีความเหมาะสม นอกจากนี้ควรปรับปรุงมูลค่าที่แท้จริงของอสังหาริมทรัพย์ด้วยราคาประเมินของ กรมธนารักษ์ก่อนการคำนวณภาษีจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์โดยนาแนวทางในการจัดเก็บ ภาษีจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินเดียมาปรับใช้ อีกทั้ง ภาครัฐควรมีมาตรการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับต่างประเทศเพื่อป้องกันการถ่ายโอนกาไรจากการขายหุ้น ระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อประโยชน์และความยุติธรรมต่อการจัดเก็บภาษีอากรต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2017.20-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์en_US
dc.subjectหุ้นและการเล่นหุ้นen_US
dc.titleปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของบริษัทซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในการครอบครองen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSupalak.P@Chula.ac.th-
dc.subject.keywordการขายหุ้นen_US
dc.subject.keywordการเก็บภาษีเงินได้en_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2017.20-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
598 62471 34.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.