Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61143
Title: ผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ที่ให้ทางปากต่อแผลเปิดในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวาน
Other Titles: Effect of orally given standardized extract of centella asiatica eca 233 on excision wound in diabetic rats advisor
Authors: ทอแสง วีระกุล
Advisors: มยุรี ตันติสิระ
บุญยงค์ ตันติสิระ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Mayuree.T@Chula.ac.th
Boonyong.T@Chula.ac.th
Subjects: บัวบก
สารสกัดจากพืช
บาดแผลและบาดเจ็บ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 (อีซีเอ 233) ที่ให้ทางปาก ต่อการหายของแผลเปิดในหนูแรทที่เป็นเบาหวาน โดยใช้หนูแรทพันธุ์ Wistar เพศผู้ น้ำหนัก 250-300 กรัม เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานโดยใช้ streptozotocin (STZ) ในขนาด 50 มก/กก น้ำหนักตัว ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำที่หางหนูแรท ภายหลังจากเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเบาหวานเป็นเวลา 7 วันแล้ว ผ่าตัดสัตว์ทดลองเพื่อให้เกิดแผลเปิดบริเวณหลังขนาด 2.0x2.0 ซม แล้วให้อีซีเอ 233 ขนาด 5, 10, 30 และ 60 มก/กก น้ำหนักตัว/วัน โดนละลายอีซีเอ 233 ในน้ำกลั่นปริมาตร 100 มล และให้หนูดื่มสารละลายดังกล่าวภายในเวลา 8 ชม ประเมินผลของสารทดสอบในวันที่ 3, 7, 14 และ 21 หลังการเหนี่ยวนำให้เกิดแผลเปิด จากลักษณะภายนอกของแผล อัตราการหายของแผล วัดการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง ปริมาณ collagen และปริมาณ malondialdehyde (MDA) รวมทั้งวิเคราะห์พยาธิจุลกายวิภาคศาสตร์ของแผล นอกจากนั้นยังวัดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของหนูเบาหวาน ในทุกวันที่ประเมินการหายของแผล ผลการวิจัยพบว่า อีซีเอ 233 ในขนาดต่างๆ ที่ให้ทางปากนั้น ไม่มีผลเร่งการหดตัวของแผลเปิดในหนูแรทที่เป็นเบาหวานอย่างชัดเจน โดยในวันที่ 21 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในการประเมินการหายของแผล พบว่าบริเวณบาดแผลของทุกกลุ่มการทดลองจะปรากฏผิวหนังขึ้นมาทดแทนจนเกือบสมบูรณ์ คงเหลือเพียงรอยแผลสี่เหลี่ยมขนาดเล็กๆแต่เมื่อวิเคราะห์ถึงพยาธิจุลกายวิภาคศาสตร์พบว่ากลุ่มที่ได้รับ อีซีเอ 233 ขนาดต่างๆ นั้นจะมีลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบของผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนดีกว่าในกลุ่มควบคุม โดยในชั้น dermis จะพบขุมขนและ collagenous fibers เป็นจำนวนมาก ซึ่ง อีซีเอ 233 ขนาด 30 มก/กก น้ำหนักตัว จะช่วยให้ผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นใหม่นั้นมีโครงสร้างที่ดีกว่าผิวหนังในกลุ่มควบคุมและกลุ่มเบาหวานที่ไม่ถูกทำให้เกิดแผล เมื่อศึกษาผลของ อีซีเอ 233 ต่อปัจจัยต่างๆ ที่มีผลช่วยในการหายของแผล เช่น การไหลเวียนเลือดที่ผิวหนัง ปริมาณ collagen และปริมาณ MDA พบว่า อีซีเอ 233 สามารถลดปริมาณ MDA (วันที่ 3หลังจากผ่าตัดให้เกิดแผลเปิด) เพิ่มค่าเฉลี่ยร้อยละของปริมาณการไหลเวียนเลือดที่ผิวหนังและเพิ่มปริมาณ collagen ที่บริเวณแผล (วันที่ 14 หลังจากผ่าตัดให้เกิดแผลเปิด) ได้แตกต่างจากกลุ่มที่ไม่ได้รับอีซีเอ 233 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินอกจากนั้นยังพบว่า อีซีเอ 233 ขนาด 5, 30 และ 60 มก/กก น้ำหนักตัว มีฤทธิ์ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของหนูเบาหวานได้อีกด้วย โดยสรุปงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า อีซีเอ 233 ที่ให้ทางปากแก่หนูเบาหวานไม่ช่วยเร่งการหดตัวของแผลเปิด แต่ช่วยให้โครงสร้างของผิวหนังที่สร้างขึ้นใหม่นั้นมีความสมบูรณ์และมีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้สารสกัดดังกล่าวยังมีผลชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดในหนูเบาหวาน อีกด้วย
Other Abstract: The present study aimed to investigate effects of orally given standardized Centella asiatica extract ECa 233 (ECa 233) on excision wound in diabetic rats. Diabetes was induced in male albino Wistar rats weighing between 250-300 g by an intravenous injection of streptozotocin (50 mg/kg body weight). Excision wound (2.0 x 2.0 cm) was made on the back of animals at 7th days after the induction. ECa 233, at the dose of 5, 10, 30 and 60 mg/kg body weight/day, dissolved in 100 ml distilled water were given to animals as drinking water for their consumption within 8 hours. Assessment of effect of the test compounds in terms of general appearance of the wound, wound healing rate, cutaneous blood flow, collagen content, malondialdehyde (MDA) content was made on day 3, 7, 14 and 21 after wound induction. In addition their respective blood sugar level was also determined. The results demonstrated that orally given ECa 233 did not affect wound contraction as almost complete wound healing was observed in all treatment groups. However significant changes was observed in histopathological evaluation in which abundant hair follicles, higher density of collagen tissue and some other skin structure were more prominent in rats receiving ECa 233 than those without treatment indicating positive effects of ECa 233 in regenerating skin structure. Furthermore, lower MDA content was observed at day 3 and cutaneous blood flow and collagen content at the wound site were found to be significantly increased at day 14 were observed in some but not all ECa 233 treated groups. These findings may in part account for or related to positive effects on skin structure. In addition, it was found that orally given ECa 233 at the doses of 5, 30 and 60 mg/kg body weight could attenuate elevation of blood sugar in streptozotocin-induced diabetic rats. In conclusion, the present study demonstrated positive effects of orally given ECa 233 on improving skin structure of wound in terms of increased density of hair follicle and collagen content of excision wound, though, no significant effect on wound contraction rate was noted. Additionally, ECa 233 was found to be able to attenuate the rising of blood sugar level in streptozotocin-induced diabetic rats.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61143
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1647
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1647
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thorsang Weerakul.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.