Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6127
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สินรอการขาย : กรณีศึกษาที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์
Other Titles: Decision making factors of purchasing non-performing asset housing : a case study on non-performing asset housing of the Government Housing Bank
Authors: สมลักษณ์ ศาสตร์ประสิทธิ์
Advisors: เสาวลักษณ์ เลิศบุศย์ สุรพลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saowaluck.Su@Chula.ac.th
Subjects: การซื้อบ้าน
ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบริหารงานทรัพย์สินรอการขาย (NPA) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในภาวะที่มีการแข่งขันสูงนั้น ว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใครและพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของสถาบันการเงินอย่างไร ปัจจัยใดมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ เลือกซื้อของกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้มากที่สุด เพื่อที่จะได้นำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อจะได้บริหารงานทรัพย์สินรอการขายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ระบบการเงินที่มีไว้ช่วยเหลือและสนองนโยบายรัฐบาลในด้านที่อยู่อาศัยจะได้มีมาหมุนเวียนให้แก่ผู้ที่ต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในระบบต่อไป รวมถึงทรัพย์สินรอการขายยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง วัตถุประสงค์การวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาการตัดสินใจ เลือกซื้อของผู้ซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยมีสมมติฐานที่ว่าปัจจัยทางด้านสินเชื่อมีผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารสงเคราะห์มากกว่าปัจจัยด้านอื่นๆ ทรัพย์สินรอการขายที่เป็นบ้านมือสองที่มีการอยู่อาศัยแล้วถูกเลือกซื้อมากกว่าทรัพย์สินรอการขายที่เป็นบ้านมือสองใหม่ยังไม่เคยมีการอยู่อาศัย และทำเลที่ตั้งของทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่เลือกซื้อมีความสัมพันธ์กับทำเลที่อยู่อาศัยเดิมของผู้เลือกซื้อ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นกลุ่มเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ตั้งแต่ 1 ก.ค. 44 - 30 มิ.ย 45 จำนวน 784 ราย ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มประชากรที่เลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อแล้วจำนวน 152 ราย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มประชากรที่เลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ แต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อเพราะอยู่ในโครงการพิเศษผ่อนดาวน์ 24เดือน โดยไม่มีดอกเบี้ย กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 632 ราย ส่วนพื้นที่ที่ทำการศึกษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การรวบรวมข้อมูลนั้นใช้ทั้งข้อมูลทุติยภูมิ และการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กับประชากรกลุ่มที่ 1 และส่งแบบสอบถามอย่างเดียวสำหรับประชากรกลุ่มที่ 2 ซึ่งการส่งแบบสอบถามได้ส่งทางไปรษณีย์ให้ประชากรจำนวนทั้งหมด 632 ราย เพราะไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะได้รับการตอบรับจากรายใดบ้าง และแบบสอบถามที่สามารถนำมาได้ทั้งหมดสำหรับประชากรกลุ่มที่ 1 จำนวน 106 รายคิดเป็นร้อยละ 96 ของประชากรที่ต้องการ 110 ราย และกลุ่มที่ 2 จำนวน 250 ราย คิดเป็นร้อยละ 102 ของประชากรที่ต้องการ (245 ราย) ผลของการวิจัยมีสาระสำคัญดังนี้ การเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นทรัพย์รอการขายของประชากรทั้ง 2 กลุ่มนั้น พบว่ามีลักษณะทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจไม่แตกต่างกัน เป็นลักษณะของผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะซื้อบ้านและขอสินเชื่อได้ การครอบครองบ้านหลังเดิมจะเป็นเจ้าของบ้านแล้วขายไปเพื่อเป็นทุนมาซื้อบ้านใหม่และเช่าอยู่ วัตถุประสงค์ในการซื้อบ้านหลังที่เป็นทรัพย์สินรอการขายจำเป็นเพื่อการอยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ การเป็นเจ้าของเดิมแล้วตีทรัพย์ชำระหนี้หรือบังคับคดีมีน้อยมาก การชำระเงินจะกู้จากธนาคารเต็มวงเงินที่ธนาคารให้ จากการศึกษายังพบว่าก่อนจะมาซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นทรัพย์สินรอการขายมักจะเลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายที่เป็นบ้านมือสองที่มีคนอยู่อาศัยแล้วเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจากสมมติฐานที่ว่า "ทรัพย์สินรอการขายที่เป็นบ้านมือสองที่มีการอยู่อาศัยแล้ว ถูกเลือกซื้อมากกว่าทรัพย์สินรอการขายที่เป็นบ้านมือสองใหม่ยังไม่เคยมีการอยู่อาศัย" จึงเป็นไปตามนั้น ส่วนเขตพื้นที่ที่กลุ่มประชากรเลือกซื้อทรัพย์ที่อยู่อาศัยที่เป็นทรัพย์สินรอการขายนั้นพบว่าไปสัมพันธ์กับเขตพื้นที่ของที่อยู่อาศัยตนเองอยู่เดิม และทำเลที่เป็นที่นิยมและเลือกซื้อมากที่สุดคือ กรุงเทพฯ ตอนเหนือและกรุงเทพฯ ตอนตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออก ตามลำดับ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า "ทำเลที่ตั้งของทรัพย์สิน (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เลือกซื้อมีความสัมพันธ์กับทำเลที่อยู่อาศัยเดิมของผู้เลือกซื้อ" จึงเป็นจริง การหาข้อมูลเพื่อเลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารนั้น อันดับแรกคือ การติดต่อโดยตรงกับฝ่ายบริหารทรัพย์สินของธนาคาร อันดับสองคือ ป้ายหน้าบ้านที่ประกาศขายไว้ และอันดับสามคือ ป้ายแสดงสินค้าของธนาคารฯ การใช้เวลาในการตัดสินใจเพื่อเลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายนั้นส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รองลงมาประชากรทั้ง 2 กลุ่มที่มีการตัดสินใจที่ต่างกันพบว่าประชากรกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นกลุ่มที่โอนกรรมสิทธิ์แล้วโดยไม่มีโครงการพิเศษใดจะใช้เวลา 2-3 เดือน หรือมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป แต่สำหรับประชากรกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์อยู่ในโครงการพิเศษผ่อนชำระดาวน์ 24 เดือน โดยไม่เสียดอกเบี้ยจะใช้เวลาตัดสินใจมากกว่า 3 เดือนขึ้นไปน้อยที่สุด แสดงถึงการมีโครงการพิเศษของธนาคารนั้นทำให้กลุ่มลูกค้าที่เลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายตัดสินใจเร็วขึ้นกว่าเดิม ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชากรทั้ง 2 กลุ่มนี้ พบว่าประชากรกลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มประชากรที่เลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารณ และได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเมื่อเลือกซื้อที่อยู่อาศัยที่เป็นทรัพย์สินรอการขายคือปัจจัยทางด้านการเงิน และสิ่งที่คำนึงถึงมากที่สุดคือเรื่องของราคาที่เหมาะสมและถูกกว่า รองลงมาจะเป็นปัจจัยด้านสินเชื่อ และสิ่งที่คำนึงถึงคือการได้ใช้สินเชื่อของธนาคารอาคารสงเคราะห์รวมถึงการได้ถึงร้อยละ 90 ของราคาประเมิน ส่วนประชากรกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มประชากรที่เลือกซื้อทรัพย์สินรอการขายของธนาคารฯ แต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์เป็นของผู้ซื้อเพราะอยู่ในโครงการพิเศษผ่อนดาวน์ 24 เดือนกับธนาคารฯ ปัจจัยสินเชื่อเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจมากที่สุดและสิ่งที่คำนึงเป็นสิ่งแรกจะเป็นเรื่องของการได้ผ่อนชำระเงินดาวน์นานโดยไม่เสียหายดอกเบี้ย รองลงมาเป็นปัจจัยด้านการเงิน สิ่งที่คำนึงถึงมากที่สุดจะเป็นเรื่องราคาที่เหมาะสม จะเห็นว่าการที่ธนาคารมีนโยบายให้ผู้เลือกซื้อผ่อนชำระดาวน์ โดยไม่เสียดอกเบี้ยนั้นเป็นแรงจูงใจและเร่งรัดการตัดสินใจของผู้เลือกซื้อได้ดีและเร็วขึ้น และจากสมมติฐานที่ว่า "ปัจจัยสินเชื่อมีผลต่อการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นทรัพย์สินรอการขาย (NPA) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์มากกว่าปัจจัยทางด้านอื่นๆ เป็นจริงสำหรับประชากร กลุ่มที่ 2 และไม่เป็นไปตามสมมติฐานสำหรับประชากรกลุ่มที่ 1 สรุปได้ว่าข้อค้นพบนี้ มีความสำคัญต่อการบริหารจัดการ ทรัพย์สินรอการขายของสถาบันการเงินเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ที่เป็นทรัพย์สินรอการขายนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่างมิได้พิจารณาเรื่องทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรกเหมือนการซื้อบ้านโดยทั่วๆ ไป แต่กับพิจารณาปัจจัยด้านสินเชื่อและปัจจัยด้านราคาเป็นสิ่งที่สำคัญ อาจเป็นเพราะสภาพปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายกว่าปัจจัยด้านสินเชื่อที่น่าสนใจและเอื้ออำนวยต่อการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
Other Abstract: To achieve the most effective management of non-performing asset (NPA) in a very high competitive market, one has to have an insight into the target group and its decision making factors in purchasing NPA housing of a finance institution. Such factors must be determined which is the most influential so the results can be used as guidelines to draw up policies meeting the target group's demand. Accordingly, the NPA can be managed effectively, helping those who want to own housing units through credit line or those who would like to have second-hand houses. The main purpose of this study was to research into the decision making factors of purchasing non-performing asset housing in the Government Housing Bank. It was assumed that credit terms played the most important part in influencing the target group to purchase the NPA housing of the Government Housing Bank. The NPA housing which were second-hand houses and used to be resided in were more popular than those which had never been resided in. The location ofthe NPA housing had a relationship with the prospective buyers' original sites. The subjects were 784 customers who had bought the NPA housing of the Government Housing Bank from July1, 2001 to June 30, 2002. They could be divided into 2 groups: the first were 152 customers who had been transferred the title while the second were 632 customers who had not been transferred the title since the houses were under a special project. The Bank offered 24- month down payments without interest. The study covered the Bangkok Metropolitan area and its environs. The data was collected from secondary information and a set of questionnaires mailed to both groups. As for the first group, 106 questionnaires were returned, accounting for 96%, while for the second group, 250 were returned, making up 102%. It was found that The subjects of both groups used to own houses and sold them to buy new houses or to pay for rent. Most of them would like to buy the NPA housing for residing and ask for the maximum loan the Bank offered.Furthermore, most would like to buy a house which had been resided in. The most popular site was the northern part of Bangkok followed by the Northeastern part and the eastern part. These sites were related to the subjects' original housing locations. To obtain information about the Bank's NPA housing, most subjects contacted the Bank's department of asset management followed by looking at the notice in front of that house and the Bank's display of houses for sale. Most of them took about 1month to decide to buy the houses. However, there was a difference between the two groups. The first took 2-3 months or more than 3 months to buy whereas the second took less than 3 months since the special project was an incentive. In terms of decision making factors, the first considered a reasonable price the most important factor followed by credit terms. They would like to ask for a loan worth 90% of the appraised asset. The second favored the long-term down payment without high interest followed by a reasonable price. The down payment without interest motivated and hastened the second group to decide to buy the Bank's housing. However, this incentive did not affect the decision making of the first group. In conclusion, the study is results played a part in the non-performing asset management of a financial institution. To buy NPA housing, prospective buyers prioritized credit terms and prices over locations partly due to the fact that attractive credit terms were not so easy to obtain as housing locations.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6127
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.338
ISBN: 9741718853
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.338
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
somlakk.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.