Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61290
Title: Appropriate Campylobacter detection method and genetic variation of Campylobacter jejuni in broilers
Other Titles: วิธีการที่เหมาะสมในการตรวจแคมไพโลแบคเตอร์และความหลากหลายทางลักษณะพันธุกรรมของแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไนในไก่เนื้อ
Authors: Natnicha Phetsri
Advisors: Taradon Luangtongkum
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science
Advisor's Email: Taradon.L@Chula.ac.th
Subjects: Campylobacter
Campylobacter jejuni
Broilers (Chickens)
Viruses -- Isolation
แคมพัยโลแบคเตอร์
แคมพัยโลแบคเตอร์เจจูไน
ไก่เนื้อ
การเพาะแยกเชื้อ
Issue Date: 2018
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Campylobacter has been known as an important cause of gastroenteritis in humans. The primary source is raw or undercooked poultry meat. Previous study showed that Campylobacter isolated from slaughterhouses were associated with Campylobacter isolated from broiler farms. Thus, detection of Campylobacter flock status and sorting flocks prior to slaughtering processes may help prevent Campylobacter contamination between Campylobacter-positive and negative flocks during slaughtering processes. Unfortunately, appropriate sample type and isolation method have not been clearly specified for Campylobacter detection at the farm level. Because Campylobacter are fastidious bacteria, improper detection method can attribute to false negative results. Therefore, the objectives of this study were 1) to identify appropriate sample type and isolation method for Campylobacter detection in broilers and 2) to determine genetic relatedness of C. jejuni from different broiler houses in the same farm. This study consists of 2 experiments. In the first experiment, three types of sample were obtained from 60 broiler houses including 60 boot swabs, 60 cloacal swabs and 60 fresh fecal samples. Campylobacter were isolated from cloacal swab and fresh fecal samples by direct plating method using modified Charcoal-Cefoperazone-Deoxycholate Agar (mCCDA), modified Karmali (mKarmali), Preston agar and Campy-cefex agar. Isolation of Campylobacter from boot swabs was conducted by both direct plating method and selective enrichment method using Bolton broth, Preston broth, Exeter broth and blood-free Bolton broth as selective enrichment. To determine the most suitable sample type, only Campylobacter isolation rates from direct plating method were compared. The difference in Campylobacter isolation rate was analyzed by McNemar test (p<0.05). The results showed that boot swabs provided the highest Campylobacter isolation rate at 26.7%, followed by cloacal swabs (20%) and fresh feces (15%). Among the media used, mCCDA is better than the other media tested for Campylobacter isolation from farm samples. In addition, our results revealed that using Preston agar as the second media along with mCCDA could significantly increase Campylobacter isolation rate. For the second experiment, boot swabs were obtained from 60 houses of 12 broiler farms (5 houses/farm). Genetic relatedness of C. jejuni isolated from each broiler house within each broiler farm was examined by Comparative Genomic Fingerprint 40 (CGF40). The results showed that Campylobacter-positive and Campylobacter-negative houses were observed in each broiler farm. Although specific CGF40 patterns were noticed among C. jejuni isolated from each broiler farm, C. jejuni from broiler houses in the same farm had quite similar CGF40 patterns. According to our findings, we suggest that boot swabs should be collected from a few or more houses in the same farm and Campylobacter detection should be conducted by direct plating of boot swab samples onto both mCCDA and Preston agar. Campylobacter detection at the farm level by using appropriate sample type and isolation method is important to correctly obtain Campylobacter flock status and sort flocks prior to slaughtering, which can significantly help decrease Campylobacter cross-contamination during slaughtering processes.
Other Abstract: แคมไพโลแบคเตอร์เป็นเชื้อสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบในมนุษย์ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการบริโภคเนื้อไก่ดิบหรือเนื้อไก่ที่ปรุงไม่สุก การศึกษาที่ผ่านมาพบว่าแคมไพโลแบคเตอร์ที่พบในโรงเชือดมีความใกล้เคียงกับแคมไพโลแบคเตอร์ที่แยกได้จากฟาร์มไก่เนื้อ ดังนั้นการตรวจสถานะการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ของฝูงและการเรียงลำดับฝูงก่อนการเข้าเชือดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยป้องกันการปนเปื้อนเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ระหว่างฝูงที่ให้ผลบวกและฝูงที่ให้ผลลบ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีการระบุวิธีการที่ชัดเจนและเหมาะสมสำหรับการตรวจเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในระดับฟาร์ม เนื่องจากเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เป็นเชื้อที่เติบโตค่อนข้างยากและต้องการสภาวะที่จำเพาะในการเจริญเติบโต การตรวจที่ไม่เหมาะสมอาจนำไปสู่ผลลบลวงได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชนิดตัวอย่างและวิธีการแยกเชื้อที่เหมาะสมสำหรับการตรวจเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อ และ 2) ตรวจหาความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ระหว่างโรงเรือนไก่เนื้อภายในฟาร์มเดียวกัน โดยการศึกษานี้ประกอบด้วย 2 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 ทำการเก็บตัวอย่าง 3 ชนิดจากโรงเรือนเลี้ยงไก่เนื้อ 60 โรงเรือน ตัวอย่างดังกล่าวประกอบด้วย สวอปรองเท้า (boot swab) 60 ตัวอย่าง อุจจาระจากทวารร่วม (cloacal swab) 60 ตัวอย่าง และตัวอย่างอุจจาระสด (fresh fecal sample) 60 ตัวอย่าง จากนั้นทำการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากตัวอย่างอุจจาระจากทวารร่วมและอุจจาระสดโดยวิธี Direct plating ลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด modified Charcoal-Cefoperazone-Deoxycholate Agar (mCCDA), modified Karmali (mKarmali),  Preston และ Campy-cefex ส่วนตัวอย่างสวอปรองเท้านั้นทำการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ด้วยวิธี Direct plating ลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ 4 ชนิดตามที่กล่าวมาข้างต้นร่วมกับวิธี Selective enrichment โดยใช้อาหารเลี้ยงเชื้อที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตชนิด Bolton, Preston, Exeter และ blood-free Bolton  การวิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จะใช้สถิติชนิด McNemar test (p<0.05)  ในการวิเคราะห์ชนิดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการตรวจเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จะทำการเปรียบเทียบอัตราการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากวิธี Direct plating เท่านั้น ผลการทดลองพบว่าตัวอย่างสวอปรองเท้าให้อัตราการแยกเชื้อสูงที่สุดที่ 26.7% รองลงมาคือตัวอย่างอุจจาระจากทวารร่วม (20%) และตัวอย่างอุจจาระสด (15%) จากการเปรียบเทียบความสามารถในการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์โดยอาหารเลี้ยงเชื้อแต่ละชนิด พบว่า mCCDA ให้ผลการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากตัวอย่างฟาร์มไก่เนื้อได้ดีกว่าอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้อาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Preston ควบคู่ไปกับอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด mCCDA สามารถเพิ่มอัตราการแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น สำหรับการทดลองที่ 2 นั้นทำการเก็บตัวอย่างและเพาะแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากตัวอย่างสวอปรองเท้าจากฟาร์มไก่เนื้อจำนวน 12 ฟาร์ม รวมทั้งสิ้น 60 โรงเรือน (5 โรงเรือนต่อฟาร์ม) จากนั้นทำการศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่แยกได้จากโรงเรือนไก่เนื้อภายในฟาร์มเดียวกันด้วยวิธี Comparative Genomic Fingerprint 40 (CGF40) ผลการทดลองพบว่าภายในฟาร์มไก่เนื้อมีทั้งโรงเรือนที่ให้ผลบวกและผลลบต่อเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ถึงแม้ว่าลักษณะพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่แยกได้จากฟาร์มไก่เนื้อแต่ละฟาร์มจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป แต่ลักษณะพันธุกรรมของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เจจูไน ที่แยกได้จากโรงเรือนที่อยู่ในฟาร์มเดียวกันจะค่อนข้างมีความใกล้เคียงกัน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการตรวจสถานะการติดเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในฟาร์มไก่เนื้อควรเก็บตัวอย่างสวอปรองเท้าจากโรงเรือนมากกว่า 1 โรงเรือนภายในฟาร์มเดียวกันและทำการเพาะแยกเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์จากตัวอย่างสวอปรองเท้าด้วยวิธี Direct plating ลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด mCCDA ควบคู่ไปกับอาหารเลี้ยงเชื้อชนิด Preston ซึ่งการตรวจเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในระดับฟาร์มด้วยวิธีที่เหมาะสมและจัดลำดับฝูงก่อนการเข้าเชือดจะช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ในระหว่างกระบวนการผลิตได้
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2018
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Veterinary Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61290
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.531
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.531
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5875307231.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.