Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61329
Title: ผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต่อการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศ
Other Titles: The effect of motivation enhancement program for non-communicable diseases prevention on quitting smoking among thai air force personnel
Authors: จตุพร เฉลิมเรืองรอง
Advisors: สุนิดา ปรีชาวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sunida.P@Chula.ac.th
Subjects: การสูบบุหรี่
การแนะแนวสุขภาพ
โรคเรื้อรัง
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Smoking
Health counseling
Chronic diseases
Motivation (Psychology)
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อระหว่างกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจเพื่อเลิกบุหรี่และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ณ กองเวชศาสตร์ป้องกัน กรมแพทย์ทหารอากาศ  จำนวนทั้งสิ้น 60 คน โดยให้ 30 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม  และ 30 คนหลังเป็นกลุ่มทดลอง  เก็บข้อมูลในกลุ่มควบคุมจนครบแล้วจึงเก็บข้อมูลกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการแนะนำการเลิกบุหรี่แบบกระชับ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และข้อมูลการสูบบุหรี่ จากแบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติ Z  ประเมินการเลิกบุหรี่จากการเลิกสูบบุหรี่ได้ติดต่อกันในช่วง 7 วัน โดยใช้แบบสัมภาษณ์การเลิกบุหรี่ ร่วมกับประเมินระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในลมหายใจออก ผลการทดลองพบว่า ข้าราชการทหารอากาศในกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ได้ 6 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเลิกสูบได้เพียง 1 คน การประเมินผลลัพธ์การเลิกบุหรี่ของข้าราชการทหารอากาศในสัปดาห์ที่ 9 พบว่าการเลิกบุหรี่ในกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (ร้อยละ 20.0 และ ร้อยละ 3.3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<.05)
Other Abstract: This quasi experimental research  aimed to examine the effect of the motivation to quit smoking program in Royal Thai Air force personnel with Non - Communicable Diseases risks. The study samples were 60 RTAF personnels at Division of Preventive Medicine, Directorate of Medical Service, Royal Thai Air Force. The first 30 participants were assigned to a control group and the latter 30 to an experimental group. The control group received brief advice while the experimental group took part in the 8 week motivation program. The instruments used to collect data were self-reported demographic questionnaire and smoking questionnaire. Data were analyzed using  percentage, mean, standard deviation, and Z-test. Smoking cessation was determined by a combination of self-report using 7-day point prevalence and biochemical verification (breath carbon monoxide). The results showed that 6  personnels in the experimental group could quit smoking while only 1 in the control group could. The 7-day point prevalence quit rate at 9 week follow up was significantly greater in the intervention group ( 20.0 % , 3.3% ) than the control group (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61329
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.966
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.966
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877159036.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.