Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61357
Title: | ผลของการฝึกเสริมด้วยความเร็วอดทนที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกและความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วซ้ำๆในนักฟุตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | The effects of supplementary speed endurance training on aerobic capacity,anaerobic capacity and repeated sprint ability in varsity male football players |
Authors: | ปิยะวัฒน์ ลือโสภา |
Advisors: | ทศพร ยิ้มลมัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | tossaporn.y@chula.ac.th |
Subjects: | นักฟุตบอล สรีรวิทยา Soccer players Physiology |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Purpose: This study aimed to investigate the effects of speed endurance training on aerobic and anaerobic capacity and repeated sprint ability in male college football players Method Thirty-two male football players, aged between 18-22 years, from Nakhon Ratchasima Rajabhat University voluntarily participated in this study. The participants were then study divided into 2 groups (n=16/each group) matced by the maximum oxygen uptake (VO2max) from the Yo-Yo Intermittent Recovery Level1 test (Yo-YoIR1). The participants in the experimental group underwent speed endurance training program (SET), consisting of 6x30 sec bouts of 40 m sprint, separated by 3 min of recovery, twice a week for 6 weeks in addition to their normal training, In contrast, the control group performed only a normal training prescribed by their coach. Before and after 6-week of training, the Yo-YoIR1 test and repeated sprint ability (RAST) test, and blood lactate concentration were determined. Data were analyzed using dependent and independent samples t-test to determine the statistical significance level at p- value < .05. Results: Before the experiment, the mean values of age, height,and body weight were not different (p>.05) between two groups. After 6 week of training, mean VO2max, distanced covered by Yo-YoIR1, mean anaerobic power, tolerance to fatigue and repeated sprint ability were significantly increased (p<.05)compared to before training in both groups. However, the better improvements (p<.05) were observed in the experimental group compared with the control. Conclusion: An additional of 6-week of speed endurance training to normal training twice a week is effective for improving aerobic, anaerobic capacity, and the repeated sprint ability in male college football players. Thus, speed endurance training can be used as a supplemented exercise for enhancing physical performance in football players. |
Other Abstract: | วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยความเร็วอดทนที่มีต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกและความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วซ้ำๆของนักกีฬาฟุตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย วิธีการดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักฟุตบอลชายของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 32 คน อายุระหว่าง 18-22 ปี ได้จากการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง (purposive sample) โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆละ 16 คนเท่ากัน ด้วยวิธีการจับคู่ (Matched pair) โดยใช้สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Maximal oxygen uptake,VO2max) จากการทดสอบ Yo-Yo Intermittent Recovery Level1 (Yo-YoIR1) เป็นเกณฑ์ โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกเสริมด้วยโปรแกรมฝึกความเร็วอดทน (Speed endurance training, SET) วันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 วัน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ร่วมกับการฝึกซ้อมตามปกติ ขณะที่กลุ่มควบคุมทำการฝึกซ้อมฟุตบอลตามปกติเพียงอย่างเดียว ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบสมรรถภาพด้านแอโรบิกด้วยโปรแกรม Yo-YoIR1 ความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วสูงซ้ำๆด้วยแบบทดสอบ ( Running Anaerobic Sprint Test ,RAST) และวัดความเข้มข้นของแลคเตทในเลือด จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการฝึก กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนัก ส่วนสูงและสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 พบว่า อัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความสามารถในการวิ่งสะสมระยะทาง จากการทดสอบ Yo-YoIR1 พลังเฉลี่ย ความทนทานต่อการล้าและความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วสูงซ้ำๆ เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งสองกลุ่ม อย่างไรก็ตาม กลุ่มทดลองมีการพัฒนาที่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกเสริมด้วยความเร็วอดทนเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถช่วยพัฒนาสมรรถภาพด้านแอโรบิก แอนแอโรบิกและความสามารถในการวิ่งด้วยความเร็วซ้ำๆในนักกีฬาฟุตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นสามารถนำโปรแกรมการฝึกนี้ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกนักกีฬาฟุตบอลได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61357 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1108 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1108 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5878314139.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.