Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61361
Title: | การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อและแรงปฏิกิริยาจากพื้นในการวิ่งลากถ่วงน้ำหนักด้วยมุมเส้นเชือกที่ต่างกัน ในนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิง |
Other Titles: | Electromyography and ground reaction force analysis in weighted sled running with different rope angle in female rugby players |
Authors: | ณัฐณิชา ทองพัฒนวงศ์ |
Advisors: | นงนภัส เจริญพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Subjects: | การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ การวิ่ง -- การฝึก Electromyography Running -- Training |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ แรงปฏิกิริยาจากพื้น และความเร็วในการวิ่ง เมื่อวิ่งลากถ่วงน้ำหนักที่มุมเส้นเชือก 30 45 และ 60 องศา จากแนวขนานกับพื้น วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬารักบี้ฟุตบอลสังกัด ชมรมรักบี้ฟุตบอลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศหญิง มีอายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 15 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการทดลองวิ่งลากถ่วงน้ำหนักด้วยการยืนแบบ 2 จุด ท่าเท้านำเท้าตาม โดยเริ่มทดลองจากการวิ่งไม่มีเครื่องลากถ่วงน้ำหนัก ตามด้วยการสุ่มลำดับการวิ่งลากถ่วงน้ำหนักในความหนัก 30% ของน้ำหนักร่างกายที่มุมเส้นเชือก 30 45 และ 60 องศา ในระยะทาง 5 เมตร โดยทำการวิ่งทั้ง 3 รูปแบบๆ ละ 3 ครั้ง พักระหว่างการวิ่งแต่ละครั้งเป็นเวลา 5 นาที เปรียบเทียบความเร็วในการวิ่งระยะ 5 เมตร แรงปฏิกิริยาจากพื้นของขาก้าวที่ 3 และอัตราส่วนระหว่างความเข้มของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อสูงสุดขณะเคลื่อนไหว ต่อความเข้มของกล้ามเนื้อสูงสุดเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวแบบความยาวคงที่ (Maximum intensity/MVC) ใช้ ANOVA และวิเคราะห์คู่ต่างด้วย Tukey โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value 0.05 ผลการวิจัย พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความเร็วในการวิ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างขณะวิ่งโดยไม่มีเครื่องลากถ่วงน้ำหนัก และวิ่งลากถ่วงน้ำหนักทั้งที่มุมเส้นเชือก 30 45 และ 60 องศา อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของทั้งแรงปฏิกิริยาจากพื้น และคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ สรุปผลการวิจัย การฝึกวิ่งลากถ่วงน้ำหนักที่มุมเส้นเชือก 60 องศา อาจเหมาะสมต่อการพัฒนากล้ามเนื้อที่ใช้ในการวิ่งออกตัวของนักกีฬารักบี้ฟุตบอลหญิงได้มากที่สุด เนื่องจากรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อใกล้เคียงกับรูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อในขณะวิ่งไม่มีเครื่องลากถ่วงน้ำหนัก แต่มีคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมากกว่า และแรงปฏิกิริยาจากพื้นในแนวดิ่งน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามการวิ่งลากถ่วงน้ำหนักน่าจะมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและแรงปฏิกิริยาเมื่อมีน้ำหนักในการลากถ่วงมากกว่า 30% ของน้ำหนักร่างกาย และมีผลเฉพาะก้าวแรก ส่งผลลดลงเมื่อวิ่งในก้าวที่ 3 และก้าวต่อ ๆ ไป |
Other Abstract: | Purpose This research was done to analyze and compare electromyography, vertical ground reaction force (VGRF) and velocity over 5meter while the subject was tied to a weighted sled running as the rope angle was changed between 30 and 60 degrees. Methods Fifteen female rugby players from Chulalongkorn University were 18-25 years old. All subjects began by unloading the sprint with a 2-standing point. Subjects were crossover-randomized for rope angles of weighted sled, running between 30 45 and 60 degrees (30% of the body weight). The participants were asked to repeat each set of weighted sprints 3 times with a 5 minutes rest in between each sprint, in order to achieve the fastest sprint result over the 5meter distance. Comparisons were made between the velocity (5 m.), vertical ground reaction force of the 3rd leg, and Maximum Intensity/MVC. The data was then analyzed with ANOVA (Post hoc: Tukey). The level of significance was set at p-value ≤ 0.05 Results The results from the comparison between the unloaded sprint and weighted sled with rope angle 30 and 60 degrees showed no statistical significant difference for VGRF and the ratio Maximum intensity/ MVC. However, a statistical significant difference was show from the velocity at 5 m sprint. In Conclusion, weighted sled running with rope angles at 60 degrees may be improve the major muscles of acceleration phase in rugby players and low vertical ground reaction force. However, weighted sled running may affect muscle function and reaction force used to more than 30% of body weight and effective on only the first step, which is reduced for the third and subsequent steps. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61361 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1099 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2018.1099 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5978307939.pdf | 11.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.