Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61367
Title: ผลของโปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจรที่มีต่อความสามารถทางอากาศนิยมของนักมวยไทยอาชีพ
Other Titles: Effects of Muay Thai circuit training program on aerobic performance in professional Muay Thai boxer
Authors: อริย์ธัช หนูแก้ว
Advisors: วันชัย บุญรอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Subjects: มวยไทย -- การฝึก
Muay Thai -- Training
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจรที่มีต่อความสามารถทางอากาศนิยมของนักมวยไทยอาชีพ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักมวยไทยอาชีพ เพศชาย อายุระหว่าง 19 - 22 ปี จำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 8 คน(บาดเจ็บ 1 คน เหลือ 7 คน) โดยกลุ่มทดลองทำการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจร 3 วันต่อสัปดาห์ ร่วมกับการฝึกปกติของค่ายมวย เป็นเวลา 6 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมฝึกตามปกติของค่ายมวย แล้วทำการทดสอบความสามารถทางอากาศนิยม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยการทดสอบค่า ที (Pair sample t-test) ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่า ที (Independent sample t-test) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม  ผลการวิจัย หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดดีขึ้น และการฟื้นฟูอัตราการเต้นหัวใจขณะชกในช่วงพักยกเร็วขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีจำนวนครั้งในการออกอาวุธมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกมวยไทยแบบวงจรเป็นโปรแกรมการฝึกที่มีศักยภาพและเหมาะสม สามารถพัฒนาความสามารถด้านความอดทนของนักกีฬามวยไทยได้
Other Abstract: This research aimed to study the effects of Muay Thai circuit training program on aerobic performance in professional Muay Thai boxer. Sixteen professional male boxers aged between 19-22 years old volunteered for this study. They were divided into two group; experimental group (n = 8) and control group (n = 8, injured 1, left 7). The experimental group underwent Muay Thai circuit training program in addition to their regular training, 3 days a week for 6 weeks. The control group performed a regular training program only. Maximal oxygen uptake (VO2max) was measured by using a Bruce protocol and physical performance was tested by a simulation match of Muay Thai. Data were expressed as mean and standard deviation, and were analyzed by using a Pair sample t-test and independent sample-t test. Significant was set at p-value < 0.05. The results showed that after training the experimental group had a better VO2max and recovery heart rate during a simulation match when compared to prior training (p < 0.05). In addition, the number of attack in the experimental group was higher than in the control group and before training (p < 0.05). Conclusion The muay thai circuit training program is effective and specific training program for developing the maximal oxygen uptake and physical performance of professional Muay Thai boxer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61367
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1129
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1129
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5978416639.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.