Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61463
Title: นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน
Other Titles: Innovative textiles from etlingera elatior fiber to fashion lifestyle product utilizing sustainable theory
Authors: นวัทตกร อุมาศิลป์
Advisors: พัดชา อุทิศวรรณกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การออกแบบลายผ้า
การออกแบบแฟชั่น
ขิง
เส้นใยพืช
Textile design
Fashion design
Ginger
Plant fibers
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าขยะทางการเกษตรโดยการพัฒนาเส้นใยจากต้นดาหลา  และศึกษากระบวนการทดลองสกัดสีจากดอกดาหลา และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสมกับสิ่งทอเส้นใยดาหลา โดยการประเมินผลความเหมาะสมของเส้นใย รูปแบบผลิตภัณฑ์จากกลุ่มผู้เชียวชาญทางด้านสิ่งทอ ทางด้านการออกแบบ นักออกแบบ กลุ่มประกอบ และกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาเส้นใยดาหลาเป็นการใช้ส่วนลำต้นที่เหลือทิ้งจากการตัดดอกดาหลาไปขาย ส่วนของลำต้นมีใยที่เหมาะสม โดยจะนำเข้าเครื่องนวดเพื่อให้มีความยืดหยุ่นและมีความนุ่ม หลังจากนั้นนำไปเข้าเครื่องตีใย และนำใยที่ได้ไปเข้าเครื่องตีเกลียวเส้นด้ายในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งเส้นด้ายที่ตีเกลียวจะมีส่วนผสมระหว่างใยดาหลาและใยฝ้าย อัตราส่วน 15:85 เพราะใยฝ้ายเป็นตัวผสานเกลียว ซึ่งจะทำให้เส้นด้ายเหมาะแก่การนำไปทอผ้าเพื่อทำผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์เช่น เสื้อผ้า กระเป๋าและรองเท้าเป็นต้น  ในส่วนกลีบดอกมีการสกัดสีย้อมเพื่อย้อมเส้นด้ายดาหลาและเส้นไหมไทย โดยนำกลีบดอกมาปั่นกับน้ำ ในอัตราส่วนกลีบดอก 1 กิโลกรัม:น้ำ 3  ลิตร กรองด้วยผ้าขาว ได้น้ำสีแล้วนำไปต้มเพื่อย้อมร้อน นำเส้นด้ายดาหลาและเส้นไหม ย้อมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ขณะน้ำเดือดใส่สารส้ม 200 กรัม เพื่อให้ติดสีและมีสีที่สด เสร็จแล้วนำเส้นด้ายมาล้างน้ำสะอาด และแช่ในน้ำผสมสารส้ม อัตราส่วน 3 ลิตร:200 กรัม เพื่อคงสีที่ย้อมไว้จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นใยธรรมชาติและวัตถุในการแปรรูปเส้นใยผู้วิจัยต้องการพัฒนาเส้นใยจากต้นดาหลาซึ่งถือเป็นส่วนเหลือทิ้งจากการตัดดอก พร้อมทั้งหาแนวทางการสกัดสีย้อมจากส่วนดอกดาหลา เพื่อนำไปย้อมสีเส้นด้ายทอต่าง ๆ เช่น ไหม ฝ้าย เส้นด้ายดาหลา เป็นต้น ซึ่งถือส่วนหนึ่งของแนวคิดการออกแบบและพัฒนาเพื่อความยั่งยืน“Sustainable Design”และแนวทางการใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่า จนขยะเหลือศูนย์ “Zero Waste” อันได้แก่กระดาษจากเศษดอกหลังจากสกัดสี หรือนำมาแปรรูปเป็นอาหาร อาทิเช่น กากดอกดาหลากวน น้ำพริกแห้งดาหลา ซึ่งส่วนสำคัญในการวิจัยครั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กระเป๋าและรองเท้า เป็นต้น
Other Abstract: The objectives of this study were: 1) to explore ways of adding value to agricultural waste by developing the Torch Ginger fiber, 2) to examine the process of testing color extraction from the Torch Ginger flower, and 3) to develop a fashion-lifestyle product model that suits the Torch Ginger textile. The study was based on the information obtained from questionnaires and interviews, by evaluating the suitability of the fiber, a product model from textile experts, the design, the designer, the assembly group, and the target group of consumers. The results indicated that the stem which remained after cutting off flowers for distribution to the market was used in the development of the Torch Ginger textile. The stem was more suitable than other parts. The stem was transferred to a massage machine to make it flexible and soft. After that, it was put into the fiberglass and the fiber was taken into an industrial yarn-twist machine. The twisted yarns were a mixture of Torch Ginger and cotton wool, in a 15:85 ratio. This is because cotton is a screw thread, which makes the yarn suitable for weaving to make Fashion lifestyle products such as clothes, bags, and shoes, etc. Dye was extracted from the petals to dye the Torch Ginger yarn and the Thai silk yarn. The petals were spun with water in a ratio of 1 kg of petals: 3 liters of water, and filtered through white cloth. This resulted in colored water which was then brought to the boil for hot dyeing. The Torch Ginger and silk threads were dyed for 1 hour by boiling with 200 g of an alum solution to keep the color fresh. Then, the yarn was washed with clear water and soaked in 3 liters of water with 200g of Alum solution to preserve the dye. Education, information about the development of natural fibers and metal objects in fiber processing research to improve the fiber from the beginning a waste dalar from cut flowers, along with finding ways to dye extracted from inflorescence dalar to yarn dyed weaving such as silk. Cotton yarn, dalar, etc which are considered part of the design concepts and sustainability "Sustainable Design" and guidelines for use of any part of the building value, until the zero waste "Zero Waste" paper from the debris after extraction, the flower color or be processed into food such as kakdok da Vortex multi-colour. Dalar, where dry chili sauce in this research to produce textiles and fashion & lifestyle products that are environmentally friendly, which contains clothing apparel. Bags and shoes, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61463
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1355
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1355
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5886810335.pdf17.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.