Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6161
Title: ปริมาณแมงกานีสที่คนงานได้รับกับปริมาณแมงกานีสและโลหะหนักอื่นในเส้นผม
Authors: เบญจลักษณ์ กาญจนเศรษฐ์
Email: benjalak.k@chula.ac.th.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม
Subjects: โลหะหนัก--ผลกระทบทางสรีรวิทยา
แมงกานีส--การตรวจวัด
ผม--การสะสมของโลหะหนัก
แมงกานีส--พิษวิทยา
โรงงานถ่านไฟฉาย--แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจวัดแมงกานีสในอากาศและแมงกานีส ตะกั่ว สังกะสี สารหนู ในเส้นผมของคนงานแผนกบดและผสมของโรงงานถ่านไฟฉายแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการติดต่อกันตั้งแต่เดือนเมษายน-กรกฎาคม 2533 สำหรับแมงกานีสในอากาศเก็บโดยใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศแบบติดตัวขณะทำงาน ส่วนเส้นผมตัดเก็บทุก 2 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์พบว่า แมงกานีสในเส้นผมมีค่าสูงเกินมาตรฐาน (20 มดก./ก.) คือมีค่า 8.39-125.6 มดก./ก. (52 ตัวอย่างจาก 55 ตัวอย่าง) แสดงว่าคนงานตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย และมีโอกาสจะเกิดโรคทางระบบประสาทได้ ปริมาณดังกล่าวในเส้นผมจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปพาราโบลา เนื่องมาจากระบบและประสิทธิภาพของการกำจัดสารพิษของร่างกายแต่ละคน และมีความสัมพันธ์กับปริมาณแมงกานีสที่ได้รับจากอากาศด้วย นอกจากนี้โลหะหนักพวก สารหนู สังกะสี ตะกั่ว และแมงกานีส ในเส้นผม มีความสัมพันธ์กันหมด ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า เส้นผมมีความเหมาะสมในการใช้เป็นดัชนีชี้ระดับความเป็นพิษของโลหะหนักได้ดี โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นตัวอย่างเส้นผมเป็นเท่านั้น และสามารถเก็บจากปลายเส้นผมได้ เนื่องจากการสะสมตัวของโลหะหนักดังกล่าวเท่ากันตลอดเส้น (ศึกษาเฉพาะบริเวณ Suboccipital) ส่วนแมงกานีสในอากาศมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน (5 มก./ลบ.ม.) คือมีค่า 0.016-6.38 มก./ลบ.ม. (184 ตัวอย่าง จาก 186 ตัวอย่าง) งานประเภทที่ได้รับฝุ่นแมงกานีสมากที่สุด สำหรับแผนกบดคือ งานกวาดพื้นและโกยแร่ และงานผสมวัตถุดิบลงในเครื่องโม่เล็ก สำหรับแผนกผสม แม้ว่าระดับแมงกานีสในอากาศจะต่ำกว่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ แต่ปริมาณที่มีอยู่ในเส้นผมสูงขึ้น (เทียบกับการตรวจวัดในปี 2530) และสูงกว่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นความจำเป็นในการพิจารณาปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยต่างๆ ในโรงงาน
Other Abstract: Measurement of Managanese in air and Manganese, Lead, Zinc, Arsenic in hair of workers in the crushing and mixing section of a dry cell factory in Samut Prakan has been continued from April to July 1990. Manganese in air was collected using Personal Sampling Pump attached to the body of the worker while performing work. For the Manganese in hair, every two weeks the hair was cut and collected. The Analysis has shown that the amout of manganese in hair is high and exceeded the standard level (20 microgram./gm.) i.e. the amout was 8.39-125.6 microgram/gm. (52 samples from 55 samples) This means that workers are under risk hazard and likely to have desease of nervous system. This amont in hair was found to change in the form of Parabola because of the efficiency of toxic substances eliminating system within the body of each individual and also has the relationship to that in air. Furthermore, heavy metals i.e. Arsenic, Zinc, Lead and Manganese in hair all has the relationship to each other. And this comes to the solution that hair is suitable to indicate toxic level of heavy metals in the condition of only alive hair analysed and can be collected from the hair tip. Manganese in air was below the standard level (5 mg/cu.m.) i.e. the amout was 0.016-6.38 mg/cu.m. (184 samples from 186 samples.) The type of work that contacts largest amont of manganese dust in the crushing section was floor sweeping and shoveling of ores and mixing ores in small mixer in the mixing section. Although manganese level in air is mostly below the standard level, but that amont in hair is much higher and higher than the standard level. That means improving safety plan is necessity.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6161
Type: Technical Report
Appears in Collections:Env - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ben(Managanese).pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.