Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6175
Title: แนวคิดเรื่องปัญญาในอรรถกถาชาดก
Other Titles: The theme of wisdom in Atthakatha Jataka
Authors: สหะโรจน์ กิตติมหาเจริญ
Advisors: ตรีศิลป์ บุญขจร
นิยะดา เหล่าสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Trisilpa.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อรรถกถา
ปัญญา
ชาดก
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาแนวคิดเรื่องปัญญาในอรรถกถาชาดก และเพื่อวิเคราะห์ ปัญญาในฐานะที่เป็นคำสอนในอรรถกถาชาดก ผลการวิจัยพบว่าชาดกคือนิทานสอนธรรมะพื้นฐานแก่พุทธบริษัท การนำเสนอปัญญาในอรรถกถาชาดกจึงเป็นปัญญาระดับพื้นฐานสอดคล้องกับตัวบทเช่นเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ปัญญาทางพระพุทธศาสนา พบว่าปัญญาคือความรู้ที่ประกอบด้วยการคิดอย่างถูกต้องหรือโยนิโสมนสิการ การมีปัญญาที่ถูกต้องจะทำให้รู้จักใช้ปัญญาแก้ปัญหาและเตือนสติ ด้านบ่อเกิดของปัญญา พบว่าปัญญาเริ่มต้นมาจากขันธ์ 5 พัฒนามาสู่กระบวนการคิด การฟัง การกระทำจนเกิดความรู้ที่ชัดแจ้ง ด้านคุณค่าของปัญญา พบว่าการใช้ปัญญาในทางที่ถูกต้องทำให้การดำเนินชีวิตเป็นสุข แต่ถ้าไม่มีปัญญาหรือใช้ปัญญาในทางที่ไม่ถูกต้องจะทำให้มีมิจฉาทิฏฐิ เกิดอวิชชา ด้านการนำเสนอคำสอนเรื่องปัญญาในอรรถกถาชาดก อรรถกถาชาดกสะท้อนปัญญา 3 ลักษณะคือ ปัญญาในฐานะหลักในการดำเนินชีวิต ศีล สมาธิ ปัญญาและพระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาบารมี ทั้งนี้อรรถกถาชาดกให้ความสำคัญกับปัญญาในฐานะหลักในการดำเนินชีวิต เพราะเป็นปัญญาในระดับพื้นฐานมีความ จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของพุทธบริษัท ด้านศีล สมาธิ ปัญญา อรรถกถาชาดกไม่ได้นำเสนอศีล สมาธิ ปัญญาอย่างลุ่มลึก กล่าวถึงเพียงการมีความสุจริตทางกาย วาจา ใจ ย่อมทำให้เกิดความสงบและมีปัญญา ด้านการนำเสนอพระโพธิสัตว์ผู้มีปัญญาบารมี พบว่าพระโพธิสัตว์มุ่งบำเพ็ญปัญญาเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เตือนสติ แก้ไขปัญหา สอดคล้องกับลักษณะของพระโพธิสัตว์ในพุทธภูมินี้คือปัญญาธิกโพธิสัตว์ ลักษณะเด่นของการนำเสนอปัญญาในอรรถกถาชาดกคือ การนำกลวิธีการทดสอบปัญญาเข้ามาดำเนินเรื่อง กลวิธีนี้ได้แก่การตั้งปริศนา การเล่านิทาน กลวิธีการทดสอบปัญญาเหล่านี้นอกจากจะทดสอบปัญญาคู่กรณีหรือฝ่ายตรงข้ามแล้ว ยังมีลักษณะของการนำหลักธรรมมาแสดงเปรียบเทียบในรูปแบบปริศนา นิทาน เพื่อให้พุทธบริษัทเข้าใจหลักธรรมได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวสรุปได้ว่าอรรถกถาชาดกนอกจากจะเป็นนิทานที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังแฝงสาระของคำสอนทางพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างกลมกลืน และแยบคาย คำสอนประการหนึ่งคือการสอนให้พุทธบริษัทรู้จักดำเนินชีวิตและดำรงชีวิตให้อยู่ได้ด้วยปัญญาอันเป็นหัวใจของคำสอนที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the theme of wisdom in the Atthakatha J{229}ataka, in order to analyze wisdom as a subject for teaching. The research shows that J{229}ataka are tales which have the purpose of teaching the basic Dhamma to Buddhist lay people.Therefore, the wisdom presented in them is of the basic kind. As the analyses that follow will make clear, wisdom in Buddhism is the knowledge which results from proper attention or Yonisomanasikara. Having the right wisdom will make us know how to solve problems and warn ourselves. Concerning the source of wisdom, it is found that wisdom originates in the Five Aggregates and develops into the process of thinking, listening and doing that leads to clear knowledge. In terms of the value of wisdom, the proper use of wisdom will bring about happy living whereas lack of wisdom will breed the wrong view or Micchaditthi and lead to ignorance. In the Atthakatha J{229}ataka, wisdom as a subject for teaching is presented in three kinds : wisdom as an essential principle for living; wisdom resulting from moral conduct; and the wisdom of the Bodhisatta who has Pannaparami. The analysis reveals that the J{229}ataka give much importance to the wisdom as an essential principle for living because it is the basic kind of wisdom necessary for the living of Buddhist lay people. The J{229}ataka do not present the wisdom that results from moral conduct in much detail; they only show that good conduct in actions, in words and in thoughts will lead to peace and wisdom. With regard to the third kind of wisdom, it is found that the Bohisatta in these J{229}ataka intends to cultivate wisdom in order to help and give warnings to other people. This aspect is also found in the Bodhisatta in this Buddhist land, which is called the Bodhisatta with great wisdom. The main characteristic of the presentation of wisdom in the Atthakatha J{229}ataka is the motif of wisdom testing.This motif appears in various forms: asking questions, telling riddle tales, posing Dhamma questions, and telling Dhamma tales. All of these exist in the stories not only as means of testing the wisdom of the characters who are tested, but also as narrative strategies for making Dhamma more accessible to lay people. It can be concluded that the Atthakatha Jataka are tales which not only give pleasure to the audience but also harmoniously and cleverly insert the substance of the Buddha's teachings. One of the teachings of the Buddha is the instruction for the Buddhist lay people to know the right way of living and to lead their life with wisdom, which is the essence of Buddhist teachings.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วรรณคดีเปรียบเทียบ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6175
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.126
ISBN: 9741797826
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.126
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saharot.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.