Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61896
Title: การเตรียมและการหาลักษณะสมบัติของไมโครแคปซูลของน้ำมันหอมระเหยข่า/แอลจิเนตและน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรีย
Other Titles: Preparation and characterization of galangal essential oil/alginate and galangal essential oil/polyturethane-urea microcapsule
Authors: ฐิชานีย์ เจียมรุ่งรักษา
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: สิรีรัตน์ จารุจินดา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: sireerat.c@chula.ac.th
Subjects: น้ำมันหอมระเหย
Essences and essential oils
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการเตรียมไมโครแคปซูลของน้ำมันหอมระเหยข่าด้วยวิธีเตรียม 2 วิธี ได้แก่ วิธี Orifice โดยใช้แอลจิเนตเป็นสารห่อหุ้ม และวิธี Interfacial polymerization โดยใช้พอลิยูรีเทน-ยูเรียเป็นสารห่อหุ้ม จากนั้นนำมาวิเคราะห์และทดสอบสมบัติทางกายภาพ ความร้อน และโครงสร้างทางเคมีของไมโครแคปซูลที่เตรียมได้ พบว่าไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/แอลจิเนตซึ่งเตรียมโดยวิธี Orifice มีลักษณะอนุภาคเริ่มเป็นเม็ดกลมแบบมีวัสดุแกนหลายอนุภาคอยู่ภายในไมโครแคปซูล (multi-nucleus spherical microcapsule) เมื่อใช้ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมแอลจิเนตตั้งแต่ร้อยละ 2 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และมีขนาดใหญ่ขึ้นประมาณ 700 – 1000 ไมโครเมตร รวมทั้งมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าบรรจุในไมโครแคปซูลสูงที่สุดคือ ร้อยละ 40.8 เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมแอลจิเนตและเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่ใช้ โดยที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมง ไมโครแคปซูลมีการปล่อยน้ำมันหอมระเหยข่าร้อยละ 60 ของน้ำมันหอมระเหยข่าบรรจุในไมโครแคปซูล สำหรับไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรียซึ่งเตรียมโดยวิธี Interfacial polymerization มีลักษณะอนุภาคเป็นเม็ดกลมแบบมีวัสดุแกนหลายอนุภาคอยู่ภายในไมโครแคปซูล (multi-nucleus spherical microcapsule) พื้นผิวค่อนข้างเรียบ และมีขนาดเล็กลงเมื่อความเร็วรอบในการกวนผสมเพิ่มขึ้นแต่เวลาในการกวนผสมลดลง ความเร็วรอบในการกวนผสม 4000 รอบต่อนาทีขึ้นไปให้ ไมโครแคปซูลที่มีขนาดเล็กประมาณ 10.0 ไมโครเมตร แต่เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่เติมลงไปมากกว่า 10 มิลลิลิตร ขนาดของอนุภาคไมโครแคปซูลใหญ่ขึ้น ปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าบรรจุใน ไมโครแคปซูลเพิ่มขึ้นเมื่อความเร็วรอบ เวลาในการกวนผสมและน้ำมันหอมระเหยข่าที่เติมลงไปเพิ่มขึ้น ความเร็วรอบในการกวนผสม 5000 รอบต่อนาทีขึ้นไปให้ปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าบรรจุใน ไมโครแคปซูลประมาณร้อยละ 15 แต่เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่เติมลงไปจาก 10 มิลลิลิตรเป็น 50 มิลลิลิตร จะให้ไมโครแคปซูลที่มีปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าบรรจุในไมโครแคปซูลมากขึ้นถึงร้อยละ 52 โดยที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เวลา 1 ชั่วโมงไมโครแคปซูลมีการปล่อยน้ำมันหอมระเหยข่าร้อยละ 20 ของน้ำมันหอมระเหยข่าบรรจุในไมโครแคปซูล โดยไมโครแคปซูลจะมีการปล่อยน้ำมันหอมระเหยข่าเพิ่มขึ้นเมื่อลดเวลาในการกวนผสม และเพิ่มปริมาณน้ำมันหอมระเหยข่าที่เติมลงไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/พอลิยูรีเทน-ยูเรียที่เตรียมด้วยวิธีInterfacial polymerization มีขนาดเล็กและอยู่ในรูปที่ง่ายและเหมาะสำหรับนำไปตกแต่งสิ่งทอมากกว่าไมโครแคปซูลน้ำมันหอมระเหยข่า/แอลจิเนตที่เตรียมด้วยวิธี Orifice
Other Abstract: Galangal essential oil microcapsules were prepared by 2 different methods. The first was orifice method using alginate as shell of microcapsule and the second was interfacial polymerization using polyurethane-urea as shell of microcapsule. The physical properties, thermal properties and chemical structure of the microcapsules were investigated. It was found that galangal essential oil/alginate microcapsule tended to form multi-nucleus spherical microcapsule when more than 2% (w/v) of sodium alginate solution was used, An increase of sodium alginate concentration and oil content resulted in significantly higher average size of the microcapsules ranging from 700 to 1000 µm. In addition, maximum oil content in the microcapsules was 40.8% and oil release content at 37°C for 1 hour was 60%. In case of galangal essential oil/polyurethane-urea microcapsule, multi-nucleus spherical structure and smooth surface was obtained. The increase of stirring rate and decrease stirring time resulted in smaller average size of the microcapsules. Size of microcapsule about 10 µm was unchanged when stirring rate was higher than 4000 rpm, however, an increase of oil content more than 10 ml into the mixture resulted in the increase of microcapsules size. Stirring rate, stirring time and oil content affected to increase oil loading capacity in microcapsules. A high stirring rate (more than 5000 rpm) of the mixture with 10 ml oil content led to only 15% oil loading capacity, whereas, the increased of oil content from 10 ml to 50 ml led to 52% oil loading capacity. Oil release content at 37°C for 1 hour was about 20% when lower mixing time was applied, but higher when oil content was increased. Finally, galangal essential oil/polyurethane-urea microcapsule was more appropriate for textile finishing as antimicrobial textile than galangal essential oil/alginate microcapsule due to its smaller particle size.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61896
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1720
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1720
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5172273323_2553.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.