Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61912
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา-
dc.contributor.authorปัทมา ปรีชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2019-05-17T07:43:28Z-
dc.date.available2019-05-17T07:43:28Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61912-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en_US
dc.description.abstractสารต้านแบคทีเรียชนิดอนินทรีย์ได้รับความสนใจมากขึ้นเนื่องจากมีความเสถียรและปลอดภัยเทียบเท่าชนิดอินทรีย์ ในงานวิจัยนี้ศึกษาการเตรียมผงเซรามิกจากเปลือกไข่เพื่อให้เกิดสมบัติต้านแบคทีเรีย การทดลองเริ่มด้วยการนำเปลือกไข่เหลือทิ้งมาทำความสะอาดเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นและศึกษาอุณหภูมิการเผาแคลไซน์ในช่วงอุณหภูมิ 500ºC – 900ºC เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะสมบัติของผงเซรามิกที่เตรียมขึ้น ผลการวิเคราะห์รูปแบบการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์แสดงให้เห็นว่าเปลือกไข่เผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 700ºC ขึ้นไปเกิดเฟสแคลเซียมไฮดรอกไซด์ได้สมบูรณ์และมีปริมาณมากที่สุด โดยเฉพาะที่อุณหภูมิ 900ºC ยังพบเฟสแคลเซียมออกไซด์อีกด้วย ผลการวิเคราะห์โครงสร้างระดับจุลภาคพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับแคลเซียมออกไซด์และแคลเซียมไฮดรอกไซด์ทางการค้า ขนาดอนุภาคโดยเฉลี่ยของผงเซรามิกที่เผาแคลไซน์ 700ºC ขึ้นไปมีค่าน้อยกว่าเผาที่ 500 และ 600ºC โดยมีค่าประมาณ 10 ไมครอน ซึ่งสอดคล้องกับพื้นที่ผิวจำเพาะที่พบว่าผงเซรามิกเผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 700ºC ขึ้นไปมีพื้นที่ผิวมากกว่า ผลการทดสอบสมบัติต้านแบคทีเรียชนิด Escherichia coli และ Staphylococcus aureus พบว่าเปลือกไข่เผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ700ºC ขึ้นไปแสดงสมบัติต้านแบคทีเรียได้ดี จากนั้นได้เลือกทดสอบการใช้งานผงเซรามิก เผาแคลไซน์ที่ 700ºC กับผักผลไม้ที่มีลักษณะผิวต่างกันคือผิวเรียบกับขรุขระ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์พบเซลล์ Escherichia coli ที่ตายบนผิวของผักผลไม้ทั้งสองชนิด แสดงให้เห็นว่า ผงเซรามิกจากเปลือกไข่ที่สังเคราะห์ได้มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้งานเป็นผงล้างผักและผลไม้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อกลไกการต้านแบคทีเรียคือปริมาณเฟสแคลเซียมไฮดรอกไซด์และแคลเซียมออกไซด์ ค่า pH ที่สูงถึง 12-13 รวมถึงการเกิดอนุภาคออกซิเจนที่มีความว่องไวในการทำปฏิกิริยาen_US
dc.description.abstractalternativeInorganic antibacterial agents have attracted great interest because they are proved to be safe and stable in comparison with organic antibacterial agents. In this research, preparation of antibacterial ceramic powder from eggshell was studied. Waste eggshells were cleaned to be using as starting material. The effect of calcining temperature ranging from 500-900ºC was investigated. XRD patterns of the as-calcined powders at 700 ºC, 800 ºC and 900 ºC showed the complete set of peaks of Ca(OH)₂. Moreover, for the as-calcined powder at 900 ºC, CaO phase was found. Microstructures of the as-calcined powder at 700 ºC or above were nearly similar to those of commercial Ca(OH)₂ and CaO. Mean particle sizes of powder calcined at 700 ºC and higher, were around 10 µm, smaller than those of 500 ºC and 600 ºC. Accordingly, the specific surface areas of as-calcined powders at 700 ºC and above were much larger than those of 500 ºC and 600 ºC. The best antibacterial activities against both Escherichia coli and Staphylococcus aureus were found in the powders calcined at 700ºC and higher. The as-calcined powder 700ºC was selected for antibacterial test on smooth and rough skin fruits. The result showed dead Escherichia coli cells on the surface of both kinds of fruits, and this confirmed its potential for agricultural product washing application. The factors affecting antibacterial mechanism of the as-calcined powders were the large quantity of Ca(OH)₂ and CaO phases, high alkalinity which was about 12-13 and generating active oxygen species.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2171-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเปลือกไข่en_US
dc.subjectสารต้านแบคทีเรียen_US
dc.subjectAntibacterial agents-
dc.titleการเตรียมและลักษณะสมบัติของผงเซรามิกจากเปลือกไข่เพื่อต้านแบคทีเรียen_US
dc.title.alternativePreparation and characterization of antibacterial ceramic powder from eggshellen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีเซรามิกen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDujreutai.P@Chula.ac.th,dujreutai@gmail.com-
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.2171-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5172361923_2552.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.