Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6210
Title: | โครงการเสนอเพื่อจัดตั้งหน่วยบริการสื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | A proposed project for establishing an Educational Media Service unit, Faculty of Education, Chulalongkorn University |
Authors: | ประภัสสร์ รุจิพร |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | การสอนด้วยสื่อ โสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์วัสดุการสอน |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสำรวจประเภท จำนวน ชนิด และสภาพของสื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ของคณะครุศาสตร์ ที่มีอยู่ส่วนกลางและที่มีอยู่ตามภาควิชาต่าง ๆ 2. เพื่อสำรวจความถี่ในการใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ของคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ ที่สอนทุกระดับ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจัดหาอุปกรณ์ที่ต้องการ 3.เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการใช้ การผลิตสื่อการศึกษาของคณาจารย์ คณะครุศาสตร์ 4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความต้องการด้านการจัดบริการของหน่วยบริการสื่อการศึกษา 5. เพื่อเสนอโครงการการจัดตั้งหน่วยบริการสื่อการศึกษา กำหนดเป้าหมาย หลักการ ปริมาณงาน การดำเนินงาน การบริหารงาน งบประมาณ อัตรากำลังของบุคลากร บทบาทของบุคลากรประจำฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจนเสนอแบบแปลนสิ่งก่อสร้างของหน่วยบริการสื่อการศึกษา ตามข้อมูลที่ได้ในข้อที่ 1,2,3,4 การดำเนินการวิจัย: ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามแล้งส่งไปยังคณาจารย์ที่ประจำอยู่ในภาควิชาต่าง ๆ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 150 ฉบับ ได้รับคำตอบจากแบบสอบถามกลับคืนมา 126 ฉบับ แต่เป็นแบบสอบถามที่ตอบเสร็จสมบูรณ์ จำนวน 122 ฉบับ คิดเป็น ร้อยละ 81.33 สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้: 1. โสตทัศนูปกรณ์ที่เป็นส่วนกลางของคณะครุศาสตร์ อยู่ในสภาพดี และอยู่ในจำนวนจำกัด โสตทัศนูปกรณ์ที่กระจายตามภาควิชาต่าง ๆ นั้น ภาควิชาโสตทัศนศึกษามีจำนวนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาควิชาประถมศึกษา ซึ่งมีเครื่องมือที่ทันสมัยมีผู้ดูแลโดยเฉพาะ ส่วนภาควิชาพยาบาลศึกษามีมากรองลงมา แต่มีปัญหาการดูแลรักษาและการใช้ 2. คณาจารย์ส่วนใหญ่มีความรู้และประสบการณ์ด้านโสตทัศนศึกษาโดยเคยศึกษาในสถาบัน และได้พยายามใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการสอนด้วยตนเอง โดยให้ความเห็นว่า โสตทัศนวัสดุประเภทภาพประกอบการสอน ชนิดต้องฉาย ได้แก่ แผ่นใส ภาพสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มสตริป ฟิล์มลูฟ ฯลฯ มีความจำเป็นมากกว่าชนิดไม่ต้องฉาย ได้แก่ ภาพเขียน ภาพตัดจากหนังสือ ภาพถ่าย โปสเตอร์ ฯลฯ 3. ปัญหาที่คณาจารย์ส่วนใหญ่ประสบเกี่ยวกับการใช้ การบริการ และการผลิตสื่อการศึกษา ได้แก่ 3.1 โสตทัศนูปกรณ์มีจำกัด 3.2 สภาพห้องเรียนไม่เหมาะสมกับการใช้โสตทัศนูปกรณ์ 4. คณาจารย์ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.36 มีความเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องจัดตั้งหน่วยบริการสื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น และให้คณาจารย์ นิสิตได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ |
Other Abstract: | Objectives: 1. To survey types, numbers and conditions of the audiovisual equipment of the Faculty of Education available in the central section and in each department. 2. To survey the frequency in using media of the faculty members at all levels in order to be as data for considering in providing needed instructional media for the staff members. 3. To analyze problems in using and producing media of the faculty members. 4. To survey the faculty members' opinion and needs concerning the services of the Educational Media Service Unit. 5. To present the overall idea of the Educational Media Service Unit Project in the following aspects : objectives, principles, work-load, management, budget, personnel, and a plan for constructing the Educational Media Service Unit according to the data obtained from items 1,2,3 and 4.Procedures: The researcher had constructed 150 copies of questionnaires and distributed them to every faculty member in the Faculty of Education. The researcher has received 125 copies of thesequestionnaires back, 122 of which were filled out completely. The amount of the returned copies were 81.33%. Results: 1. The audio-visual equipment available at the central Educational Media section of the faculty are in good condition though in limited number. As for those available at each department, the research result pointed out that the Department of Educational Technology has the most instructional media and the Department of Elementary Education has the second largest number. Each department carries its own modern equipment and special maintenance staff. The Department of Nursing has the third largest number and is facing the problem of media maintenance and utilization. 2. Most of the faculty members have some knowledge and experiences in using the instructional media and they have tried to use these equipment for fulfilling their the instructional purposes by themselves. They also indicated that the instructional media especially those to be used with projectors (filmstrips, slides, acetates, films, etc.) are more essential in the teaching process than those to be used without (illustrations, pictures, photographs, etc.). 3.Most of the faculty members experienced problems in using and producing the instructional media as follows: 3.1 Limited instructional media 3.2 Unsuitable classroom conditions for using the instructional media. 4. Most of the faculty members (98.36%) have agreed upon that the Educational Media Service Unit should be established in order to help solve the above mentioned problem and to provide adequate service for both the faculty members and the students. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6210 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapas.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.