Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6216
Title: | การศึกษานโยบายเรื่องการเคลื่อนย้ายประชากร และผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศไทย : รายงาน |
Authors: | สุภางค์ จันทวาณิช กนกพรรณ อยู่ชา ทรายแก้ว ทิพากร บงกช หงษ์คำมี พรรณสิริ พรหมพันธุม อังคณา กมลเพ็ชร์ เสติร์น, แอรอน ริสเสอร์, แกรี จิรวัฒน์ ศรีคง พงษ์ศักดิ์ เทพชนะชัยชาญ อัญชลี เข็มครุฑ |
Email: | Supang.C@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันเอเชียศึกษา ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ความมั่นคงแห่งชาติ การย้ายถิ่น การย้ายถิ่นของแรงงาน -- ไทย การเข้าเมืองและการออก |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | ศูนย์การย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ได้พบว่าคนต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยมีทั้งที่เข้ามาโดยถูกต้องตามกฎหมาย และที่เข้ามาโดยผิดกฎหมาย เมื่อไม่นับกลุ่มนักท่องเที่ยวแล้ว ผู้เข้าเมืองส่วนใหญ่จะเป็นผู้เข้ามาทำงานและเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กลุ่มผู้เข้าเมืองประกอบด้วยชาวพม่า (รวมชนกลุ่มน้อยต่างๆ จากประเทศพม่า) จีน (รวมชนกลุ่มน้อย) ลาว เขมร มาเลเซีย บังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย กลุ่มตะวันออกกลาง ชาวญี่ปุ่น ชาวยุโรปและชาวแอฟริกัน กลุ่มผู้ย้ายถิ่นเหล่านี้เดินทางเข้ามาทั้งทางอากาศและทางบก และเข้ามาพำนักในประเทศไทยเป็นเวลายาวบ้างสั้นบ้าง เมื่อพิจารณาผลกระทบของการย้ายถิ่นต่อความมั่นคงได้พบว่ากลุ่มผู้เข้าเมืองทำให้เกิดผลกระทบของการย้ายถิ่นต่อความมั่นคง กลุ่มผู้เข้าเมืองทำให้เกิดผลกระทบระยะสั้น ต่อความมั่นคง 4 ด้าน ได้แก่ ละเมิดกฎหมายและความเป็นระเบียบของสังคม การคุกคามความมั่นคงทางเศรษฐกิจการคุกคามความมั่นคงทางสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางการเมืองการทหารและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำหรับผลกระทบต่อความมั่นคงมี 3 ด้าน ได้แก่ การตกค้างอยู่ในประเทศไทยโดยเข้ามาตั้งหลักแหล่ง การเกิดชุมชนคนต่างชาติและปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ และความต้องการได้สัญชาติ, สิทธิในฐานะพลเมืองและสวัสดิการสังคม กลุ่มคนเข้าเมืองที่คุกคามความมั่นคงโดยการละเมิดกฎหมายได้แก่ แก๊งอาชญากรรมจากทุกประเทศโดยเฉพาะแก๊งอาชญากรรมข้ามชาติ กลุ่มที่คุกคามความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้แก่ แรงงานผิดกฎหมายจากพม่า ลาว เขมร และบังคลาเทศ กลุ่มคุกคามความมั่นคงด้านสาธารณสุขได้แก่ ชาวพม่า จีน ลาวและเขมรที่เป็นพาหนะนำโรคติดต่อเข้ามาแพร่เชื้อและการขาดอนามัยชุมชนของคนเหล่านี้ กลุ่มคุกคามความมั่นคงทางการเมืองการทหารและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้แก่ กลุ่มต่อต้านชาวกะเหรี่ยงพุทธจากพม่า (DKBA) ที่รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย กลุ่มมุ้งถ้ำกระบอกที่มาจากพม่า กลุ่มลักลอบข้ามแดนไปยังมาเลเซียที่เป็นบังคลาเทศ และกลุ่มผู้ก่อการร้ายจากมาเลเซีย ปากีสถานและอินเดียและกลุ่มผู้ก่อการร้ายสากลจากตะวันออกกลาง ในแง่การปฏิบัติงานและประสานงานด้านคนเข้าเมือง สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรมตำรวจเป็นหน่วยงานหลักที่ปฏิบัติงานและประสานงานกับตำรวจนครบาล ตำรวจภูธร ตำรวจตระเวนชายแดน ภายในกรมตำรวจ ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงกลาโหม ในขั้นตอนต่างๆของการดำเนินงาน ปัญหาที่เกิดในการดำเนินงานเกิดจากความอ่อนแอของระบบตรวจคนเข้าเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6216 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Asia - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
supang_ed.pdf | 8.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.