Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6222
Title: | การพัฒนาการเลี้ยงกบในประเทศไทย 2531 : รายงานวิจัย |
Other Titles: | การทำฟาร์มเลี้ยงกบนาแบบครบวงจรในฟาร์มกึ่งถาวร |
Authors: | ผุสตี ปริยานนท์ สุดสนอง ผาตินาวิน กัมพล อิศรางกูร ณ อยุธยา นงเยาว์ จันทร์ผ่อง ธีรวรรณ นุตประพันธ์ วิโรจน์ ดาวฤกษ์ พนวสันต์ เอี่ยมจันทน์ |
Email: | Putsateep@yahoo.com ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | กบ -- การเลี้ยง -- ไทย |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | กบนา (Rana tigerina) เป็นสัตว์เลือดเย็นประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำ ดังนั้นสภาพแวดล้อมทางกายภาพจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ จากการศึกษาลักษณะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และคุณสมบัติทางเคมีของน้ำในบริเวณฟาร์มเลี้ยงกบ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ปรากฎว่า อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยสูงสุดในรอบปีเท่ากับ 30.9 +- 9.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยต่ำสุดในรอบปีเท่ากับ 25.5+- 9.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิน้ำสูงสุดในรอบปีเท่ากับ 29.6 +- 5.7 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 25.4 +- 3.8 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศอยู่ระหว่าง 65.0+-79% และ 76.6 +- 10.8 % ความเป็นกรดด่างของน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีน้ำขังตลอดปีมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 7.1 +- 2.7 และ 8.27 +- 0.42 มีปริมาณออกซิเยนละลายในน้ำอยู่ระหว่าง 7.4 +- 2.7 และ 11.2 +- 2.5 ซึ่งลักษณะของสภาพแวดล้อมที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จัดว่าเป็นลักษณะของสภาพแวดล้อมที่สามารถทำฟาร์มเลี้ยงกบให้เจริญเติบโตได้เกือบตลอดปี การนำลูกกบนาอายุ 1 เดือนจากแหล่งธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกึ่งถาวรเพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยให้ปลาเป็ดสดสับเป็นอาหาร ทำการวัดขนาดความยาวลำตัวและชั่งน้ำหนักตัวจนกบโตเต็มวัยอายุครบ 12 เดือน พบว่า เมื่อกบนาอายุครบ 6 เดือนยังไม่ปรากฏลักษณะเพศภายนอกจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 93.85 +- 6.9 ม.ม. น้ำหนักตัวเฉลี่ย 105.26 +- 26.94 กรัม เมื่อกบนาอายุได้ 9 เดือนสามารถแยกเพศผู้ได้โดยการดู "ถุงลม" (รอยย่นสีดำใต้คาง) จะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 82.22 +- 8.09 ม.ม. มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 179.7 +- 92 กรัมในเพศผู้ และมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 98.55 +- 11.35 ม.ม. น้ำหนักตัวเฉลี่ย 125.62 +- 55.59 กรัมในเพศเมีย เมื่อกบนาอายุ 12 เดือนซึ่งโตเต็มวัยสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้ จะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 91.36 +- 27.06 กรัมในเพศผู้ และมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 100.58 +- 9.97 ม.ม. มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 138.71 +- 45.24 กรัมในเพศเมีย จากการเปรียบเทียบผลพบว่า กบนาในช่วงอายุ 1-6 เดือนมีขนาดความยาวและน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงหลังอายุ 6-12 เดือน กบนาที่โตสามารถแยกเพศได้จนผสมพันธุ์ได้ (อายุ 9-12 เดือน) ความยาวลำตัวและน้ำหนักในกบเพศผู้จะน้อยกว่าในกบเพศเมีย เมื่อกบอายุมากขึ้น (9-12 เดือน) อัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัวจะมากกว่าอัตราการเพิ่มของความยาวลำตัว ความยาวลำตัวระหว่าง 2 เพศในกบโตเต็มวัย และกบช่วงอายุน้อย (6-9 เดือน) จะแตกต่างกันชัดเจน ในขณะที่น้ำหนักตัวจะแตกต่างกันไม่ชัดเจน การขยายพันธุ์กบนาในบ่อเลี้ยงกบแบบกึ่งถาวรที่มีสภาพพื้นที่เป็นดินทราย โดยกานทำบ่อให้เก็บน้ำได้ตลอดฤดูกาลด้วยใช้ดินเหนียวปูรองพื้นหนา 4-8 นิ้ว น้ำจะขังอยู่ได้ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่นำมาใช้ผสมพันธุ์มีอายุตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป การกระตุ้นให้กบผสมพันธุ์ทำโดยอาศัยสภาพแวดล้อมจากภายนอกคือ น้ำฝนที่ได้จากฝนตกครั้งแรกในต้นฤดูกาลหรือจากการปรับสภาพแวดล้อมโดยปล่อยน้ำให้ลงขังในบ่อที่ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ฝนที่ตกลงมาใหม่หรือจากการปล่อยลงขังในบ่อจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์ การศึกษาเปอร์เซ็นต์ของการปฏิสนธิโดยการนับจำนวนลูกอ๊อดที่ได้จากผลการกระตุ้นให้กบผสมพันธุ์เนื่องจากน้ำฝนใหม่มีจำนวนเท่ากับ 478 +- 176.5 ตัว ส่วนลูกอ๊อดที่ได้จากการผสมพันธุ์โดยการปรับสภาพแวดล้อมมีจำนวนเท่ากับ 725.5 +- 164.7 ตัว จากผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการขยายพันธุ์กบนาตามวิธีธรรมชาติสามารถอาศัยสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำฝนหรือการปล่อยน้ำใหม่ลงขังในบ่อเป็นครั้งแรกในต้นฤดูการสืบพันธุ์ การวิเคราะห์โครโมโซมของพบนา ได้ทำการศึกษาโครโมโซมของการแบ่งเซลล์ทั้งแบบไมโตซิสและไมโอซิส โดยวิธีการย้อยแสดง band ต่างๆ พบว่าจำนวนโครโมโซมของกบนาทั้งตัวผู้และตัวเมียมี 26 แท่ง จัดได้เป็น 13 คู่ คู่ที่ 1, 2, 5, 7, 8, 10, 11, 12 และ 13 เป็นแบบ metacentric ส่วนคู่ที่ 3, 4, 6, 9 เป็นแบบ submetacentric และโครโมโซมคู่ที่ 6 มี secondary constriction ชัดเจนมาก ความแตกต่างของโครโมโซมเพศ พบในโครโมโซมคู่ที่ 8 ของตัวเมีย จากการย้อมสีเพื่อแสดง heterochromatin จะพบอยู่ที่ตำแหน่ง centromers ของทุกแท่ง ส่วนที่บริเวณกลางและปลายแท่งพบได้ในโครโมโซมบางคู่ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6222 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Sci - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Putsatee(ranat).pdf | 5.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.