Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62365
Title: การก่อเกิดและการศึกษาเชิงวิเคราะห์ไดโครเมตแพซซิเวชันฟิล์ม บนแผ่นเหล็กวิลาส
Other Titles: Formation and analytical study of dichromate passivation film on tinplate
Authors: วราพร ภาราดามิตร
Advisors: อรวรรณ สงวนเรือง
วิกรม วัชระคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก
เหล็กกล้าคาร์บอน
Tinplate
Carbon steel
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากฟิล์มแพซซิเวชันบนแผ่นวิลาสที่เกิดจากขบวนการแคโธดิกไดโครเมตมีบทบาทสำคัญต่อคุณสมบัติด้านการทนต่อการกัดกร่อน การเกาะติดของแลคเกอร์ และคุณสมบัติด้านการบัดกรีของแผ่นเหล็กวิลาส การวิเคราะห์องค์ประกอบของฟิล์มจึงเป็นเรื่องสำคัญและการวิจัยในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเคลือบดีบุกด้วยกระแสไฟฟ้าและการแพซซิเวชันร่วมไปกับการทดสอบคุณภาพด้านการทนต่อการกัดกร่อนและคุณสมบัติการเกาะติดของแลคเกอร์บนแผ่นเหล็กวิลาส นอกจากนั้นยังมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่าง การใช้วิธีคัลเลอริเมตริกร่วมกับคูลอมป์เมตริกเทียบกับวิธีคัลเลอริเมตริกดั้งเดิมและเทคนิคอินดักทีฟลี คับเบิล พลาสมา สเปคโตรเมตรี เพื่อหาแนวทางใหม่ในการวิเคราะห์ปริมาณโครเมียมในฟิล์มแพซซิเวชัน สภาวะที่เหมาะสมในการเคลือบดีบุกด้วยกระแสไฟฟ้า คือ ใช้ความหนาแน่นกระแส 2.69 แอมแปร์/ตร.ตม. ระยะระหว่างแอโนด-แคโธด 4 ซม. และอุณหภูมิของอิเลคโตรไลท์ 60 ℃ ที่สภาะนี้จะมีประสิทธิภาพของกระแส 91.84% และสภาวะที่ทำให้ฟิล์มแพซซิเวชันมีคุณสมบัติเหมาะสมคือ ความหนาแน่นกระแส 5 คูลอมป์/ตร.ตม. สารละลายโซเดียมไดโครเมตเข้มข้น 30 กรัม/ลิตร ระยะระหว่าง แอโนด-แคโธด 6 ซม. และอุณหภูมิของลิเลคโตรไลท์ 45 ℃ ในการหาปริมาณโครเมียมจากวิธีคัลเลอริเมตริกร่วมกับคูลอมป์เมตริกพบว่าปริมาณโลหะโครเมียมและปริมาณโครเมียมรวมเป็น 1.50 และ 3.49 ไมโครกรัม/ตร.ซม. ในขณะที่ผลจากวิธีคัลเลอริเมตริกดั้งเดิมเป็น 6.41 และ 7.17 และเทคนิคอินดักทีฟลี คับเบิล พลาสมา สเปคโตร เมตรีเป็น 6.10 และ 6.55 ไมโครกรัม/ตร.ซม. ตามลำดับ
Other Abstract: The cathodic dichromate (CDC) passivation film on tinplate influenced the performances of the tinplate with respect to corrosion, lacquering and soldering properties. Therefore analysis of the composite film was essential. This thesis studied affecting electrolytic tinplate and passivation together with corrosion and lacquerability testing of tinplate. Furthermore, the comparison study between the combined colorimetric and coulometric method and conventional colorimetric method and inductively coupled plasma spectrometry were carried out for a new analytical method to determine chromium in passivation film. The optimal conditions of the electrolytic tinplating giving 91.84% current efficiency were : 2.69 A/dm² current density, 4 cm. anode-cathode range, and 60 ℃ electrolyte temperature. The passivation conditions which gave the film optimum qualities were : 5 c/dm² current density, 30 g/l sodium dichromate solution, 6 cm. anode-cathode range, and 45℃ electrolyte temperature. The metallic chromium content and the total chromium from the combined colorimetric and coulometric method were 1.50 and 3.49 ug/cm² while the results from the conventional colorimetric method were 6.41 and 7.17 and inductively couple plasma spectrometry were 6.10 and 6.55 ug/cm²
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62365
ISBN: 9745827924
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Varaporn_pa_front_p.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pa_ch1_p.pdf3.87 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pa_ch2_p.pdf14.08 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pa_ch3_p.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open
Varaporn_pa_back_p.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.