Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62446
Title: The mineralogical study of heavy minerals from tin-mines in Kathu valley ,Changwat Phuket
Other Titles: การศึกษาเชิงแร่วิทยาของแร่หนักจากเหมืองดีบุกบริเวณหุบกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
Authors: Wilawan Phetwaroon
Advisors: Chaiyudh Khantaprab
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Subjects: Cassiterite -- Thailand, Southern
Heavy minerals
แคสซิเทอไรต์ -- ไทย (ภาคใต้)
แร่หนัก
หุบกะทู้ (ภูเก็ต)
Issue Date: 1984
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Kathu Valley is located in the central part of Phuket Island covering an area of approximately 10 square kilometers. About sixty-five per cent of the total tin-concentrate production of Phuket comes from existing tin-mines in Kathu Valley and neighbouring area. Besides, there are a variety of detrital heavy minerals associated with cassiterite deposit in this area. The purpose of the present investigation is to study the heavy mineral associations of fifteen tin-mines in Kathu Valley and neighbouring area. Particular emphases have been given to the physical properties of each mineral, grain size distribution, degree of abundance, and their interrelationships. In addition, the detailed geological setting of each sampling location has been conducted to facilitate the interpretation of heavy mineral suites particularly regarding to their genesis. The common heavy minerals of eight tin-mines within Kathu Valley are cassiterite with manganese coat, cassiterite interlocking with quartz, garnet, limonite, manganese oxide, monazite, xeno-time, mica, tourmaline and zircon. The most abundant heavy minerals are cassiterite including cassiterite with manganese coat and cassiterite interlocking with quartz. Other accessorial minerals are Feoxide, rutile, spinel, topaz, wolframite, columbite-tantalite, mangan-tantalite, allanite, apatite, leucoxene, limonite, struverite, multiple oxide containing Nb-Ta, and magnetite. The nature and characteristics of heavy mineral assemblages from seven tin-mines outside the Valley are generally fairly similar to those within the Valley. The main differences are some minerals which are found only in some localities outside the Valley, namely, hematite, pyrite, siderite, thorite, fluorite, scheelite, arsenopyrite and altered pyrite. The only variety of cassiterite with manganese coat is present only in Kathu Valley. Additional attempts have been made to determine the relationships between grain size parameters of cassiterite against others heavy minerals in terms of mean, median and sorting. Moreover, the variation of relative degree of abundance of heavy minerals with respect to grain size characteristics has been studied. Special attention has also been paid on the distribution patterns of some economically important heavy minerals: cassiterite, columbite-tantalite, columbium-tantalum (struverite), zircon, monazite, xenotime and ilmenite. Finally, the characteristics of heavy minerals including the interrelationships between their numerous parameters have been explained in the light of their genesis for Kathu Valley and neighbouring area. The findings of the present investigation can be applied to many other important aspects, notably, the determination of potential heavy mineral resource, the design and development of appropriate ore dressing technique, the exploration of heavy minerals, etc.
Other Abstract: หุบกะทู้ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของเกาะภูเก็ต ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร ผลผลิตของแร่ดีบุกจากจังหวัดภูเก็ตประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์มาจากเหมืองแร่ในบริเวณหุบกะทู้และพื้นที่ข้างเคียง นอกจากนี้ยังมีแร่หนักอื่นๆ เกิดสะสมตัวร่วมกับแร่ดีบุกในแหล่งของพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือการวิเคราะห์ตรวจสอบและสำรวจการกำเนิดร่วมของแร่หนักจากตัวอย่างที่ได้มาจากเหมืองแร่ดีบุกจำนวน 15 เหมืองในพื้นที่หุบกะทู้และบริเวณข้างเคียงทั้งนี้ได้เป็นการศึกษาในด้านคุณสมบัติทางกายภาพของแร่หนักแต่ละชนิด การกระจายตัวของขนาดเม็ดแร่ ความสมบูรณ์ของแร่และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบดังกล่าว นอกจากนี้ได้ดำเนินการศึกษาสภาพธรณีวิทยาของบริเวณที่เก็บตัวอย่างโดยละเอียดเป็นการเพิ่มเติมเพื่อที่จะช่วยให้การตีความหมายของชุดแร่หนักที่เกิดร่วมกันในด้านที่เกี่ยวกับการดำเนินสามารถกระทำได้ดียิ่งขึ้น แร่หนักที่พบทั่วไปในบริเวณเหมืองดีบุก 8 แห่ง ภายในพื้นที่หุบกะทู้คือ แคสซิเทอไรต์ แคสซิเทอไรต์ที่มีแมงกานีสเคลือบ แคสซิเทอไรต์ที่มีผลึกงอกประสานกับแร่ควอร์ตซ์ การ์เนต อิลเมไนต์ แมงกานีสออกไซต์ โมนาไซต์ ซีโนไทม์ ไมกา ทัวร์มาลีน และเซอร์คอน แร่หนักที่พบในปริมาณมากที่สุดคือ แคสซิเทอไรต์ แคสซิเทอไรต์ที่มีแมงกานีสเคลือบและแคสซิเทอไรต์ที่มีผลึกงอกประสานกับแร่ควอร์ตซ์ ส่วนแร่หนักอื่นๆ ที่พบร่วมในปริมาณน้อยคือ เหล็กออกไซต์ รูไทล์ สบิเนล โทแพซ วุลแฟรไมต์ โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ แมงกาน-แทนทาไลต์ แอลลาไนต์ อะพาไทต์ ลูโคซีน ไลมอไนต์ ซีเดอไรต์ มัลติเปิลออกไซด์ ที่มีธาตุโคลัมเบียม-แทนทาลัม และแมกนีทต์ ลักษณะการเกิดร่วมของชุดแร่หนักโดยทั่วๆ ไปจากเหมืองแร่ดีบุกในบริเวณพื้นที่นอกหุบมีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับลักษณะที่พบภายในหุบ ข้อแตกต่างที่สำคัญคือพบแร่บางชนิดในบางพื้นที่ภายนอกหุบกะทู้เท่านั้น เช่น ฮีมาไทต์ ไพไรต์ ซิเตอไรต์ ทอไรต์ ฟลูออไรต์ อาร์เซโนไพไรต์ และไพไรต์ที่ถูกเปลี่ยนแปลง แร่แคสซิเทอไรต์ที่มีแมงกานีสเคลือบจะปรากฏเฉพาะพื้นที่ภายในบริเวณหุบเท่านั้น นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบหลายประการของขนาดเม็ดแร่ดีบุกกับแร่หนักอื่นๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่ามัชฌิม ค่ามัธยฐาน และค่าคัดขนาด นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาลักษณะการแปรเปลี่ยนของปริมาณแร่หนักแต่ละชนิดกับองค์ประกอบหลายประการของขนาดเม็ดแร่ ความสนใจเกี่ยวกับแร่เชิงเศรษฐกิจบางชนิดได้รับการพิจารณาดำเนินการเป็นกรณีพิเศษได้แก่ แคสซิเทอไรต์ โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ โคลัมเบียม-แทนทาลัม (สตรูเวอไรต์) เซอร์คอน โมนาไซต์ ซีโนไทม์และอิลเมไนต์ ท้ายที่สุดลักษณะของแร่หนักรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านต่างๆ ของแร่หนักได้รับการพิจาณาเข้ามาร่วมใช้อธิบายการกำเนิดของแหล่งแร่หนัก ทั้งในพื้นที่หุบกะทู้และบริเวณข้างเคียง ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้กับเรื่องที่มีความสำคัญด้านอี่นๆ อาทิเช่น การประเมินศักยภาพของแหล่งแร่หนัก การออกแบบและการพัฒนากรรมวิธีการทำเหมืองแร่ กรรมวิธีการแต่งแร่ การสำรวจแหล่งแร่หนัก ฯลฯ ได้อีกด้วย
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1984
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Geology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62446
ISBN: 9745632112
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilawan_ph_front_p.pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch1_p.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch2_p.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch3_p.pdf23.68 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch4_p.pdf13.59 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_ch5_p.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Wilawan_ph_back_p.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.