Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62552
Title: ความแตกต่างทางค่านิยมของชาวนาในเขต และนอกเขตโครงการชลประทาน
Other Titles: Value differences among farmers inside and outside an irrigation project
Authors: ศิริพร สินธุศิริ
Advisors: วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ค่านิยม
ชาวนา -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชลประทาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
หมู่บ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
มหาสารคาม -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างทางค่านิยมของชาวนา ระหว่างชาวนาในเขตและนอกเขตโครงการชลประทาน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ได้เลือกศึกษาถึงหัวหน้าครัวเรือนที่เป็นชาวนา หรือตัวแทนหัวหน้าครัวเรือน โดยศึกษาจากจำนวนครัวเรือนที่อยู่ในเขตชลประทานจำนวน 60 ครัวเรือนจาก 2 หมู่บ้าน คือบ้านดินดำ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 38 ครัวเรือนและบ้านไคร่นุ่น ตำบลท่าขอนยาง อำเภทกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 22 ครัวเรือน และศึกษาจากจำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่นอกเขตโครงการชลประทาน จำนวน 44 ครัวเรือน จาก 2 หมู่บ้าน คือบ้านกุดรัง ตำบลกุดรัง อำเภอบรบือ ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 23 ครัวเรือน และ บ้านหนองหญ้าม้า ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 21 ครัวเรือน ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ใช้เครื่องมือสำรวจค่านิยม ซึ่งทำการดัดแปลงมาจากเครื่องมือสำรวจค่านิยมไทยของสุนทรี สมัครการ เพื่อวัดระดับความแตกต่างของ ค่านิยมโดยแบ่งออกเป็น (ค่านิยมที่ปฏิบัติในปัจจุบัน) 11 ข้อ และค่านิยมจุดหมายปลายทาง (ค่านิยมซึ่งคาดไว้ในอนาคต) 10 ข้อ และนำไปทดสอบ (Pre-Test) กับชาวนาโดยเรียงลำดับค่านิยมทั้ง 2 ชุด ตามความพอใจของแต่ละคน เสร็จแล้วก็ข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการดูจากอันดับ สูงต่ำของค่านิยมแล้วนำมาจัดลำดับให้ถูกต้อง จากนั้นได้นำค่านิยมทั้ง 2 ชุด (วิถีปฏิบัติและจุดหมายปลายทาง) มาทำการทดสอบทางสถิติ โดยใช้วิธี T-Test ซึ่งผลการทดสอบปรากฏว่ามีค่านิยมที่มีนัยสำคัญทางสถิติมาทำการศึกษามีค่านิยมวิถีปฏิบัติ 6 ค่านิยม ได้แก่ 1. การเป็นตัวของตัวเอง 2. การปรับตัวเข้ากับจังหวัดและสิ่งแวดล้อม 3. การให้อภัย 4. การกตัญญูรู้คุณ 5. ความรับผิดชอบ 6. ความมีน้ำใจเมตตาอารี ส่วนค่านิยมจุดหมายปลายทาง มีอยู่ 3 ค่านิยม ได้แก่ 1. การช่วยเหลือผู้อื่น 2. การมีหลักธรรมและศาสนาเป็นที่พึ่ง 3. ความภาคภูมิใจในตัวเอง ผลการศึกษาปรากฏว่า 1. ชาวนาในเขตและนอกเขตชลประทาน ให้ความสำคัญกับค่านิยมวิถีปฏิบัติส่วนใหญ่แตกต่างกัน เนื่องมาจากการมีชลประทาน (โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า) เข้าไปจึงทำให้ค่านิยมของชาวนาเปลี่ยนแปลงไป ส่วนนอกเขตชลประทานอาศัยน้ำฝนเป็นหลักในการประกอบอาชีพชีวิตความเป็นอยู่จึงแตกต่างจากชาวนาในเขตชลประทาน จึงมีผลให้ค่านิยมแตกต่างกันด้วย 2. ชาวนาในเขตและนอกเขตชลประทานให้ความสำคัญกับค่านิยมจุดหมายปลายทางส่วนใหญ่แตกต่างกัน เนื่องจากการมีชลประทาน (โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า) เป็นเพราะว่าการชลประทานนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงส่งผลให้ค่านิยมของชาวนานั้นแปรเปลี่ยนไปด้วย สืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of This Thesis was to investigate the differences in values among farmers living in the irrigated areas and those outside the irrigated areas. The sample consisted of 60 irrigationed family leaders from two villages; 38 leaders from Ban Din Daum, Tumbon Kerng and 22 leaders from Ban Krainoon Tumbon Ta Konyang, Mahasarakham and 44 non-irrigationed family leaders from two villages ; 23 leaders from Ban Koodrung, Tumbon Koodrung, Borabue and 21 leaders from Ban Nong Yama, Tumbon Nong Lek, Kosumpisai Mahasarakham. The instrument used was adapted from the one utilized by Suntaree Komin and Snit Smuckarn. This instrument includes measurements of 11 items on values for instrumental values and 10 items about terminal values was used to measure the level of farmers values. Pre-test was administered by having the sample rank the given values according to their opinions. At-test was used to prove each value’s statistical significance. After The pre-test was done, participant observation was applied together with interviews the important person in the villages. The main value which were significantly different were studied those instrumental value were as follow: 1. Individualism 2. Self adjustment 3. Forgiveness 4. Gratitude 5. Sense of responsibility 6. Generosity And the terminal value were as follows: 1. Supportiveness 2. Moral consciousness 3. Self respect Results of the Thesis were as follows: 1. Farmers in the irrigated areas and outside the areas gave different level of significance to the majority of the value for instrumental values. Irrigation played an important role in such differences. 2. Farmers in the irrigated areas and outside the areas gave different level of significance to the majority of the values for terminal value. Irrigation played an important role in such differences.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62552
ISBN: 9745682101
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_sint_front_p.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_sint_ch1_p.pdf16.11 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_sint_ch2_p.pdf16.08 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_sint_ch3_p.pdf8.17 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_sint_ch4_p.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_sint_ch5_p.pdf7.32 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_sint_back_p.pdf7.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.