Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62574
Title: บทบาทของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการขัดเกลาทางสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Role of the secondary school in socialization process : a case study of streesrisuriyothai school under the jurisdiction of the department of general education Bangkok Metropolis
Authors: ศิริรัตน์ ดำรงค์เดชากุล
Advisors: งามพิศ สัตย์สงวน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรงเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ การศึกษาบทบาทของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยในการขัดเกลาทางสังคม 4 ด้าน ด้านการปลูกฝังระเบียบวินัย ด้านการปลูกฝังความมุ่งหวัง ด้านการสอนให้รู้จักบทบาททางสังคม และด้านการสอนให้เกิดทักษะหรือความชำนาญพิเศษ โดยมีข้อสมมติฐาน 5 ข้อ ดังนี้ 1. ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูอาจารย์ขัดเกลาด้านการปลูกฝังระเบียบวินัยมากกว่าด้านอื่นๆ 2. ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูอาจารย์ขัดเกลาด้านการสอนให้เกิดทักษะมากว่าด้านอื่นๆ 3. ครูอาจารย์หญิงขัดเกลามากกว่าครูอาจารย์ชาย 4. ครูอาจารย์ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี ขัดเกลามากกว่าครูอาจารย์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และ 5. อาจารย์ที่ปรึกษาจะขัดเกลามากกว่าครูอาจารย์ประเภทอื่นๆ เครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่เก็บรวบรวมจากครูอาจารย์โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย จำนวน 96 คน ในการพิสูจน์ข้อสมมติฐาน ใช้ค่าเฉลี่ย ([mean]) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ครูอาจารย์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและครูอาจารย์ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครูอาจารย์ชายและครูอาจารย์หญิง ครูอาจารย์หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี และครูอาจารย์ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาจารย์ที่ปรึกษาและครูอาจารย์ทั่วไปขัดเกลาทั้ง 4 ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The main objective of this research was to investigate the role of Streesrisuriyothai School in 4 socialization processes : disciplines, aspirations, social roles, and skills. There were 5 hypotheses as followed : 1. In the upper secondary school level disciplines were more emphasized than other aspects 2. In the lower secondary school level teachers emphasized more in the area of skills. 3. Female teachers socialized pupils more than male teachers 4. Teachers under 40 years old socialized pupils more than those of over 40 years old, and 5. Advisors socialized pupils more than other teachers. The most significant research tool were questionnaires collected from 96 school teachers. In order to test the hypotheses, the mean, standard deviation and t-test were employed. The findings showed that teachers of the upper and lower secondary school, levels, female and male teachers, teachers under and over 40 years old, advisors and general teachers socialized all 4 aspects undifferently and unsignificantly at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62574
ISBN: 9745687979
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirath_da_front_p.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_ch1_p.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_ch2_p.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_ch3_p.pdf7.78 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_ch4_p.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_ch5_p.pdf35.66 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_ch6_p.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Sirirath_da_back_p.pdf20.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.