Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62657
Title: ปรัชญาการศึกษาของกฤษณมูรติ
Other Titles: Krishnamurti's philosophy of education
Authors: วินัย มณีขาว
Advisors: วิทย์ วิศทเวทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฤษณมูรติ, จิฑฑุ, ค.ศ. 1895-1986
การศึกษา -- ปรัชญา
Krishnamurti, J. (Jiddu), 1895-1986
Education -- Philosophy
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาทรรศนะเกี่ยวกับการศึกษาของกฤษณมูรติ โดยจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาการศึกษากับปรัชญาที่เป็นพื้นฐานของเขา ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยา ปรัชญาชีวิต และปรัชญาสังคม จากการวิจัยพบว่า กฤษณมูรติกล่าวถึงความจริง 2 ประเภท คือ ความจริงซึ่งอาจรับรู้ได้ด้วยการประสบโดยตรง และความเป็นจริงซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็นเนื้อหาของความคิด หรือคำอธิบายเกี่ยวกับความจริง ความคิดไม่อาจเป็นสื่อกลางในการรับรู้ความจริงได้ จุดหมายของชีวิตมนุษย์คืออิสรภาพซึ่งหมายถึงการหลุดพ้นจากพันธนาการทางความคิดและเงื่อนไขทั้งปวงที่ความคิดก่อให้เกิดขึ้นในจิตสำนึก อันได้แก่ ความแบ่งแยก ความขัดแย้งและความสับสน พันธนาการทางจิตใจเหล่านั้นก่อให้เกิดปัญหาชีวิต เป็นความกลัว ความทะยานอยาก ความทุกข์ ฯลฯ สมาธิคือการรู้เท่าทันต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในความคิดและเป็นวิถีทางสู่การหลุดพ้น การศึกษามีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ ถ่ายทอดความรู้และพัฒนาบุคคลให้รู้จักตัวเองโดยอาศัยการเรียนรู้ที่เป็นการเฝ้าสังเกต ซึ่งก็คือสมาธินั่นเอง บุคคลที่รู้จักตนเองกอปรด้วยสติปัญญา ความดีและความรัก เป็นบุคคลที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างแท้จริง การแก้ปัญหาของสังคมอาจทำได้โดยการเปลี่ยนแปลงภายในของปัจเจกบุคคล เรื่องนี้เป็นบทบาทสำคัญของการศึกษา
Other Abstract: The aim of the thesis is to study Krishnamurti’s philosophy of education, to render a critical analysis of the relationship between the philosophy of education and other general philosophies: metaphysics, epistemology, philosophy of life and social philosophy. It was found from the analysis that there is truth which have to be perceived directly and reality which is the content of thought or the explanation of truth. Thought can not be the medium in perceiving truth. The purpose of life is freedom which is liberation from thought and its effects such as division, conflict and confusion in human consciousness. Life’s problem are fear, desire, sorrow, etc. Meditation, which is the awareness of what happens in the process of thinking, is the way of liberation. Education has two purposes; firstly, to diffuse knowledge; secondly, to develop self-knowledge through learning by observation which is meditation. The one who attains self-knowledge is the one who has intelligence, goodness, compassion, and who is changed radically. The only way to solve social problem is to change individuals internally which is the essential role of education.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62657
ISBN: 9745763195
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vinai_ma_front.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_ma_ch1.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_ma_ch2.pdf11.97 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_ma_ch3.pdf8.17 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_ma_ch4.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_ma_ch5.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Vinai_ma_back.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.