Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6272
Title: เครื่องอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์
Authors: ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ
มานิจ ทองประเสริฐ
จันทนา จันทโร
สมศรี จงรุ่งเรือง
จรูญ มหิทธาฟองกุล
วิทยา ยงเจริญ
ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
ชินเทพ เพ็ญชาติ
Email: Sirichan.T@Chula.ac.th
fmemtp@eng.chula.ac.th, Manit.T@Chula.ac.th
fiejjr@eng.chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
fiecmh@eng.chula.ac.th
fmewyc@kankrow.eng.chula.ac.th
Damrong.T@Chula.ac.th
fmecby@kankrow.eng.chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: เครื่องอบข้าว
พลังงานแสงอาทิตย์
ข้าว -- การอบแห้ง
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย
Abstract: การอบแห้งข้าวเป็นกรรมวิธีหนึ่งในการช่วยลดความสูญเสียของข้าวหลังการเก็บเกี่ยว วิธีการที่ชาวนาไทยใช้อยู่ในปัจจุบันคือ การตากแห้งบนลานข้าว กรรมวิธีดังกล่าวใช้ได้ผลดีในการลดระดับความชื้นในระยะเวลาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีซึ่งอยู่ในฤดูแล้งซึ่งปลอดฝน แต่ผลเสียของกรรมวิธีดังกล่าวก็คือ ยังคงมีความเสียหายเนื่องจากการหล่นและการถูกทำลายจากนก หนู นอกจากนั้นในฤดูการเก็บเกี่ยวของข้าวนาปรังซึ่งตรงกับฤดูฝนระยะเวลาที่มีแดดต่อเนื่องในแต่ละวันสั้น จึงทำให้การตากลานไม่อาจลดความชื้นลงในระดับที่ต้องการได้ เพื่อแก้ปัญหาการลดความชื้นในเมล็ดข้าว ได้มีการวิจัยและพัฒนาเครื่องอบแห้งแบบต่างๆขึ้นในประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนานี้ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสวงหาวิธีการและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและราคาประหยัดในการอบแห้งข้าว จากการศึกษาถึงขนาดของความสูญเสียอันอาจจะเกิดขึ้นเมื่อไม่มีเครื่องอบแห้งข้าว เราได้ใช้ขนาดของความสูญเสียดังกล่าวเป็นดัชนีสำหรับเปรียบเทียบขนาดของความจำเป็นที่ทั้งชาวนาและรัฐที่จะต้องมีเครื่องอบแห้งข้าวที่มีประสิทธิภาพดีแทนการตากลาน อีกทั้งขนาดความสูญเสียดังกล่าวก็จะเป็นเครื่องบอกถึงส่วนของต้นทุนการผลิตที่ชาวนาอาจประหยัดได้ถ้าใช้เครื่องอบแห้ง ผลการศึกษาแสดงว่า เป็นความจำเป็นทั้งของรัฐและชาวนาที่จะต้องมีเครื่องอบแห้งข้าว จากการศึกษาด้านพื้นฐานความรู้และความเข้าใจด้านเทคนิคของชาวนาซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เราได้กำหนดลักษณะทั้งของผู้ใช้และของเครื่องอบแห้งข้าวที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาด้านเทคนิค นอกจากนั้น จากพื้นฐานทางเทคนิคและพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ยังได้คาดหมายถึงขนาดความต้องการใช้เครื่องอบแห้งข้าวที่มีคุณสมบัติตามลักษณะที่กำหนดไว้สำหรับการพัฒนาซึ่งกำหนดไว้ว่า เครื่องอบแห้งข้าวที่เหมาะสมควรเป็นส่วนหนึ่งของยุ้งหรือฉางข้าวที่ชาวนามีอยู่เดิม โดยดัดแปลงส่วนที่ติดกับหลังคายุ้งให้เป็นห้องอบแห้ง ส่วนที่เหลือของยุ้งยังคงใช้เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้าว หลังคาของยุ้งที่ทำด้วยเหล็กอาบสังกะสีจะได้รับการดัดแปลงให้ทำหน้าที่เป็นแผ่นดูดพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ปิดด้วยกระจก อมร้อนถูกดูดเข้าไปยังห้องอบด้วยพัดลมดูดที่อาจทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน จากลักษณะสมบัติที่เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้และฐานะทางเศรษฐกิจของชาวนา การวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคนิคของเครื่องอบแห้งได้เริ่มด้วยการคำนวณออกแบบโดยเทคนิคการจอลองแบบปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ ความถูกต้องของรูปแบบของเครื่องที่ได้จากการคำนวณด้วยเทคนิคดังกล่าวได้รับการทดสอบโดยการเปรียบเทียบผลที่ได้จากการคำนวณกับผลที่ได้จากการทดลองจากเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดอบแห้งคราวละไม่เกิน 50 กิโลกรัม ผลการทดสอบปรากฏว่ารูปแบบที่คำนวณไว้มีความถูกต้องอยู่ในวิสัยของการยอมรับเชิงวิศวกรรม ดังนั้นแบบจำลองของเครื่องอบแห้งข้าวซึ่งสร้างขึ้นเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงเป็นแบบที่ถูกต้องของเครื่องอบแห้งข้าวซึ่งอาจนำไปใช้ในการคำนวณออกแบบและสร้างเครื่องอบแห้งข้าวที่มีขีดความสามารถต่างๆ ณ ที่ใดก็ได้ เครื่องอบแห้งขนาดจำลองที่สร้างขึ้น นอกจากจะใช้ในการทดสอบความถูกต้องของการออกแบบแล้วยังได้ใช้ในการทดลองผลการอบข้าวเปลือกที่มีคว่มชื้นต่างๆให้ลดลงเหลือความชื้นระหว่าง 13-15% มาตรฐานเปียก เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาประโยชน์ที่จะได้รับจากการอบแห้งข้าวจากค่าใช้จ่ายในการสร้างเครื่องอบแห้งขนาดจำลองและข้อมูลราคาวัสดุที่จำเป็นในการสร้างเครื่องอบแห้งชนิดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานจริง เราได้วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากการกำหนดขนาดที่เหมาะสมของเครื่องอบแห้งโดยพิจารณาจากขนาดมาตรฐานของยุ้งหรือฉางข้าวที่จะใช้ส่วนหนึ่งเป็นเครื่องอบแห้ง พบว่าขนาดที่เหมาะสม คือ เครื่องที่มีขนาดอบแห้งข้าววันละ 1 ตันโดยเฉลี่ย หรือ ประมาณ 2 ตันในวันที่มีแดดดี จากการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่จะได้รับ ผู้ที่เหมาะสมที่จะใช้เครื่องที่พัฒนาขึ้นนี้ คือ ชาวนาที่รวมกลุ่มกันเป็นสหกรณ์
Other Abstract: Rice drying is a post-harvest technique teaching for loss prevention. For Thai farmers, the natural sun drying is the present method for rice drying. Though the method is efficient for the first crop drying the disadvantages are the losses of grain and also it can not efficiently use for second crop drying because of rainy season. In order to come up with a better method for rice drying, several projects have been carried out by governmental agencies and universities. This project is one of them. The main objective of the project is to seek for a better method and equipment for rice drying at a better efficiency and low cost. From the study on losses due to the lackness of better drying method the sizes of losses are used as the index for consideration of necessity of farmers and government to have better drying method than the natural sun drying. Moreover, the sizes of the losses can be used as an opportunity cost that can be reduced by a better drying method. The study shows that it is essential for both farmers and government to seek for a better drying method. From the study on educational background and technological acceptability of Thai farmers which are the target consumers of the project, the suitable consumers and rice dryer characteristics are specified for the technical development of rice dryer. With the technological acceptability and economic status, the size of the demand on best rice dryer is predicted. The rice dryer is a compartment of an occupied rice bin installed at the upper part of the bin closed to the roof. The roof of the bin which is made of a rolled galvanized sheet is used as an absorber plate by black painting and then convered with glass. The hot air will be drawn into the drying compartment by a blower driven by an electricity or a diesel engine. The design of the rice dryer which is of a forced air circulation type is designed by a computer simulation technique. The validation of the simulation model of the rice dryer is tested by the comparison of the calculated data and the experimental data of a scaled rice dryer of 50 kg. Capacity. The simulation model is accepted for its validation. Hence, it can be used for designing rice dryer. Other than the validation test of the simulation model, the scaled rice dryer is used in collecting data for benefit and cost analysis. From costs derived from the scaled rice dryer and information of construction materials, the construction cost and operating and maintenance costs are estimated for a rice dryer of 1 ton/day capacity at average solar radiation or 2 tons/day on the good solar radiation which is a recommended size for real utilization. The comparison between the cost of the rice dryer and the benefit which will earn from a best rice dryer is made and the recommendation is that the developed rice dryer is more suitable for cooperative than an individual farmer.
Description: โครงการวิจัย ; เลขที่ 34-AMRD-2521
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6272
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirichan_ricedrying.pdf19.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.