Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62722
Title: การศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่ใช้บริการสุขภาพ ในโรงพยาบาลในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Other Titles: Study of health beliefs of the Thai muslims rendering health services in hospitals in four southern bordering provinces
Authors: สาลี เฉลิมวรรณพงศ์
Advisors: พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
ฟาริดา อิบราฮิม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สุขภาพ
ความเชื่อ
บริการทางการแพทย์ -- ไทย (ภาคใต้)
สาธารณสุข -- ไทย
พฤติกรรมสุขภาพ -- ไทย (ภาคใต้)
ชาวไทยมุสลิม
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบ ความเชื่อด้านสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่ใช้บริการสุขภาพในโรงพยาบาลในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นชาวไทยมุสลิมที่มาใช้บริการเป็นครั้งแรก จากโรงพยาบาล 4 แห่ง ในเขตสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 290 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อสำรวจความเชื่อด้านสุขภาพ 6 ด้าน คือ การรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย การรับรู้ถึงความรุนแรงของการเจ็บป่วย การรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้บริการสาธารณสุข การรับรู้ถึงอุปสรรคด้านกายภาพ จิตใจ และการเงินในการไปใช้บริการสาธารณสุข แรงจูงใจในด้านสุขภาพทั่วไป และปัจจัยร่วม ได้แก่ ความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือไปทดสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน และหาความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ได้ค่าความเที่ยง .76 การวิเคราะห์ข้อมูใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม และรายด้าน คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย การรับรู้ถึงความรุนแรงของการเจ็บป่วย การรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้บริการสาธารณสุข แรงจูงใจด้านสุขภาพทั่วไป ความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และการรับรู้ถึงอุปสรรคด้านการเงินในการไปใช้บริการสาธารณสุข อยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ถึงอุปสรรคด้านกายภาพ และด้านจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง 2. เพศหญิงมีคะแนนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม และด้านการรับรู้ถึงอุปสรรคในการไปใช้บริการสาธาณสุขสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีความเชื่อด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่า ผู้ป่วยนอกมีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย และแรงจูงใจด้านสุขภาพทั่วไป สูงกว่าผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการรับรู้ถึงอุปสรรคในการใช้บริการสาธารณสุข ต่ำกว่าผู้ป่วยในอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผู้ที่มีอายุต่างกันมีความเชื่อด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่า ผู้ที่มีอายุ 20 - 30 ปี มีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงประโยชน์การไปใช้บริการสาธารณสุข และแรงจูงใจในด้านสุขภาพทั่วไปสูงกว่า ผู้ที่มีอายุ 31 – 45 ปี และ 46 – 60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการรับรู้ถึงอุปสรรคในการไปใช้บริการสาธารณสุขต่ำกว่าผู้ที่มีอายุ 31 – 45 ปี และ 46 – 60 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ที่มีอายุ 31 – 45 ปี มีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงความรุนแรงของการเจ็บป่วย การรับรู้ถึงประโยชน์ของการไปใช้บริการสาธารณสุขและแรงจูงใจด้านสุขภาพสูงกว่าผู้ที่มีอายุ 46 – 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ผู้ที่มีการศึกษาต่างกัน มีความเชื่อด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา มีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย การรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้บริการสาธารณสุข และแรงจูงใจด้านสุขภาพทั่วไป ต่ำกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษาและการศึกษานอกระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการรับรู้ถึงอุปสรรคในการไปใช้บริการสาธารณสุขสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาและศึกษานอกระบบมีความเชื่อถ้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงอุปสรรคในการไปใช้บริการสาธารณสุขสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษาและมีแรงจูงใจด้านสุขภาพต่ำกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาอย่ามีนัยสำคัญทางสถิติ 6. ผู้ที่มีรายได้ต่างกัน มีความเชื่อด้านสุขภาพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบรายด้านพบว่า ผู้ที่มีรายได้มากกว่า 2,500 บาท มีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยสูงกว่าผู้ที่มีรายได้ 1,001 – 2,500 บาท และ 1,000 บาท ลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการรับรู้ถึงอุปสรรคด้านจิตใจในการไปใช้บริการสาธารณสุขต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้ 1,000 บาทลงไป ผู้มีรายได้ 1,001 – 2,500 บาท มีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับรู้ถึงอุปสรรคด้านการเงินในการไปใช้บริการสาธารณสุขสูงกว่าผู้ที่มีรายได้มากกว่า 2,500 บาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีแรงจูงใจด้านสุขภาพทั่วไปต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้มากกว่า 2,500 บาทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this research were to study and compare health beliefs of the Thai muslims rendering health services in hospitals in four southern bordering provinces. Two hundred and ninety samples were selected by the purposive sampling technique. Thai muslims who have been using the health service provided by four hospitals. The instrument questionnaire used for data collection was developed by the researcher to measure health beliefs of the Thai muslims in six dimensions of Health Beliefs; perceived susceptibility, perceived seriousness, perceived benefits, perceived barriers, general health motivation and modifying factors related to religious belief concerning health. The instrument had been tested for content validity and its reliability was .76. Statistic procedures used to analyze data were percentages, arithmetic mean, standard deviation, t-test and ANOVA. The .05 level of statistical significant was considered in this study. The conclusion drown from data analysis were as follow: 1. The mean of total score of health beliefs and the means of perceived susceptibility , perceived seriousness, perceived benefits, perceived financial barrier, general health motivation and religious belief indicated the high level of the health beliefs. Perceived physical and psychological barriers were at the moderate level. 2. The means of total health beliefs and perceived barriers of female Thai muslims were significant higher than male. 3. There was no statistically significant difference between the mean of the total health beliefs of out-patient and in-patient. Hover, the results were revealed that health beliefs of out-patient concerning perceived susceptibility and general health motivation were significant higher than of in-patient and perceived barriers was significant lower than in-patient. 4. There was no statistically significant difference between the means of the total health beliefs of Thai muslims who were classified by age groups. Categorically analyzed was reveal that the Thai muslims in age range of 20 – 20 perceived benefits and general health motivation were significant higher than those in age range of 31 – 45 and 46 – 60 years, and perceived barriers significant lower than the groups of 31 – 45 and 46 – 60 years. Thai muslims in age range of 31 – 45 perceived seriousness, benefits and general health motivation were significant higher than those in age range of 46 – 60 years. 5. There was no statistically significant difference between the means of the total health beliefs of the Thai muslims who were classified by educational levels. Categorically analyzed was revealed that the respondents who had no education perceived susceptibility, benefits and general health motivation were significant lower than those who completed the elementary, secondary, higher education and non-formal education, and no education group perceived barrier significant higher than those who completed higher education. The respondents who completed elementary education perceived barriers significant higher than those who had the secondary, higher education and non-formal education. The respondent who completed elementary education and non-formal education perceived barriers significant higher than those who completed secondary and higher education, and perceived general health motivation significant lower than those who completed secondary and higher education. 6. There was no statistically significant difference between the means of health beliefs of Thai muslims who were classified by family income groups. Categorically analyzed was revealed that the respondents who had monthly family income higher than 2,500 baht perceived susceptibility significant higher than those who earned monthly income 1,001 – 2,500 baht and lower than 1,000 baht, and perceived psychological barrier significant lower than the group of income lower than 1,000 baht. Thai muslims who earned monthly family income 1,001 – 2,500 baht perceived financial barrier significant higher than those who had monthly family income higher than 2,500 baht and they also perceived general health motivation significant lower than those who earned monthly family income higher than 2,500 baht.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62722
ISBN: 9745679275
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Salee_ch_front_p.pdf6.73 MBAdobe PDFView/Open
Salee_ch_ch1_p.pdf5.96 MBAdobe PDFView/Open
Salee_ch_ch2_p.pdf11 MBAdobe PDFView/Open
Salee_ch_ch3_p.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open
Salee_ch_ch4_p.pdf13.5 MBAdobe PDFView/Open
Salee_ch_ch5_p.pdf14.08 MBAdobe PDFView/Open
Salee_ch_back_p.pdf13.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.